ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าLactuca sativa L. ลักษณะทั่วไป บัตเตอร์เฮด ใบมีลักษณะอ่อนนุ่ม เรียงซ้อนกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ หรือห่อหัวแบบหลวมๆ มีทั้งสีแดง และสีเขียว
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อุณหภูมิ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 - 24′C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางในจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม อีกทั้งยังกระทบต่อการห่อหัวของสลัดอีกด้วย
ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน
การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมตกแต่งในจานอาหาร
ผักกาดหบัตเตอร์เฮด มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลง กว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่(รองพื้นที่) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่
การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวัง
- อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
- อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
- กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
- ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
- ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ต้องวัด pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
- หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่ดการเจริญเติบโต การให้น้ำไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโคนเน่า
การใส่ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง
ข้อควรระวัง
- ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
- การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบทระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
- ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
- ไม่ควรปลูกซ้ำที่
การเก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุ ได้ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้มีดตัดและเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกน้ำ ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก
ข้อควรระวัง
- ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะ เน่าง่าย
- เก็บซากต้นนำไปเผาหรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 20-25 วัน โรคกล้าเน่า, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 25-30 วัน โรคใบจุด, โรครากปม,
ระยะห่อห้ว 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม,
ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 25-30 วัน โรคใบจุด, โรครากปม,
ระยะห่อห้ว 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม,
ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น