วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

โรครากเน่า โคนเน่า ใบจุด



โรครากเน่าและโคนเน่ามีสาเหตุ
          เกิดจากเชื้อราพิเทียม Phytophthora parasitica Dastur โดยเชื้อราจะเข้าไปทำลายระบบรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้น ทำให้พืชไม่สามารถลำเลียงน้ำและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชได้สังเกตอาการได้จากใบจะมีสีเหลืองซีด โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ จากโคนใบไปถึงยอด และใบจะม้วนงอ เมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบจะร่วง, กิ่งแห้ง, ผลมีสีเหลืองร่วงหล่นง่าย หากโรคลุกลามจะทำให้พืชนั้นยืนต้นตาย

          โรครากเน่า โคนเน่า มักเกิดขึ้นในฤดูร้อน (เกิดได้ทั้งพืชที่ปลูกบนดินและพืชไร้ดิน) โดยพืชไร้ดินเมื่อสารละลายธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืชมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะส่งผลทำให้ปริมาณอ๊อกซิเจนในสารละลายลดลง จนเป็นเหตุให้รากพืชอ่อนแอ และทำให้เชื้อราพิเทียมเข้าเล่นงานได้ง่ายขึ้น


วิธีจัดการเมื่อพบการระบาดของโรค
  •  หากพบการระบาดให้เก็บต้นที่เป็นโรคออกจากระบบ และเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารใหม่ปรับค่า EC ให้อยู่ในระดับต่ำประมาณ 1.1 - 1.2 และค่า pH ให้อยู่ที่ 6.5 - 7.0 เพื่อให้พืชซ่อมแซมรากที่ถูกทำลายไป แล้วให้ธาตุอาหารทางใบแทน เมื่อระบบรากกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมค่อยเพิ่มค่า EC ให้อยู่ในระดับเดิมที่เคยปลูก  ปกติในฤดูร้อนควรตั้งค่า EC ในการปลูกสลัดที่ประมาณ 1.2 - 1.4 และควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุก 7 - 10 วัน (บางฟาร์มอาจใช้เทคนิคในการปรับ EC ให้สูงในช่วงกลางคืน แล้วลดค่า EC ให้ต่ำในช่วงกลางวัน)
  • ถ่ายสารละลายในถังออกให้หมด  เพื่อช่วยลดเชื้อในสารละลาย
  • พลางแสงเพื่อช่วยลดการคายน้ำ และเป็นการลดกิจกรรมของรากพืชลง
  • ใส่เชื้อราไตรโคเดอม่าลงไปในถังเก็บสารละลาย เพื่อให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเข้าไปช่วยกำจัดเชื้อพิเทียม และทำให้รากที่จะงอกขึ้นมาใหม่แข็งแรงขึ้น


การป้องกันเชื้อพิเทียมในช่วงฤดูร้อน

- ปรับค่า pH  ไว้ที่ประมาณ 6.0 - 6.5  และเติมเชื้อไตรโคเดอมา ลงในระบบปลูกทุกๆ 7 วัน

- ใช้ธาตุเหล็กที่ทนต่อค่า pH  สูงๆ ได้ อาทิเช่น เหล็ก EDDHA แทนเหล็กชนิดอื่นๆ เนื่องจากเหล็กชนิดอื่นๆ จะตกตะกอนหมด หากสารละลายมีค่า pH เกินกว่า 6.5  ซึ่งจะทำพืชขาดธาตุเหล็กได้

- รักษาอุณหภูมิของสารละลาย ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส เนื่องพิเทียมจะเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง

- ใส่หัวทรายอ๊อกซิเจนลงไปในถังเก็บสารละลาย หรือปรับระดับน้ำที่ตกลงถังเก็บให้สูงขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในถังเก็บสารละลาย

- พรางแสงในช่วงที่อากาศร้อนด้วยแสลนพรางแสง แนะนำให้ใช้แสลนพรางแสง 50% (สีดำ หรือสีน้ำเงิน ควรหลีกเลี่ยงแสลนสีเขียว)

- อาจใช้เสปรย์น้ำรอบๆ บริเวณแปลงปลูกเพื่อเป็นการลดอุณหภูมิ แต่ควรหลีกเลี่ยงการสเปรย์ลงไปโดยตรงที่ใบผักเนื่องจากอาจจะทำให้เกิดโรคใบจุดได้


เทคนิคการลดอุณหภูมิของสารละลายและป้องกันโรค
1. พรางแสงให้แปลงปลูกในช่วงที่มีแสงแดดจัด คือช่วงเวลา 10.00 น. - 14.00 น.
2. เพิ่มอ๊อคซิเจนให้สารละลายโดยใช้ปั๊มอ๊อกซิเจนต่อหัวทรายใส่ลงไปในถังสารละลาย
3. ใส่น้ำในขวดน้ำพลาสติกแช่ไว้ในช่องแช่แข็ง เมื่อน้ำในขวดเป็นน้ำแข็งก็ให้นำมาใส่แช่ไว้ในถัง
4. เพิ่มระดับการตกลงของน้ำจากรางปลูกลงสู่ถังเก็บเพื่อเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจน
5. ใส่เชื้อราไตรโครเดอร์มาลงไปในถังเก็บสารละลายเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคที่ราก


โรคใบจุด
          โรคใบจุดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดู โดยเฉพาะฤดูที่มีความชื้นในอาการสูง เช่น ฤดูฝน แต่ในฤดูร้อนก็สามารถเกิดโรคใบจุดได้ โดยส่วนใหญ่มาจากการสเปรย์น้ำในแปลงปลูกมากเกินไป รวมถึงการระบายอากาศในแปลงปลูกไม่ดีทำให้เกิดโรคใบจุดได้ โดยโรคใบจุดนั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อรา 3 ชนิด ได้แก่

1. เชื้อ Alternaria spp.
          พบได้ในผักทุกชนิดเช่น ผักสลัดชนิดต่างๆ, ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดฮ่องเต้, คะน้ายอด, ผักกาดขาวปลี   แผลที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้  จะมีลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนกันหลายวง   ในผักกาดต่างๆ จะเห็นได้ชัด บริเวณแผลอาจปรากฏจุดดำๆ ซึ่งก็คือสปอร์ของเชื้อรา ถ้าอาการรุนแรง เนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบจะแห้งตาย

2. เชื้อ Cercospora spp.
          พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ผักกาดขาวปลี, ปวยเล้ง ฯลฯ จุดแผลจะมีลักษณะต่างกันไป แล้วแต่ชนิดพืช  แต่ที่พบเห็นชัดเจนคือ  ตรงกลางแผลจะมีสีเทาอ่อน จนถึงขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน-ขาว  รอบแผลมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแดง คล้ายตากบ  แผลที่เกิดจากจุด หากมีอาการมาก  แผลจะต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้  ถ้าเกิดกับใบอ่อน ทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้

3. เชื้อ  Septoria spp.
          พบได้ใน ผักกาดหอมห่อ, ปวยเล้ง, เซเลอรี่  อาการเริ่มจากจุดสีเหลืองเล็กๆ  พอขยายใหญ่ แผลจะมีรูปร่างไม่แน่นอน สีของแผลเป็นสีน้ำตาลปนเขียวมะกอก  มีจุดดำๆจำนวนมากบริเวณแผล ซึ่งก็คือโครงสร้างที่บรรจุสปอร์จำนวนมาก  ถ้าอาการรุนแรงมาก บริเวณแผลจะฉีกขาด ทำให้ใบขาดรุ่งริ่ง เป็นมากพืชจะตาย

          สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน ที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย  ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด  แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า  เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp.

การแพร่ระบาด
          เชื้อราทั้ง 3 ชนิดนี้  สามารถอาศัยอยู่ในซากพืช และในดินได้ดี หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้  สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม และน้ำฝน  น้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคจะบาดได้เร็วขึ้น  นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อได้เป็นอย่างดี

การป้องกันกำจัด
          ริดใบที่เป็นโรคออกและฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคปแทน, ไซเนบ, มาเนบ, เบนเลท สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีให้ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาผสน้ำฉีดพ่นก็จะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อราต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุดได้ครับ


1 ความคิดเห็น: