วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กะหล่ำปมม่วง (Purple Kohlrabi)


กะหล่ำปม เป็นพืชผักอยู่ในตระกูลกะหล่ำ ลำต้นส่วนที่อยู่ติดระดับดินพองออกเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 - 10 ซม. มีทั้งชนิดลำต้นสีเขียวและม่วง ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายแหลมถึงป้าน ขอบหยักซี่ฟันหยาบๆ โดยเฉพาะส่วนใกล้โคนใบมักเว้าลึกถึงเส้นกลางใบ ก้านใบเล็กและยาว แผ่นใบมีนวล ชอบอากาศเย็น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าปลูกในแปลง

ชื่อพื้นเมือง : กะหล่ำปม (โคห์ลราบิ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L. var. gongylodes L.
ชื่อวงศ์ : BRASSICACEAE (CRUCIFERAE)
ชื่อสามัญ : Kohlrabi, Turnip Rooted Cabbage

วิธีปลูก 
เพาะลงโดยตรงในวัสดุปลูกหยอดเมล็ดหลุมละ 3 - 5 เมล็ด หลังอนุบาลได้ประมาณ 10 - 14 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2 - 3 ใบให้ถอนออกเหลือหลุมละ 1 ต้น ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 25 - 30 ซม.

การใช้ประโยชน์จากกะหล่ำปม
กะหล่ำปมเป็นผักที่ใช้ส่วนลำต้นที่กลมอ้วนมารับประทาน โดยรับประทานเหมือนต้นคะน้าหรือก้านคะน้า โดยนิยมนำมาผัดรวมกับผักชนิดอื่นๆ, ต้มแบบจับฉ่าย, ผัดกับไข่  หรือทานสดกับน้ำพริกก็อร่อยดีครับ


http://www.youtube.com/watch?v=NIM7Eu-KALs    การปลูกกะหล่ำปม
http://www.youtube.com/watch?v=WjwLEedi1io     การทำสลัดกะหล่ำปมแบบญี่ปุ่น
http://www.youtube.com/watch?v=08QQhXCi570   การทำสลัดกะหล่ำปมแบบญี่ปุ่น

อัพแลนด์ เครส (Upland Cress)




วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สวิสชาร์ด เรนโบว์ (Rainbow Swiss Chard)


การเพาะเมล็ดสวิสชาร์ด

               ให้แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศา C ประมาณ 1 คืน  กรณีเพาะลงดิน ให้พึ่งเมล็ดให้แห้งนำมาเพาะในถาดเพาะ โดยใช้วัสดุเพาะ เช่น พีทมอสผสมขุยมะพร้าว รดน้ำทุกวันตอนเช้า และคลุมด้วยผ้าพลาสติก ประมาณ 7 - 14 วันเมล็ดจะเริ่มงอก ถ้าเพาะโดยแช่น้ำอุ่นไม่นาน หรือนำไปเพาะโดยไม่แช่น้ำอุ่นให้เมล็ดอิ่มน้ำก่อน เมื่อนำไปเพาะเมล็ดจะใช้เวลางอกประมาณ 12 - 24 วัน  สำหรับการปลูกแบบไฮโดรฯ ให้นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว 1 คืนมาห่อด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ ใส่ในถุงพลาสติก แล้วใส่ในกล่องถนอมอาหาร อีกชั้น 1 - 4 วันแรกนำกล่องถนอมอาหารไปตากแดดให้อุณหภูมิในกล่องสูงขึ้น จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น

               ดังนั้นการเพาะเมล็ดสวิสชาร์ด ควรนำเมล็ดมาแช่น้ำให้ เมล็ดอิ่มน้ำเสียก่อน (แนะนำให้ใส่เมล็ดในถุงเจาะรูและกดให้ถุงใส่เมล็ดจมน้ำทั้งคืน) สวิสชาร์ด จะมีวิธีเพาะแบบเดียวกันกับบรีิทรูท คือใช้อุณภูมิค่อนข้างอุ่นในการงอก โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 30 องศา C ดังนั้นถ้าเพาะให้งอกได้เร็วขึ้นควรนำถาดเพาะไปตากแดด ช่วง 1 - 4 วันแรกของการเพาะ




วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมล่อน แอปเปิ้ล (New Melon F1 JP ver.)




ชิโสะแดง (Red Shiso Leaf)


ชิโสะ หรือ โอบะ เป็นพืชล้มลุกในกลุ่มเดียวกับ มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตะวันออก (ญี่ปุ่น, เกาหลี, ภาคตะวันออกของจีน)  ลักษณะใบกลม ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอม (คล้ายใบมิ้น) นิยมนำส่วนใบและเมล็ดมารับประทานอาหารกับพวกเนื้อสัตว์

          ชิโสะ ได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมาโดยเริ่มนำมาปลูกครั้งแรกที่เชียงใหม่  ชิโซะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ชอบดินที่มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง การปลูกควรปลูกที่มีแสลนพลางแสงอย่างน้อยประมาณ 50% ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50 - 60 ซม.

          การเพาะเมล็ดชิโสะ แนะนำให้นำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดมาหยอดในถาดหลุมๆ ละ 1 เมล็ดกลบวัสดุบางๆ เสปรย์น้ำให้พอชุ่ม แต่อย่าแฉะเกินไป คลุมด้วยกระดาษหรือถุงพลาสติก เมล็ดชิโซะจะใช้ระยะเวลาในการงอกประมาณ 10 - 14 วัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นเกล้าก็ให้อนุบาลในถาดหลุมต่อประมาณ 14 วัน  ก็ สามารถย้ายลงปลูกได้ ถ้าต้องการปลูกในกระถางก็ให้ใช้กระถางขนาด 8 นิ้วขึ้นไป การให้ปุ๋ย แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 สัปดาห์ละครั้ง หรือใช้ปุ๋ย A,B สูตรปกติสำหรับพืชทานใบ อัตราส่วน 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้งเช่นกัน  การตัดแต่งกิ่งและใบควรริดกิ่งหรือใบที่อยู่ต่ำติดกับดิน หรือใบที่ซ่อนด้านในที่ไม่โดนแสง เพื่อให้ทรงพุ่มระบายอากาศได้ดีเป็นการป้องกันโรคและแมลงที่อาจมารบกวนได้

          คุณชาลี  คำรักษ์  เกษตรกรผู้ปลูกใบซิโสะ ในประเทศไทยมากว่า 10 ปี ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ปลูกชิโสะ  ส่งออกและจำหน่ายใบชิโสะ ให้กับร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย   กล่าวว่าใบชิโสะ เป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูงโดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่น โดยทีี่ฟาร์มของคุณ ชาลี ใช้พื้นที่ในการปลูกประมาณ  3 ไร่ จะสามารถเก็บใบชิโสะได้เดือนละประมาณ 2 แสน ถึง 3 แสนใบ  ราคาจำหน่ายใบชิโซะราคาใบละ 0.5 - 1 บาท โดยในหนึ่งเดือนจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1 - 2 แสนบาท/เดือน  ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ดีมากสำหรับการปลูกพืชทานใบ (ข้อมูลจาก มติชน)

https://www.youtube.com/watch?v=EbIiQmR82tM    ผู้ปลูกใบโอบะ ในไทย
https://www.youtube.com/watch?v=CSDF0tk2vao    การทำเพสโต้-ชิโสะ
https://www.youtube.com/watch?v=6zGljFuzZuM     การทำปลาทอดห่อด้วยใบชิโสะแบบญี่ปุ่น
https://www.youtube.com/watch?v=hk-FL7ydC34    การทำน้ำใบชิโสะ

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชิโสะเขียว (Green Shiso Leaf)



          ชิโสะ หรือ โอบะ เป็นพืชล้มลุกในกลุ่มเดียวกับ มีถิ่นกำเนิดในเอเซียตะวันออก (ญี่ปุ่น, เกาหลี, ภาคตะวันออกของจีน)  ลักษณะใบกลม ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอม (คล้ายใบมิ้น) นิยมนำส่วนใบและเมล็ดมารับประทานอาหารกับพวกเนื้อสัตว์

          ชิโสะ ได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมาโดยเริ่มนำมาปลูกครั้งแรกที่เชียงใหม่  ชิโซะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ชอบดินที่มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง การปลูกควรปลูกที่มีแสลนพลางแสงอย่างน้อยประมาณ 50% ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50 - 60 ซม.

          การเพาะเมล็ดชิโสะ แนะนำให้นำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นก่อนประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดมาหยอดในถาดหลุมๆ ละ 1 เมล็ดกลบวัสดุบางๆ เสปรย์น้ำให้พอชุ่ม แต่อย่าแฉะเกินไป คลุมด้วยกระดาษหรือถุงพลาสติก เมล็ดชิโซะจะใช้ระยะเวลาในการงอกประมาณ 10 - 14 วัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นเกล้าก็ให้อนุบาลในถาดหลุมต่อประมาณ 14 วัน  ก็ สามารถย้ายลงปลูกได้ ถ้าต้องการปลูกในกระถางก็ให้ใช้กระถางขนาด 8 นิ้วขึ้นไป การให้ปุ๋ย แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 สัปดาห์ละครั้ง หรือใช้ปุ๋ย A,B สูตรปกติสำหรับพืชทานใบ อัตราส่วน 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้งเช่นกัน  การตัดแต่งกิ่งและใบควรริดกิ่งหรือใบที่อยู่ต่ำติดกับดิน หรือใบที่ซ่อนด้านในที่ไม่โดนแสง เพื่อให้ทรงพุ่มระบายอากาศได้ดีเป็นการป้องกันโรคและแมลงที่อาจมารบกวนได้

          คุณชาลี  คำรักษ์  เกษตรกรผู้ปลูกใบซิโสะ ในประเทศไทยมากว่า 10 ปี ที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ปลูกชิโสะ  ส่งออกและจำหน่ายใบชิโสะ ให้กับร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย   กล่าวว่าใบชิโสะ เป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูงโดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่น โดยทีี่ฟาร์มของคุณ ชาลี ใช้พื้นที่ในการปลูกประมาณ  3 ไร่ จะสามารถเก็บใบชิโสะได้เดือนละประมาณ 2 แสน ถึง 3 แสนใบ  ราคาจำหน่ายใบชิโซะราคาใบละ 0.5 - 1 บาท โดยในหนึ่งเดือนจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1 - 2 แสนบาท/เดือน  ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ดีมากสำหรับการปลูกพืชทานใบ (ข้อมูลจาก มติชน)

https://www.youtube.com/watch?v=EbIiQmR82tM    ผู้ปลูกใบโอบะ ในไทย
https://www.youtube.com/watch?v=CSDF0tk2vao    การทำเพสโต้-ชิโซะ
https://www.youtube.com/watch?v=6zGljFuzZuM     การทำปลาทอดห่อด้วยใบชิโซะแบบญี่ปุ่น

ฟักทอง บัตเตอร์นัท (Butternut Squash)



วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

มะเขือม่วงญี่ปุ่น (Japanes Eggplant / Money Maker 2 F1)



การปลูกมะเขือม่วงญี่ปุ่น Money Maker 2 ในประเทศญี่ปุ่น
https://www.youtube.com/watch?v=JH7Q2UUOFzk


การตัดแต่งกิ่งมะเขือม่วง
https://www.youtube.com/watch?v=adKVZ430PwE

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เมล่อน ยูบาริคิง (Yubari King Melon)


แนะนำการเพาะเมล็ดเมล่อน ยูบาริ คิง

เมล็ดเมล่อน ยูบาริคิง เป็นเมล่อนที่เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนา  การเพาะจะต่างจากเมล่อนชนิดอื่นๆ คือ

1.ไม้ต้องแกะเมล็ดออกจากถุงซิป แต่ให้ใช้ไม้จิ้มฟันเจาะรู ถุงซิปประมาณ 5 - 6 รู แล้วนำถุงใส่เมล็ดนั้นไปแช่ในน้ำอุ่น 50 องศา c และเมื่อน้ำที่แช่เริ่มเย็นให้ทำการเปลี่ยนน้ำอุ่นใหม่ เพื่อแช่อีกประมาณ 3 ครั้ง จากนั้นจึงแช่ทิ้งไว้ 1 คืน (12 ชม.) หาช้อนกดทับถุงใส่เมล็ดให้เมล็ดจมน้ำขณะแช่เมล็ดด้วยนะครับ

2. นำผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูผืนเล็กๆ นำมาชุบน้ำบิดให้หมาด (อย่าให้ผ้าเปียกหรือแฉะเกินไป) แล้วนำผ้านั้นไปห่อเมล็ดไว้  จากนั้นให้เก็บผ้าดังกล่าวไว้ในกระติกน้ำหรือกล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท 

3.นำกระติกน้ำหรือกล่องถนอมอาหารนั้น ไปตากแดดจัดๆไว้ประมาณ 2 - 5  วัน รากจะเริ่มงอกก็ย้ายลงวัสดุปลูกได้เลยครับ ในระหว่างบมเมล็ดให้อุ่นนี้ถ้าผ้าที่ห่อแห้งเกินไปก็เสปรย์น้ำที่ผ้าแต่อย่าให้ผ้าเปียกหรือแฉะเกินไป




วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมล่อนเกาหลี ซันจีเวล (Korea Melons)



ทดลองปลูกเมล่อนเกาหลี ซันจีเวล เอฟ1 (อายุเก็บเกี่ยว 25-30 วันหลังผสมเกสร) เจริญเติบโตเร็วมาก เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง
เนื้อหวานนุ่ม ฉ่ำน้ำ


วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มะเขือเทศเชอรี่เหลือง โกล์ด นักเก็ต (Gold Nugget Tomato)



วิธีการเพาะเมล็ด
1. การเพาะเมล็ดมะเขือเทศ
         นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ


2. การเพาะกล้า
 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ) 

 นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ

 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร

 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ


3. การย้ายกล้า
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
1. หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อน  ปลูกอย่างน้อย 1 วัน

2. ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่ม และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช

3.  ควรย้ายกล้าในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด

4.  หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า

5. ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต (ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย)

6.  เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้นกลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า


การตัดแต่งมะเขือเทศ
สำหรับมะเขือเทศเชอร์รี่ลูกแพร์ จะมีจำนวนผลต่อกิ่งประมาณ 9 - 10 ลูก แต่เพื่อความสมบูรณ์ของผลเราจึง ควรมีการจำกัดจำนวนผลใน 1 ช่อ โดยการตัดผลส่วนปลายออกบางส่วน    คงเหลือไว้ 6 -8 ผลต่อช่อ เพื่อให้ผลที่สมบูรณ์ที่สุด



ขั้นตอนการตัดแต่งแขนง
มะเขือเทศควรมีการตัดแต่งและเด็ดแขนงด้านข้าง และใบแก่ด้านล่างที่ต่ำกว่าช่อดอกออก (ตามภาพด้านล่าง) เพื่อทำให้ต้นพืชมีการระบายอากาศได้ดี ซึ่งช่วยลดการเข้าทำลายของโรค  และควรเด็ดแขนงด้านข้างก่อนยาวมากกว่า 5 ซม. ควรตัดแต่งในช่วงตอนเช้า เพื่อให้แสงแดดช่วยในการปิดบาดแผล และต้นพืชสามารถรักษาแผลได้เร็ว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคผ่านทางบาดแผล  หลังจากต้นมะเขือสูงได้ประมาณ 1.8 ม. ให้ตัดยอดต้นมะเขือออกด้วย เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากด้านบนคุณภาพจะเริ่มลดลง
 

หมายเหตุ  กิ่งแขนงหรือลำต้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมะเขือเทศสามารถนำมาปลูกต่อได้โดยการนำกิ่งนั้นไปแช่น้ำประมาณ 7 - 10 วันจะเริ่มมีรากงอกออกมาจากกิ่งนั้น หลังจากนั้นสามารถนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อได้โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดใหม่



ขั้นตอนการผสมดอก
1. ในโรงเรือน การผสมเกสรของมะเขือเทศจะอาศัยผึ้งในการผสมเกสร โดยผึ้งจะถูกนำมาใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มเกิดดอกแรก

2. ถ้าไม่ใช้ผึ้ง การผสมเกสรจะสามารถทำได้โดยการเขย่าดอก โดยทำการเขย่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ:
เมื่ออุณภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 C และต่ำเป็นช่วงเวลายาวระหว่างกลางวัน จะทำให้มะเขือเทศลดจำนวนและความมีชีวิตของเกสรลง ถ้าไม่มีเกสรก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้ผึ้งหรือการเขย่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนจึงถูกนำมาใช้  ฮอร์โมนที่ใช้ช่วยให้ติดผลได้ แต่การใช้ฮอร์โมนช่วยในการติดผล จะส่งผลทำให้รูปร่างผลผิดปกติด้วย


อายุการเก็บเกี่ยว

ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
1. Cherry type   40-50 วันหลังย้ายกล้า
2. Seda type     50-60 วันหลังย้ายกล้า
3. Processing , Roma , Table type   60-75 วันหลังย้ายกล้า

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมล่อน ฮันนี่ ออเรนจ์ (Honey Orange F1)



ชนิดของเมล่อนจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามลักษณะผล คือ
1. ร็อคเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายนอกแข็ง มีลายขรุขระเล็กน้อย
2. เน็ตเมล่อน  คือ เมล่อนที่มีลักษณะของเปลือกภายมีลายร่างแหแผ่คลุมเปลือกด้านนอกไว้
3. เมล่อนผิวเรียบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า แคนตาลูป

1. การเพาะเมล็ดและการอนุบาลเกล้าพันธุ์เมล่อน
- ให้นำเมล็ดพันธุ์แช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ  4 - 6 ชม.  (จนเมล็ดจมน้ำ)
- นำเมล็ดที่แช่น้ำอุ่นมาแล้วห่อด้วยกระดาษชำระ  พรมน้ำให้พอมีความชื้นเล็กน้อยแต่อย่าให้แฉะ แล้วห่อด้วย ผ้าขนหนูที่เปียกพอหมาดๆ ห่อ และนำไปบ่มในอุณหภูมิ 28 - 34 องศาเซลเซียส บ่มนานประมาณ 24 - 36 ชม. เมล็ดเมล่อนจะเริ่มงอกรากยาวประมาณ 0.5 ซม. ก็สามารถย้ายลงวัสดุปลูกได้ การบ่มเมล็ดนั้นในช่วงที่มีอากาศเย็น อาจจะนำผ้าขนหนูที่ห่อเมล็ดนั้นไปใส่ไว้ในกระติกน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เมล็ดอุ่นเพื่อให้เกิดการงอกได้ง่ายขึ้น
- นำเมล็ดมาฝังลงในวัสดุเพาะเกล้า โดยใช้คีมคีบเมล็ดให้ปลายเมล็ดด้านแหลมทิ่มลงไปในวัสดุเพาะ สำหรับวัสดุเพาะที่นิยมใช้ในการเพาะเมล่อนคือ  พีทมอส เนื่องจากคุณสมบัติที่ดูดซับความชื้นได้ดี มีความร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี และยังมีธาตุอาหารพืชอยู่ด้วยทำให้เมล่อนที่เพาะด้วยวัสดุปลูกนี้มีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี 
- รดน้ำเช้า - เย็นให้พอชุ่มวัสดุเพาะ  ประมาณ 3 - 5 วัน เมล็ดจะดันตัวออกมาจากวัสดุเพาะ ให้เราอนุบาลเกล้าไปประมาณ 14 - 20 วัน ต้นเกล้าจะมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงปลูกได้


          สำหรับการเตรียมเกล้าต้นเมล่อน ในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกานิยมใช้เทคนิกที่เรียกว่า "กราฟติ้ง" (Grafting)  ซึ่งนิยมทำกันมากในพืชตะกูลแตง และมะเขือเทศ เช่นถ้าเราจะปลูกพืชตะกูลแตงก็ใช้ต้นฟักทอง เป็นระบบรากในการเจริญเติบโต  ธรรมชาติของพืชตระกูลแตงจะมีความอ่อนไหวต่อโรคที่เกิดจากเชื้อรามากโดยเฉพาะเชื้อราที่เกิดกับระบบราก  การใช้เทคนิคกราฟติ้งจะใช้ต้นหลักเป็นต้นฟักทองซึ่งเป็นพืชที่มีระบบรากแข็งแรงทนต่อเชื้อรา และเป็นพืชที่มีรากดูดซึมอาหารได้ดีกว่าพืชตระกูลแตงทั่วๆไป ทำให้ต้นแตงที่เราปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ดี และยังช่วยให้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น

          หลังจากเสียบยอดต้นเกล้า หรือ "กราฟติ้ง" (Grafting) แล้วต้องคลุมด้วยพลาสติกแล้วนำไปไว้ในกล่องพลาสติก ในที่ร่มเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากพืชและทำให้ต้นเกล้าเชื่อมต่อกันได้ดี โดยกระบวนการเชื่อมต่อสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นเมื่อต้นเกล้าแข็งแรงดีแล้วจึงสามารถย้ายไปลงแปลงปลูกต่อไปได้

วิธีการกราฟติ้งเมล่อน กับต้นฟักทอง  https://www.youtube.com/watch?v=XVVM-bUj574

2. การย้ายปลูก
- เตรียมถุงปลูกขนาด 10 - 12 นิ้ว นำวัสดุปลูก ขุยมะพร้าว จำนวน 2 ส่วน, ทรายหยาบ 1 ส่วน, แกลบดิบ 1 ส่วน ผสมกันแล้วใส่วัสดุปลูกลงถุงปลูก
- รดน้ำให้วัสุดปลูกชุ่ม และแช่น้ำค้างลงในจานรองกระถางไว้ประมาณ 1 - 2 วันก่อนปลูก
- ก่อนปลูกให้ใช้น้ำรดวัสดุปลูกอีกครั้งเพื่อล้าง สารแทนนินในขุยมะพร้าวออก (เนื่องจากสารแทนนินในเปลือกมะพร้าวถ้ามีมากไปจะมีผลต่อรากพืช)
- นำต้นเกล้าเมล่อนที่อนุบาลมาได้ประมาณ 14 - 20 วัน ย้ายลงปลูกในกระถาง โดยระหว่าง 1 สัปดาห์แรกของการย้ายปลูกให้เมล่อนได้รับแสงในช่วงเช้าหรือเย็นประมาณ 5 - 6 ชั่วโมงต่อวัน (หลีกหลี่ยงแสงแดดที่แรงเกินไปในช่วงกลางวันหรือบ่าย)
- รดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเพิ่มการให้น้ำเป็น 4 ครั้งต่อวันเมื่อแตงติดลูกแล้ว
- ปริมาณการให้ปุ๋ยจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
1. ช่วงเจริญเติบโตให้ ปุ๋ย A,B ที่มีปริมาณ  N = 150 - 200 mg./L.  และ P = 30 -50 mg./L. และ P = 150 - 200 mg./L.
2. ช่วงพัฒนาผล จะลดปริมาณไนโตรเจนลงเล็กน้อย ประมาณ และเพิ่ม K ขึ้น โดยปรับ K เพิ่มเป็น 250 - 300 mg./L. ในระหว่างนี้ให้เสริม C เป็นระยะเพื่อป้องกันผลแตกและภาวะการขาดแคลเซียม อัตราส่วนการใช้ C อยู่ที่ประมาณ 200 - 300 mg./L.
- ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยวลดการให้น้ำลงเพื่อป้องกันผลแตงแตก และเป็นการเพิ่มความหวานให้กับแตงมากขึ้น



3. การทำค้างให้ต้นเมล่อน

- ให้ใช้เชือกผูกกับคานสูงประมาณ 1.8 ม. - 2 ม. ขึงเชือกเป็นแนวดิ่งลงพื้น ให้ตรงกับกระถางปลูกเพื่อใช้พยุงลำต้นเมล่อน

- ให้ใช้เชือกผูกหลวมๆ  ใต้ข้อใบเมล่อนเพื่อพยุงให้ต้นเมล่อนไม่ล้ม (ผูกข้อเว้นข้อ ขึ้นไปตามแนวเชือก)




4. การตัดกิ่งแขนง , การตัดยอด, การตัดใบ
- เมื่อเมล่อนอายุได้ประมาณ 30 วัน จะมีกิ่งแขนงงอกออกมาจากข้อใบแต่ละข้อ ให้เราเด็ดกิ่งแขนง ที่งอกออกมาระหว่างใบทิ้งให้หมด โดยนับจากข้อใบที่ 1 ถึงข้อใบที่ 7  (แนะนำให้เด็ดในช่วงเช้า) เนื่องจากกิ่งแขนงจะอิ่มน้ำ จะเด็ดง่ายและไม่ทำให้เมล่อนบอบช้ำมาก

- ให้ไว้กิ่งแขนงที่งอกออกมาจากข้อใบที่ 8 - 12 ไว้เพื่อให้เมล่อน สร้างดอกตัวเมียและติดผลในกิ่งแขนงดังกล่าว

- เมื่อเมล่อนมีข้อใบได้ประมาณ 25 ข้อ ให้เราตัดยอดเมล่อนทิ้งเพื่อให้ สารอาหารมาเลี้ยงเฉพาะผล และลำต้นที่เหลือ

- ให้เด็ดใบล่างของเมล่อน ที่ไม่ได้รับแสงออกไปประมาณ 3 - 4 ใบ เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงที่อาจมารบกวนได้

- ให้ตัดปลายกิ่งแขนงที่ทำการผสมดอกและเมล่อนติดผลแล้วในกิ่งนั้นออก โดยให้เหลือใบเลี้ยงที่กิ่งแขนงประมาณ 2 - 3 ใบ



5. การผสมเกสรและการไว้ผลเมล่อน
- เมื่อเมล่อนสร้างดอกตัวเมียที่กิ่งแขนง ลักษณะของดอกตัวเมียจะดูได้จากฐานรองดอกจะมีลักษณะกลมรี เป็นกระเปราะเห็นชัดเจน  เมื่อวันที่ดอกตัวเมียบานให้เราช่วยต้นเมล่อนในการผสมเกสรดอก โดยให้เด็ดดอกตัวผู้ (ดอกตัวผู้มักเกิดที่ข้อใบแต่ละข้อ) ออกมาแล้วดึงกลีบดอกออกให้หมด แล้วนำช่อเกสรดอกตัวผู้ที่อยู่ด้านใน มาเขี่ยกับเกสรของดอกตัวเมีย

- การผสมเกสรแนะนำให้ทำในช่วงเช้าที่ดอกบาน ประมาณ 6.00 - 10.00 น. ซึ่งเวลาดังกล่าวดอกตัวเมียจะพร้อมที่สุดต่อการผสมเกสร หากเกินเวลาดังกล่าวกลีบดอกตัวเมียจะหุบและเฉาไป

- การผสมดอกตัวเมีย 1 ดอกจะใช้ดอกตัวผู้ประมาณ 3 ดอก ในการผสม

- เมื่อผสมเกสรดอกแล้วให้เราจดวันที่ผสมเกสรไว้แล้วแขวนป้ายวันที่ผสมไว้ที่ดอกนั้นด้วย เพื่อช่วยในการนับอายุผลของเมล่อนเพื่อการเก็บเกี่ยวต่อไป

- เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ยิ่งในช่วงที่มีการพัฒนาผล  ให้เรารดน้ำ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น

- เมล่อนเมื่อผสมเกสรไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ผลจะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เราต้องมีการผูกเชือกเพื่อทำการแขวนผล โดยให้เราใช้เชือกทำเป็นบ่วงคล้องที่ขั้วผล เพื่อรับน้ำหนักผลเมล่อนที่จะเพิ่มมากขึ้น

- หากปลูกนอกโรงเรือนแนะนำให้ห่อผลด้วยถุงกันแมลง เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชมาเจาะทำลายผล

- การให้ปุ๋ยนั้นในช่วงการพัฒนาผลนั้น ให้เราใช้ปุ๋ย A,B ในอัตราส่วน 2.5 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร และใช้ปุ๋ย K เสริมเพื่อให้ผลเมล่อนมีการสะสมแป้ง เพื่อพัฒนาให้เกิดความหวานมากขึ้น อัตราส่วนการใช้ K คือ 150 ถึง 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (2 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ หรือเติมในระบบปลูกทุกๆ 5 - 7 วัน



6. การเก็บเกี่ยว
- การเก็บเกี่ยวเมล่อนส่วนใหญ่เราจะนับอายุของผลเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ของเมล่อนที่ปลูก โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 55 - 60 วัน หลังวันดอกบาน หรือวันที่ผสมเกสร 

- เมล่อนบางชนิดจะมีลักษณะพิเศษเห็นชัดเจนเมื่อผลสุกพร้อมเก็บ คือ มีรอยแตกที่ขั้วผลประมาณ 40 - 50%  บางชนิดจะมีกลิ่นหอมออกมาจากผล

- เมล่อนที่มีคุณภาพดี จะต้องมีความหวานอย่างน้อย 14 องศาบริกซ์ขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ก่อนการเก็บเกี่ยวเมล่อนประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เราเริ่มลดปริมาณการให้น้ำต้นเมล่อนลง โดยสังเกตุที่ใบเมล่อนจะเริ่มเหี่ยวลงในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้เพื่อเร่งให้เมล่อนเร่งกระบวนการเปลี่ยนแป้งที่สะสมในผลให้เป็นน้ำตาล เพื่อเป็นการเพิ่มความหวานของผลให้มากขึ้น

* การทานเมล่อนให้อร่อยหลังเก็บเมล่อนมาแล้วให้ทิ้งผลไว้ที่อุณหภูมิปกติ จนขั้วผลแห้งและสามารถดึงหลุดออกมาได้ก่อน ก่อนรับประทานให้ปฎิบัติดังนี้
1. ล้างผลเมล่อนให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
2. นำผลเมล่อนใส่ในตู้เย็น (ช่องแช่ผัก) ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง
3. นำผลเมล่อนมาผ่าออกเป็น 6 - 8 ซีก
4. เขี่ยเมล็ดออก โดยไม่ต้องปาดไส้ในทิ้ง (เพราะส่วนที่อร่อยที่สุดของเมล่อนคือส้วนเนื้อด้านในสุด)
5. ใช้มีดปาดเนื้อให้ห่างจากเปลือกประมาณ 1 เซนติเมตร หรือจะใช้ช้อนตักทานเลยก็ได้ครับ



โรคและแมลงศัตรูของเมล่อน
1. โรคเหี่ยวจากเชื้อรา (Fusarium Wilt) เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงอย่างกว้างขวาง มีหลายเชื้อ

เชื้อสาเหตุ : 
Fusarium oxysporum f.sp. melonis : เป็นเชื้อสาเหตุ ของโรคเหี่ยวที่พบในเมล่อน ซึ่งจะมี 4 ชนิดเชื้อ (races)

ลักษณะอาการ : 
เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืชทางราก ในระยะต้นอ่อนใบเลี้ยงจะเหี่ยว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ร่วง พืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากส่วนยอดลงมา ส่วนของเถาของต้นที่โตแล้วจะแสดงอาการใบล่างเหลืองโดยอาการเริ่มต้นแสดงหลายอย่างเช่น ต้นแตก เกิดอาการเน่าที่โคนและซอกใบ ถ้าเกิดอาการเน่า และพบเชื้อราสีขาวบริเวณรอยแตก หลังจากนั้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวและตาย

การป้องกันกำจัด• ปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ของดินปลูกให้เหมาะสมคืออยู่ที่ pH 6.5
• ใส่ปุ๋ยไนเตรท และไนโตรเจน จะสามารถลดความรุนแรงของโรค
• ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ถอนต้นที่เป็นโรค(เผา)ทิ้ง และป้องกันโรคโดยการใช้สารจุลินทรีย์ เช่น ไตรโคเดอร์มา
• ใช้ เบนเลทผสม แคปแทน หรือ เทอร์ลาคลอร์ ราดโคนก่อนปลูกและหลังปลูก 15 วัน
2. โรคต้นแตกหรือยางไหล ( Gummy Stem Blight )  

เชื้อสาเหตุ : Mycosphaerella melonis ( Didymella bryoniae )
เป็นโรคที่มีการระบาดอย่างกว้างขวางในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน เป็นโรคที่ติดสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ โรคนี้จะเข้าทำลายพืชทางแผลที่ใบและลำต้น โรคต้นแตกยางไหลจะระบาดรุนแรงในสภาพแปลงปลูกที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หรือสภาพของแปลงที่มีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ และมีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ : อาการที่แสดงในใบแก่ แผลจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลอมแดง หรือมีสีดำ ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร รอบแผลจะมีสีเหลือง หลังจากนั้นแผลจะฉีกขาดหรือร่วง อาการเริ่มแรกจะปรากฏที่ขอบใบและขยายเข้าไปที่ส่วนกลางของใบ การเข้าทำลายส่วนของลำต้น อาการที่ปรากฏคือ จะมีแผล เชื้อสาเหตุจะสร้างเมือกเหนียวสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง

การป้องกันกำจัด: การป้องกันและกำจัดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ
• การปลูกพืชหมุนเวียน
• ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
• ใช้สารเคมีฉีดพ่นเช่น อ็อกเทพ โนมิลดิว ไดแทน เอ็ม - 45, บราโว , เทอร์รานิล หรือ เอคโค



3. โรคราแป้ง ( Powdery Mildew ) 


เชื้อสาเหตุ : Erysiphe cichoracearum De candolle
Sphaerotheca fuliginea : เป็นเชื้อสาเหตุของราแป้งในเมล่อน

การแพร่กระจาย : โดยทั่วไปจะมีการแพร่กระจายโดยลม จะระบาดอย่างกว้างขวางในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์ 50 – 90 % ความเข้มของแสงต่ำ มีน้ำค้างและมีการปลูกพืชในอัตราที่จำนวนต้นสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตามโรคราแป้งสามารถที่จะระบาดได้ดีภายใต้สภาพการปลูกที่ไม่มีน้ำค้างได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะอาการ : เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชตระกูลแตงทุกชนิด ลักษณะอาการขั้นต้น จะปรากฏเป็นจุดเหลืองอ่อนที่ ลำต้น ยอดอ่อน ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ เมื่อแผลมีการขยายใหญ่ขึ้น จะมี สปอร์ของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม หลังจากนั้นใบจะเปลี่ยน เป็นสีเหลืองอมน้ำตาลและแห้งกรอบ
 การป้องกันและการกำจัด
• การใช้สายพันธุ์ต้านทานโรค
• บาวีซาน อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น
• ฉีดพ่นด้วย กำมะถัน ชนิดละลายน้ำอัตรา 30- 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดในสภาพอุณหภูมิต่ำ ในกรณีที่อุณหภูมิสูงจะมีผลให้ใบของเมล่อนใหม้
• ใช้ ทอปซิน, เบเลตันฉีดพ่นตามอัตราที่กำหนด



4. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew) 


เชื้อสาเหตุ  : Pseudoperonospora cubensis ( Berkeley & Curtis ) Roslowzew
เป็นโรคที่ สำคัญของพืชตระกูลแตงในเขตร้อนและกึ่งร้อน แพร่กระจายโดยลม ฝน และเครื่องมือการเกษตร

ลักษณะอาการ :  อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง โดยเกิดเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ นอกจากนี้สามารถตรวจสอบบริเวณใต้ใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้ามืด จะปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือสีเทา ใบพืชจะแห้งตายแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบจะร่วง 

การป้องกันกำจัด :
• ใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยใช้ แทนเอ็ม 15 กรัม + โนมิลดิว 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นใต้ใบทุกๆ 7 วัน หากมีการระบาดรุนแรง ใช้ ลอนมิเนต 1- 2 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ให้ทั่วทุก 7 วัน ประมาณ 2- 3  ครั้ง
• ฉีดพ่นด้วย ริดโดมิล โกล เอ็ม แซด , บราโว 82 W, เทอรานิล หรือ  เอคโค เมื่อโรคเข้าทำลาย 3- 7 วัน
• ใช้พันธุ์ต้านทาน



แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. เพลี้ยไฟ (Thrips) 
          เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมาในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหนะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และ ฉีดพ่นป้องกันกำจัดแมลงโดยใช้ ยาเส้น 1 ขีด ต่อน้ำ 5 ลิตร แช่ 1 คืน  ฉีดพ่นทุกๆ 3 - 7 วัน 


2. ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) 
          เป็นแมลงปีกแข้ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตงให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรีย


3. หนอนชอนใบ (Leaf minor) 
          เป็นแมลงตัวเล็กที่ชอนไชอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินเนื้อใบเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปทั่วทั้งผืนใบ โดยทั่วไปไม่พบว่ามีการระบาดมากในพืชตระกูลแตงเท่าใดนัก แต่ในกรณีที่มีการระบาดมาก และเกิดขึ้นในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะทำให้พื้นที่ใบเสียหายส่งผลให้กระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่อไปของต้นแตงเทศ วิธีการกำจัดต้องใช้สารสกัดจากสะเดา, ยาเส้น หรือบิวเวอร์เรีย

4. แมลงวันผลไม้ (Melon fruit fly) 
          เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ผลไม้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ตัวเมียจะวางไข่ในผลไม้ใกล้สุก ทำให้เกิดตัวหนอนชอนไชอยู่ในผล ทำให้เกิดแผล เน่าเสียราคา วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือการห่อผลก่อนที่ผลไม้จะสุกแก่


ตัวอย่างการปลูกเมล่อนด้วยวิธีต่างๆ
http://www.youtube.com/watch?v=exmNdxzViEw  การปลูกเมล่อนโดยไม่ใช้ดิน

http://www.youtube.com/watch?v=g-i1rT2YTIY       การปลูกเมล่อนโดยไม่ใช้ดิน

http://www.youtube.com/watch?v=8TnVJ4E5bWk  การปลูกเมล่อน (ม.เกษตรศาสตร์)

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มะเขือม่วงยักษ์ แบล็คบิวตี้ (ฺBlack Beauty Eggplant)


          มะเขือม่วง จัดเป็นพืชล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร ลำต้นมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ทั่วไปของลำต้นและใบ บางสายพันธุ์อาจจะมีหนามเล็กๆ อยู่บ้าง  สามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด


          ลักษณะของใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกสลับข้างกัน ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลม  มีปลายใบแหลม  ขอบใบมีหยัก

          ดอกจะออกตามซอกใบ เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว แต่ถ้าเป็นมะเขือม่วงสายพันธุ์ญี่ปุ่นกลีบเลี้ยงดอกจะเป็นสีม่วงหรือสีดำ  กลีบดอกมีสีม่วง 5 กลีบ ดอกจะบายอยู่ประมาณ 2 - 3 วัน

          ผลมีลักษณะกลมรี รูปหยดน้ำ ผิวเรียบเป็นมันเงา ถ้าผลถูกแสงแดดมากๆจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลหรือม่วงเป็นสีดำเข้ม  น้ำหนักเฉลี่ยของผลอยู่ที่ประมาณ 400 - 600 กรัม




การเพาะเมล็ด
          เช่นเดียวกับพืชตระกูลพริกต่างๆ ให้นำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นประมาณ 50 องศาเซลเซียส โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง หรือจนกว่าเมล็ดจะจมน้ำ  จากนั้นให้นำเมล็ดมาเพาะในกล่องพลาสติกถนอมอาหารโดยวางรองด้วยกระดาษชำระพรมน้ำให้ชุ่ม จากนั้นปิดฝาให้สนิท นำไปตากแดดในช่วงเช้าประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง จะทำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น โดยปกติจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 5 - 10 วัน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกก็นำไปเพาะลงวัสดุปลูกต่อไป



มะเขือเทศเชอรี่ลูกแพร์ สีเหลือง (Yellow Pear Cherry Tomato)



วิธีการเพาะเมล็ด
1. การเพาะเมล็ดมะเขือเทศ
         นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ


2. การเพาะกล้า
 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ) 

 นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ

 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร

 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ


3. การย้ายกล้า
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
1. หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อน  ปลูกอย่างน้อย 1 วัน

2. ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่ม และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช

3.  ควรย้ายกล้าในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด

4.  หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า

5. ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต (ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย)

6.  เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้นกลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า


การตัดแต่งมะเขือเทศ
สำหรับมะเขือเทศเชอร์รี่ลูกแพร์ จะมีจำนวนผลต่อกิ่งประมาณ 9 - 10 ลูก แต่เพื่อความสมบูรณ์ของผลเราจึง ควรมีการจำกัดจำนวนผลใน 1 ช่อ โดยการตัดผลส่วนปลายออกบางส่วน    คงเหลือไว้ 6 -8 ผลต่อช่อ เพื่อให้ผลที่สมบูรณ์ที่สุด



ขั้นตอนการตัดแต่งแขนง
มะเขือเทศควรมีการตัดแต่งและเด็ดแขนงด้านข้าง และใบแก่ด้านล่างที่ต่ำกว่าช่อดอกออก (ตามภาพด้านล่าง) เพื่อทำให้ต้นพืชมีการระบายอากาศได้ดี ซึ่งช่วยลดการเข้าทำลายของโรค  และควรเด็ดแขนงด้านข้างก่อนยาวมากกว่า 5 ซม. ควรตัดแต่งในช่วงตอนเช้า เพื่อให้แสงแดดช่วยในการปิดบาดแผล และต้นพืชสามารถรักษาแผลได้เร็ว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคผ่านทางบาดแผล  หลังจากต้นมะเขือสูงได้ประมาณ 1.8 ม. ให้ตัดยอดต้นมะเขือออกด้วย เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากด้านบนคุณภาพจะเริ่มลดลง
 

หมายเหตุ  กิ่งแขนงหรือลำต้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมะเขือเทศสามารถนำมาปลูกต่อได้โดยการนำกิ่งนั้นไปแช่น้ำประมาณ 7 - 10 วันจะเริ่มมีรากงอกออกมาจากกิ่งนั้น หลังจากนั้นสามารถนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อได้โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดใหม่



ขั้นตอนการผสมดอก
1. ในโรงเรือน การผสมเกสรของมะเขือเทศจะอาศัยผึ้งในการผสมเกสร โดยผึ้งจะถูกนำมาใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มเกิดดอกแรก

2. ถ้าไม่ใช้ผึ้ง การผสมเกสรจะสามารถทำได้โดยการเขย่าดอก โดยทำการเขย่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ:
เมื่ออุณภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 C และต่ำเป็นช่วงเวลายาวระหว่างกลางวัน จะทำให้มะเขือเทศลดจำนวนและความมีชีวิตของเกสรลง ถ้าไม่มีเกสรก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้ผึ้งหรือการเขย่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนจึงถูกนำมาใช้  ฮอร์โมนที่ใช้ช่วยให้ติดผลได้ แต่การใช้ฮอร์โมนช่วยในการติดผล จะส่งผลทำให้รูปร่างผลผิดปกติด้วย


อายุการเก็บเกี่ยว

ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
1. Cherry type   40-50 วันหลังย้ายกล้า
2. Seda type     50-60 วันหลังย้ายกล้า
3. Processing , Roma , Table type   60-75 วันหลังย้ายกล้า

มะเขือเทศเชอรี่ลูกแพร์ สีแดง (Red Pear Cherry Tomato)


วิธีการเพาะเมล็ด
1. การเพาะเมล็ดมะเขือเทศ
         นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ


2. การเพาะกล้า
 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ) 

 นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ

 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร

 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ


3. การย้ายกล้า
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
1. หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อน  ปลูกอย่างน้อย 1 วัน

2. ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่ม และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช

3.  ควรย้ายกล้าในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด

4.  หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า

5. ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต (ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย)

6.  เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้นกลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า


การตัดแต่งมะเขือเทศ
สำหรับมะเขือเทศเชอร์รี่ลูกแพร์ จะมีจำนวนผลต่อกิ่งประมาณ 9 - 10 ลูก แต่เพื่อความสมบูรณ์ของผลเราจึง ควรมีการจำกัดจำนวนผลใน 1 ช่อ โดยการตัดผลส่วนปลายออกบางส่วน    คงเหลือไว้ 6 -8 ผลต่อช่อ เพื่อให้ผลที่สมบูรณ์ที่สุด



ขั้นตอนการตัดแต่งแขนง
มะเขือเทศควรมีการตัดแต่งและเด็ดแขนงด้านข้าง และใบแก่ด้านล่างที่ต่ำกว่าช่อดอกออก (ตามภาพด้านล่าง) เพื่อทำให้ต้นพืชมีการระบายอากาศได้ดี ซึ่งช่วยลดการเข้าทำลายของโรค  และควรเด็ดแขนงด้านข้างก่อนยาวมากกว่า 5 ซม. ควรตัดแต่งในช่วงตอนเช้า เพื่อให้แสงแดดช่วยในการปิดบาดแผล และต้นพืชสามารถรักษาแผลได้เร็ว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคผ่านทางบาดแผล  หลังจากต้นมะเขือสูงได้ประมาณ 1.8 ม. ให้ตัดยอดต้นมะเขือออกด้วย เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากด้านบนคุณภาพจะเริ่มลดลง
 

หมายเหตุ  กิ่งแขนงหรือลำต้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมะเขือเทศสามารถนำมาปลูกต่อได้โดยการนำกิ่งนั้นไปแช่น้ำประมาณ 7 - 10 วันจะเริ่มมีรากงอกออกมาจากกิ่งนั้น หลังจากนั้นสามารถนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อได้โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดใหม่



ขั้นตอนการผสมดอก
1. ในโรงเรือน การผสมเกสรของมะเขือเทศจะอาศัยผึ้งในการผสมเกสร โดยผึ้งจะถูกนำมาใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มเกิดดอกแรก

2. ถ้าไม่ใช้ผึ้ง การผสมเกสรจะสามารถทำได้โดยการเขย่าดอก โดยทำการเขย่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ:
เมื่ออุณภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 C และต่ำเป็นช่วงเวลายาวระหว่างกลางวัน จะทำให้มะเขือเทศลดจำนวนและความมีชีวิตของเกสรลง ถ้าไม่มีเกสรก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้ผึ้งหรือการเขย่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนจึงถูกนำมาใช้  ฮอร์โมนที่ใช้ช่วยให้ติดผลได้ แต่การใช้ฮอร์โมนช่วยในการติดผล จะส่งผลทำให้รูปร่างผลผิดปกติด้วย


อายุการเก็บเกี่ยว

ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
1. Cherry type   40-50 วันหลังย้ายกล้า
2. Seda type     50-60 วันหลังย้ายกล้า
3. Processing , Roma , Table type   60-75 วันหลังย้ายกล้า