ตั้งโอ๋ (Garland Chrysanthemum) เป็นผักต่างประเทศในแถบประเทศจีน และญี่ปุ่น นิยมอย่างมากเพื่อประทานสด และประกอบอาหาร โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ที่ใช้ทำอาหารในแถบทุกเมนู เนื่องจาก ลำต้น และใบมีความกรอบ หวาน และมีกลิ่นหอม
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ตังโอ๋ เป็นผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับดอกเบญจมาศ และเก็กฮวย มีแหล่งกำเนิดเอเชียตอนบน ได้แก่ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ของเอเชีย ปัจจุบัน พบนำเข้ามาปลูกในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น ผักตังโอ๋ เป็นผักฤดูเดียว ในระยะต้นอ่อนมีลำต้นสั้นๆ เมื่อถึงระยะออกดอกลำต้นขยายยาวขึ้น กลายเป็นช่อดอก
1. ราก และลำต้น ผักตังโอ๋ เป็นผักฤดูเดียว ในระยะต้นอ่อนมีลำต้นสั้นๆ เมื่อถึงระยะออกดอกลำต้นขยายยาวขึ้น กลายเป็นช่อดอก
2. ใบ ตั้งโอ๋ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตรงข้ามกันบนลำต้น ขนาดใบกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ และบาง ขอบใบหยักเว้าแหว่งลงลึก และแผ่นใบยาวตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่อเติบโตถึงระยะออกดอก แผ่นใบจะเรียวยาวมากขึ้น และเว้าลึกมากขึ้น
3. ดอก ดอกตั้งโอ๋มีลักษณะคล้ายดอกดอกเบญจมาศหรือดอกเก็กฮวย ดอกมีก้านดอกยาว ทรงกลมสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลืองล้อมรอบดอก ประมาณ 12-14 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายกลีบตัด และหยักเว้าเป็นช่วงๆ ขนาดดอกเมื่อบานประมาณ 3-8 เซนติเมตร ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นก้านยาวสีเหลืองล้อมรอบจำนวนมาก ตรงกลางด้านในสุดเป็นเกสรตัวเมีย และฐานดอกเป็นรังไข่
4. เมล็ด ตั้งโอ๋มีลักษณะของผลหุ้มเมล็ดคล้ายกับของดอกเบญจมาศ และเก็กฮวย โดยผลจำนวนมากขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะผลเรียวยาว มีขั้วผล และปลายผลแหลม กลางผลพองใหญ่ เปลือกหุ้มผลมีสีน้ำตาลอมดำ แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด แต่ละเมล็ดมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เปลือกเมล็ดบางติดกับเนื้อเมล็ด สีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลดำ
ตั้งโอ๋ เป็นพืชที่มีสารอาหาร และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, วิตามิน C, วิตามินบี2, แคลเซียม, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, ไลซีน และ เบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยในการเสริมสร้างพลังงาน และช่วยการทำงานของอวัยวะต่างๆให้เป็นปรกติ รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ดีอีกด้วย
สรรพคุณตังโอ๋
– ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง
– ช่วยแก้อาการร้อนใน
– ต้านเลือดออกตามไรฟัน
– ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
– ในตำราแพทย์จีนเชื่อว่า ตังโอ๋ช่วยบำรุงตับ ม้าม และเสริมการทำงาน
– ช่วยในการย่อยอาหาร และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร
– กำจัดความชื้นในปอด กระตุ้นการทำงานของปอด
– ช่วยขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการไอ และอาการระคายคอ
– ช่วยแก้อาการสะอึก
– ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และเจ็บหน้าอก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ
– ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
– ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง
– ช่วยแก้อาการร้อนใน
– ต้านเลือดออกตามไรฟัน
– ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
– ในตำราแพทย์จีนเชื่อว่า ตังโอ๋ช่วยบำรุงตับ ม้าม และเสริมการทำงาน
– ช่วยในการย่อยอาหาร และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร
– กำจัดความชื้นในปอด กระตุ้นการทำงานของปอด
– ช่วยขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการไอ และอาการระคายคอ
– ช่วยแก้อาการสะอึก
– ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และเจ็บหน้าอก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ
– ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
การปลูกตังโอ๋
ตังโอ๋ เป็นพืชที่ใช้วิธีขยายพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลัก มีขั้นตอนดังนี้
ตังโอ๋ เป็นพืชที่ใช้วิธีขยายพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลัก มีขั้นตอนดังนี้
การเพาะเมล็ด
ตั้งโอ๋สามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินหรือแบบไร้ดินก็ได้ โดยการเพาะเมล็ดสามารถนำเมล็ดไปเพาะลงวัสดุปลูกได้โดยตรง โดยเมล็ดตั้งโอ๋จะงอกจากเมล็ดหลังจากได้รับน้ำประมาณ 2 วัน
ตั้งโอ๋สามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินหรือแบบไร้ดินก็ได้ โดยการเพาะเมล็ดสามารถนำเมล็ดไปเพาะลงวัสดุปลูกได้โดยตรง โดยเมล็ดตั้งโอ๋จะงอกจากเมล็ดหลังจากได้รับน้ำประมาณ 2 วัน
การเตรียมแปลง
แปลงปลูกตั้งโอ๋ ควรไถพรวนแปลงก่อน 1-2 รอบ แต่ละรอบตากดินนาน 5-10 วัน พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด และก่อนไถรอบ 2 ให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ แล้วไถยกแปลงในครั้งที่ 2 ขนาดแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร เว้นช่องว่างระหว่างแปลง ประมาณ 40 เซนติเมตร
แปลงปลูกตั้งโอ๋ ควรไถพรวนแปลงก่อน 1-2 รอบ แต่ละรอบตากดินนาน 5-10 วัน พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด และก่อนไถรอบ 2 ให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ แล้วไถยกแปลงในครั้งที่ 2 ขนาดแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร เว้นช่องว่างระหว่างแปลง ประมาณ 40 เซนติเมตร
การเพาะกล้า
การเพาะกล้าตังโอ๋ อาจเพาะลงแปลงหรือเพาะในกระบะเพาะ โดยการเพาะลงแปลง ต้องเตรียมแปลงด้วยการพรวนดินก่อน ขนาดแปลงขึ้นอยู่กับปริมาณการปลูก แต่ควรเพาะในแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวตามต้องการ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และย้ายกล้า ส่วนการเพาะในกระบะ ให้หยอดเมล็ดลงหลุมกระบะ ประมาณ 2-3 เมล็ด/หลุม จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม และดูแลต่อประมาณ 7-10 วัน หลังวอก ค่อยย้ายปลูกลงแปลง
การเพาะกล้าตังโอ๋ อาจเพาะลงแปลงหรือเพาะในกระบะเพาะ โดยการเพาะลงแปลง ต้องเตรียมแปลงด้วยการพรวนดินก่อน ขนาดแปลงขึ้นอยู่กับปริมาณการปลูก แต่ควรเพาะในแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวตามต้องการ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และย้ายกล้า ส่วนการเพาะในกระบะ ให้หยอดเมล็ดลงหลุมกระบะ ประมาณ 2-3 เมล็ด/หลุม จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม และดูแลต่อประมาณ 7-10 วัน หลังวอก ค่อยย้ายปลูกลงแปลง
วิธีปลูก
การปลูกตั้งโอ๋คล้ายกับการปลูกผักอายุสั้นทั่วไป คือ ปลูกลงแปลงขนาด 1-2 เมตร เว้นช่องแปลงเพื่อเข้าเก็บ ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลูกจากต้นกล้าเรียงเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถว และต้น ประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือเกษตรกรบางรายอาจใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลงแทนการเพาะกล้า ซึ่งได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก
การปลูกตั้งโอ๋คล้ายกับการปลูกผักอายุสั้นทั่วไป คือ ปลูกลงแปลงขนาด 1-2 เมตร เว้นช่องแปลงเพื่อเข้าเก็บ ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลูกจากต้นกล้าเรียงเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถว และต้น ประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือเกษตรกรบางรายอาจใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลงแทนการเพาะกล้า ซึ่งได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก
การดูแล
– การให้น้ำ ในระยะหลังย้ายกล้าวันแรกจนถึง 7-10 วัน ควรให้น้ำทุกวัน ให้ในปริมาณเพียงชื้นหน้าดิน จากนั้น ลดการให้น้ำ 2 วัน/ครั้ง จนถึงต้นพร้อมเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และความแล้ง แต่ควรมั่นตรวจสอบหน้าดินในแปลงไม่ให้แห้ง
– การใส่ปุ๋ย ให้ใส่หลังย้ายกล้าปลูก 7-10 วัน หรือ 10-15 วัน หรือใส่ครั้งเดียว ประมาณ 15-20 วัน หลังการเมล็ดงอกสำหรับการปลูกแบบหว่านเมล็ด โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก ด้วยการหว่านปุ๋ยลงแปลง
– การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชทุกๆ 20 วัน ด้วยการถอนต้นด้วยมือเป็นหลัก
– การให้น้ำ ในระยะหลังย้ายกล้าวันแรกจนถึง 7-10 วัน ควรให้น้ำทุกวัน ให้ในปริมาณเพียงชื้นหน้าดิน จากนั้น ลดการให้น้ำ 2 วัน/ครั้ง จนถึงต้นพร้อมเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และความแล้ง แต่ควรมั่นตรวจสอบหน้าดินในแปลงไม่ให้แห้ง
– การใส่ปุ๋ย ให้ใส่หลังย้ายกล้าปลูก 7-10 วัน หรือ 10-15 วัน หรือใส่ครั้งเดียว ประมาณ 15-20 วัน หลังการเมล็ดงอกสำหรับการปลูกแบบหว่านเมล็ด โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก ด้วยการหว่านปุ๋ยลงแปลง
– การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชทุกๆ 20 วัน ด้วยการถอนต้นด้วยมือเป็นหลัก
การเก็บเกี่ยว
ตั้งโอ๋เป็นพืชอายุสั้น ฤดูเดียว นิยมเก็บลำต้น และใบ ก่อนระยะออกดอก เพราะใบ และลำต้นมีขนาดใหญ่ หากปล่อยให้ถึงระยะออกดอก จะมีลำต้น และใบเรียวเล็ก ใบเว้าแว่งมาก ไม่ค่อยกรอบ และหยาบ ตั้งโอ๋เริ่มเก็บลำต้น และใบได้ ตั้งแต่ 20-30 วัน หลังย้ายกล้าปลูก หรือประมาณ 30-45 วัน หลังเมล็ดงอก ทั้งนี้ การเก็บตั้งโอ๋ ให้เก็บด้วยการถอนทั้งต้น หรือ ใช้มีดตัดโคนต้นออก สำหรับการทานแบบไมโครกรีนปกติจะเก็บมารับประทานเมื่อผักมีอายุได้ไม่เกิน 30 วัน
ตั้งโอ๋เป็นพืชอายุสั้น ฤดูเดียว นิยมเก็บลำต้น และใบ ก่อนระยะออกดอก เพราะใบ และลำต้นมีขนาดใหญ่ หากปล่อยให้ถึงระยะออกดอก จะมีลำต้น และใบเรียวเล็ก ใบเว้าแว่งมาก ไม่ค่อยกรอบ และหยาบ ตั้งโอ๋เริ่มเก็บลำต้น และใบได้ ตั้งแต่ 20-30 วัน หลังย้ายกล้าปลูก หรือประมาณ 30-45 วัน หลังเมล็ดงอก ทั้งนี้ การเก็บตั้งโอ๋ ให้เก็บด้วยการถอนทั้งต้น หรือ ใช้มีดตัดโคนต้นออก สำหรับการทานแบบไมโครกรีนปกติจะเก็บมารับประทานเมื่อผักมีอายุได้ไม่เกิน 30 วัน