พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน 16 ธาตุ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, ออกซิเจน, ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง, โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน โดยธาตุคาร์บอน, ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้จากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ แบ่งออกเป็นธาตุหลัก 6 ธาตุ และธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ดังนี้
ธาตุอาหารหลัก มีอยู่ 3 ธาตุ และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพืชต้องการใช้ในปริมาณที่มากคือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม
ธาตุอาหารรอง มีอยู่ 3 ธาตุ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชรองลงมาจากธาตุหลัก ได้แก่ แมกนีเซียม, กำมะถัน, แคลเซียม
ธาตุอาหารเสริม มีอยู่ 7 ธาตุ พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย แต่พืชจะขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกันเนื่องจากมีความสัมพันธ์ในการใช้ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองของพืช คือ เหล็ก, แมงกานีส, สังกะสี, ทองแดง,
โบรอน, โมลิบดีนัม และคลอรีน
* หมายเหตุ : ปัจจุบันมีการค้นพบว่าธาตุอาหารรองของพืชเพิ่มขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งคือ นิเกิ้ล ซึ่งเป็นธาตุใหม่ที่มีผลการวิจัยจากสถาบัน Agricultural Research Service Plant, Soil and Nutrition Laboratory in Ithaca ในนิวยอร์ค ว่า นิเกิ้ล เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อระบบเอนไซม์ ที่มีผลต่อการปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ โดยนิเกิ้ลยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กของพืชให้มีประสิทธิภาพ โดยพืชจะมีการสะสมนิเกิ้ลไว้ในเมล็ดเพื่อประโยชน์ในการงอก หากพืชมีการสะสมของปริมาณนิกเกิ้ลไว้อย่างเพียงพอจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดในพืชนั้นๆ สูงขึ้นด้วย
ปริมาณของธาตุอาหารแต่ละชนิด ในค่า pH ของสารละลายแต่ละระดับ
(ช่วงที่เหมะสมในการปลูกพืชคือ 5.5 - 6.8)
ความสำคัญของธาตุอาหารพืชแต่ละชนิด
1. ธาตุไนโตรเจน
ช่วยทำให้พืชตัวตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต ช่วยเสริมใบและลำต้นให้มีสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นพืชอาหาร เช่น ข้าวหรือหญ้าเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องควบคุมการออกดอกออกผลของพืช ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
กรณีที่พืชขาดธาตุไนโตรเจน
1. ใบจะเหลืองผิดปกติ โดยเริ่มจากใบล่างขยายไปสู่ยอดใบ
2. ลำต้นจะผอม, กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
3. พืชบางชนิดจะมีลำต้นสีเหลืองหรืออาจมีสีชมพูปนด้วย
4. ใบพืชที่มีสีเหลืองปลายใบและขอบใบจะเริ่มแห้งแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ จนใบร่วงจากลำต้น
5. พืชจะไม่เติบโตหรือโตช้ามาก
*********************************************************************************
2. ธาตุฟอสฟอรัส
ทำหน้าที่ช่วยให้รากดึงดูดโปแตสเซียมเข้ามาใช้เป็นประโยช์ได้มากขึ้น, ช่วยแก้ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป, ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากฝอยและรากแขนงในระยะแรกของการเจริญเติบโต, ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ช่วยในการออกดอก และสร้างเมล็ดของพืช, เพิ่มความต้านทานต่อโรคบางชนิด ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี, ทำให้ลำต้นของพืชจำพวกข้างแข็งขึ้นไม่ล้มหรือหักง่าย
กรณีที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
1. พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็งแต่ว่าจะเปราะและหักง่าย
2. รากจะเจริญเติบโตและแพร่กระจายช้ากว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ บางครั้งจะหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย
*********************************************************************************
3. ธาตุโปแตสเซียม
ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากดูดน้ำได้ดีขึ้น, ช่วยในการสร้างเนื้อของผลไม้ให้มีคุณภาพดี, ทำให้พืชมีคามต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ, ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ, ช่วยป้องกันผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพืช เนื่องจากการได้รับไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเมากเกินไป, ช่วยเพิ่มคุณภาพของพืชผักและผลไม้ โดยทำให้พืชมีสีสัน ขนาด ความหวาน และคงทนต่อสภาวะแวดล้อมได้
กรณีที่พืชขาดธาตุโปแตสเซียม
1. ขอบใบเหลืองและกลายเป็นสีน้ำตาลโดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าสู่กลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยว และมักจะเกิดจากใบล่างก่อนแล้วค่อยๆ ลามขึ้นไปข้างบน พืชที่เห็นอาการขาดธาตุโปแตสเซียมชัดเจนคือพืชจำพวก ข้าวโพด, มัน
2. ทำให้ผลลิตตกต่ำ พืชจำพวกธญพืชจะมีเมล็ดลีบ น้ำหนักเบา พืชหัวจะมีแป้งน้อย ฝักจะเล็กรูปร่างผิดปกติ พืชพวกใบยาสูบจะมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยา กลิ่นไม่ดี
*********************************************************************************
4. ธาตุแคลเซียม
เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้วๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือฉีดพ่นธาตุอาหารแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อให้พืชติดผลง่ายขึ้น และทำให้ขั้วดอกแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย
เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้วๆ ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือฉีดพ่นธาตุอาหารแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อให้พืชติดผลง่ายขึ้น และทำให้ขั้วดอกแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย
*********************************************************************************
5. ธาตุกำมะถัน
กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้ หรืออาจฉีดพ่นธาตุอาหารรองเสริมทางใบก็ช่วยลดอาการขาดธาตุนี้ได้เช่นกัน
*********************************************************************************
6. ธาตุแมกนีเซียม
เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว ทั้งที่ใบและส่วนอื่นๆ ของพืชซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
อาการขาดแมกนีเซียมจะสังเกตได้จากใบพืช ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบ ถ้าหากอาการขาดรุ่นแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน การขาดธาตุแมกนีเซียม จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้ และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ
การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำปใช้ได้ทันที
*********************************************************************************
7. ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์
อาการขาดธาตุเหล็กจะแสดงออกทั้งทางใบและทางผล อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบว่าที่ใบอ่อนโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบจะมีสีเขียวปกติ แต่พื้นใบจะเริ่มมีสีเหลืองซีด ส่วนใบแก่ยังคงมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ ขนาดใบจะเล็กลงกว่าปกติ กิ่งแห้งตาย ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับไม้ผล คือผลผลิตจะลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย การขาดธาตุเหล็กยังมีผลทำให้ยอดอ่อนเจริญเติบโตได้ช้ากว่าปกติ
ธาตุเหล็กที่พืชจะนำใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5 - 5.6 แต่ถ้าค่า pH ต่ำกว่านี้ จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชได้ ธาตุเหล็กจะไปตรึงธาตุฟอสฟอรัสไว้จนพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ การแก้ไขด้วยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดธาตุเหล็กได้ หรือเลือกใช้ธาตุเหล็กที่มีความคงทนต่อสภาพ pH ได้สูงๆ คือเหล็ก Fe-EDDHA ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเหล็กทั่วไป
*********************************************************************************
8. ธาตุทองแดง
หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล ธาตุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดงใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงโดยแสดงอาการจะแสดงที่ยอด เรื่อยลงมาจนถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประกอบ) ทางใบก็จะช่วยลดอาการนี้ได้
*********************************************************************************
9. ธาตุสังกะสี
สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อนๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ
*********************************************************************************
10. ธาตุแมงกานีส
ธาตุนี้มีผลกระทบต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช และยังควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชอีกด้วย
พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส
*********************************************************************************หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล ธาตุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดงใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงโดยแสดงอาการจะแสดงที่ยอด เรื่อยลงมาจนถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประกอบ) ทางใบก็จะช่วยลดอาการนี้ได้
*********************************************************************************
9. ธาตุสังกะสี
สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริมาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย ใบออกมาซ้อนๆ กัน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ
*********************************************************************************
10. ธาตุแมงกานีส
ธาตุนี้มีผลกระทบต่อใบ เนื่องจากมีบทบาทในการสังเคราะห์แสง เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช และยังควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชอีกด้วย
พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลืองๆ ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส
11. ธาตุโบรอน
มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดูดดึงธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเกคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง
หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบอ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหน้า บางทีผลแตกเป็นแผลได้
อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ ควรทำการปรับปรุงดิน หรือน้ำอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก ให้ค่า pH อยู่ที่ประมาณ 6.0 และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย โดยผักที่มักขาดธาตุอาหารดังกว่าได้แก่ผักในกลุ่มสลัด เช่น สลัดคอส, บัตเตอร์เฮด ฯลฯ
*********************************************************************************
13. ธาตุคลอรีน
คอลรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากเกินไปจะทำให้ขอบใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด
*********************************************************************************
มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดูดดึงธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเกคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง
หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบอ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหน้า บางทีผลแตกเป็นแผลได้
อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมากๆ ควรทำการปรับปรุงดิน หรือน้ำอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก ให้ค่า pH อยู่ที่ประมาณ 6.0 และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย โดยผักที่มักขาดธาตุอาหารดังกว่าได้แก่ผักในกลุ่มสลัด เช่น สลัดคอส, บัตเตอร์เฮด ฯลฯ
*********************************************************************************
12. ธาตุโมลิบดินัม
บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
พืชที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการที่ใบจะโดยใบจะมีจุดด่างๆ กระจายอยู่ทั่วใบ ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลมีขนาดเคระแกรนไม่เจริญเติบโต
*********************************************************************************บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
พืชที่ขาดธาตุนี้จะแสดงอาการที่ใบจะโดยใบจะมีจุดด่างๆ กระจายอยู่ทั่วใบ ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วนเข้าข้างใน ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลมีขนาดเคระแกรนไม่เจริญเติบโต
13. ธาตุคลอรีน
คอลรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากเกินไปจะทำให้ขอบใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด
*********************************************************************************
บทความนี้มีประโยชน์มากๆค่ะ เราเรียนเกษตรเข้ามาหาข้อมูลของคุณดีมากๆ
ตอบลบมีสาระมากเป็นวิทยาทาน
ตอบลบมีสาระมากเป็นวิทยาทาน
ตอบลบขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีดีมีประโยชน์มากครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบใบอ่อนเมล่อนที่เกิดใหม่ไม่เขียวเลยครับ
ตอบลบเป็นเพราะอะไรครับ
ธาตุพวกนี้เราต้องหาเพิ่มมั้ย ครับ หรือว่ามันมีครบถ้วนอยู่แล้ว ใน ปุ๋ย สต๊อก A สต๊อก B
ตอบลบจำหน่ายปุ๋ยธาตุรอง-เสริม
ตอบลบเข้าชมได้ที่
www.phimaiproduct.com
thanks for this awesome contant and this is very helpful.
ตอบลบRoyalStatus4You
TechGrama
Royal फ्रेंडशिप स्टेटस इन हिंदी
Royal Yaari Status in Hindi
Jigri Yaari Dosti Status in Hindi
Kamine Dost Status in Hindi Attitude
Alone Status in Hindi Font