อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เช่น ลังพลาสติก, อ่างน้ำพลาสติก, ฯลฯ โดยมีความสูงไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว
2. ปั๊มลมและหัวทราย แบบเดียวกับที่ใช้ในตู้ปลา (ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้)
3. แผ่นโฟมหนาประมาณ 1 นิ้ว หรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดก็ได้
- สำหรับปลูกผักไทย เจาะรูห่างกันประมาณ 10 - 15 ซม.
- สำหรับผักสลัด เจาะรูห่างกันประมาณ 20 - 25 ซม.
4. pH Down น้ำยาปรับลดค่าความเป็นกรด-ด่าง
5. ธาตุอาหาร A, B สำหรับปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์
6. ถ้วยปลูกพลาสติก
7. ฟองน้ำสำหรับปลูก
8. เมล็ดพันธุ์ผักที่จะปลูก
วิธีปลูก
เมื่ออนุบาลผักจนมีอายุได้ประมาณ 10 - 14 วัน หรือผักเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 ใบ ก็ย้ายลงแปลงปลูกได้ โดยสัปดาห์แรกของการลงแปลงปลูกให้ผักได้รับแสงประมาณ 5 ชั่วโมง/วัน แล้วค่อยขยายเวลาไปจนถึง 6 - 8 ชั่วโมง/วัน พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดดที่แรงเกินไปโดยเฉพาะผักสลัด เพราะแสงแดดที่เข้มเกินไปจะทำให้ผักเฉาและตายได้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้สแลนพรางแสง 50% ในช่วงเที่ยงหรือบ่ายเพื่อลดอุณหภูมิ
1. ตวงน้ำใส่ลงในภาชนะที่จะปลูกโดยให้ระดับน้ำห่างจากขอบภาชนะประมาณ 1 - 2 นิ้ว
(นับจำนวนน้ำที่ใส่ลงไปในภาชนะ โดยใช้หน่วยเป็นลิตร)
2. ใส่ธาตุอาหารสำหรับปลูกพืชไร้ดิน ตามสัดส่วนดังนี้
ผักสลัดใบเขียว อายุปลูก 40 - 50 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.4
ผักสลัดใบแดง อายุปลูก 45 - 55 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.4
ผักโขม,ผักบุ้ง อายุปลูก 30 - 35 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 2.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 1.8
ผักกวางตุ้ง อายุปลูก 35 - 40 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 3.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 2.5
ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ อายุปลูก 35 - 40 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 3.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 3.0
คะน้า อายุปลูก 45 - 55 วัน ปุ๋ย A,B อย่างละ 4.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร EC = 4.0
* การใส่ธาตุอาหาร A และ B ให้ทิ้งระยะการใส่ธาตุอาหารทั้งสองให้ห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ถ้าหากกวนธาตุอาหาร A เข้ากับน้ำดีแล้ว สามารถเติมธาตุอาหาร B ลงไปได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึง 4 ชั่วโมงก็ได้ครับ
3. นำแผ่นโฟมหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดที่เจาะรูไว้แล้วมาวางปิดด้านบนของภาชนะที่ใช้ปลูก
- สำหรับปลูกผักไทย เจาะรูห่างกันประมาณ 10 - 15 ซม.
- สำหรับผักสลัด เจาะรูห่างกันประมาณ 20 - 25 ซม.
4. นำต้นกล้าที่อนุบาลมาแล้ว 10 - 14 วัน นำมาใส่กระถางปลูก แล้วนำไปใส่ในช่องปลูกจนครบทุกช่องและโดยให้ก้นฟองน้ำแตะกับน้ำในภาชนะปลูก (รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับเดิมจนครบอายุปลูกของผักแต่ละชนิด) และควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกๆ 7 วัน - 10 วัน เพื่อความสมบูรณ์ของผักที่ปลูก และอาจจะใส่หัวทรายตู้ปลาเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำที่ใช้ปลูกด้วยก็ได้ จะทำให้ผักโตเร็วขึ้น
5. ในระหว่างการปลูกหมั่นดูระดับน้ำในภาชนะปลูกอย่าให้แห้ง รักษาระดับน้ำให้น้ำสัมผัสกับรากพืชประมาณ 1 ใน 3 ส่วน สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดค่าเป็นกรด-ด่างของน้ำ หรือ pH Meter แนะนำให้สังเกตุที่ผิวน้ำผสมปุ๋ยที่ใช้ปลูกถ้าเริ่มเห็นลักษณะของผิวน้ำเป็นฝ้าหรือคล้ายมีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ ผู้ปลูกอย่างปล่อยทิ้งไว้นานเพราะลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าน้ำเริ่มมีความเป็นด่างมากขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารพืชบางตัวอยู่ในสภาวะที่พืชดูดซึมไม่ได้ แนะนำให้ผู้ปลูกใช้ pH Down ค่อยๆ หยดลงในน้ำทีละหยด และกวนน้ำให้ฝ้านั้นแตกตัว และคอยสังเกตุว่าฝ้านั้นไม่กลับมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า pH ต้องระมัดระวังในการใช้ pH Down ด้วยนะครับ ให้ใช้ทีละน้อย อย่าเติมมากเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำมีความเข้มข้นของกรดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับรากพืชได้ครับ แต่ถ้าผู้ปลูกมีเครื่องวัดค่า pH ก็ให้ปรับและรักษาค่า pH ในช่วงแรกหลังลงปลูก ให้อยู่ในระดับ 6.0 - 6.3 และให้ปรับขึ้นมาที่ 6.4 - 6.6 หลังผักสลัดอายุได้ 30 วัน
6. เมื่อพืชเจริญเติบโต ได้ระยะหนึ่งหรือประมาณ 30 วันหลังจากวันเพาะเมล็ด ปริมาณรากพืชจะมีมากขึ้น เราต้องมีการลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืชมากขึ้น โดยจะลดระดับน้ำลงจากเดิมลงไปอีกประมาณ 1 - 2 นิ้ว
ข้อดีของการลดระดับน้ำลงคือ
- ทำให้รากพืชได้รับอ๊อกซิเจนจากอากาศมากขึ้น
- ป้องกันการยืดตัวของผักโดยเฉพาะผักสลัด
- ทำให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าหากเราไม่ลดระดับน้ำลงจะทำให้พืชหยุดชะงัก การเจริญเติบโตเนื่องจากรากพืชมีมากขึ้นแต่พื้นที่อากาศมีเท่าเดิม
* ทั้งนี้การลดระดับน้ำลงแนะนำให้ทำในช่วงเย็น - ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชสามารถปรับตัวได้ดีกว่าช่วงเวลาอื่น โดยระดับน้ำให้ผู้ปลูกสังเกตุที่รากพืชให้แช่ในน้ำอย่างน้อย 1 - 3 ของรากทั้งหมด
5. ในระหว่างการปลูกหมั่นดูระดับน้ำในภาชนะปลูกอย่าให้แห้ง รักษาระดับน้ำให้น้ำสัมผัสกับรากพืชประมาณ 1 ใน 3 ส่วน สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดค่าเป็นกรด-ด่างของน้ำ หรือ pH Meter แนะนำให้สังเกตุที่ผิวน้ำผสมปุ๋ยที่ใช้ปลูกถ้าเริ่มเห็นลักษณะของผิวน้ำเป็นฝ้าหรือคล้ายมีคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิวน้ำ ผู้ปลูกอย่างปล่อยทิ้งไว้นานเพราะลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าน้ำเริ่มมีความเป็นด่างมากขึ้น จึงทำให้ธาตุอาหารพืชบางตัวอยู่ในสภาวะที่พืชดูดซึมไม่ได้ แนะนำให้ผู้ปลูกใช้ pH Down ค่อยๆ หยดลงในน้ำทีละหยด และกวนน้ำให้ฝ้านั้นแตกตัว และคอยสังเกตุว่าฝ้านั้นไม่กลับมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า pH ต้องระมัดระวังในการใช้ pH Down ด้วยนะครับ ให้ใช้ทีละน้อย อย่าเติมมากเกินไปเพราะอาจทำให้น้ำมีความเข้มข้นของกรดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายกับรากพืชได้ครับ แต่ถ้าผู้ปลูกมีเครื่องวัดค่า pH ก็ให้ปรับและรักษาค่า pH ในช่วงแรกหลังลงปลูก ให้อยู่ในระดับ 6.0 - 6.3 และให้ปรับขึ้นมาที่ 6.4 - 6.6 หลังผักสลัดอายุได้ 30 วัน
6. เมื่อพืชเจริญเติบโต ได้ระยะหนึ่งหรือประมาณ 30 วันหลังจากวันเพาะเมล็ด ปริมาณรากพืชจะมีมากขึ้น เราต้องมีการลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืชมากขึ้น โดยจะลดระดับน้ำลงจากเดิมลงไปอีกประมาณ 1 - 2 นิ้ว
ข้อดีของการลดระดับน้ำลงคือ
- ทำให้รากพืชได้รับอ๊อกซิเจนจากอากาศมากขึ้น
- ป้องกันการยืดตัวของผักโดยเฉพาะผักสลัด
- ทำให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าหากเราไม่ลดระดับน้ำลงจะทำให้พืชหยุดชะงัก การเจริญเติบโตเนื่องจากรากพืชมีมากขึ้นแต่พื้นที่อากาศมีเท่าเดิม
* ทั้งนี้การลดระดับน้ำลงแนะนำให้ทำในช่วงเย็น - ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชสามารถปรับตัวได้ดีกว่าช่วงเวลาอื่น โดยระดับน้ำให้ผู้ปลูกสังเกตุที่รากพืชให้แช่ในน้ำอย่างน้อย 1 - 3 ของรากทั้งหมด
ตัวอย่างภาพอุปกรณ์ที่ใช้ปลูก
สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือวัดค่า EC
การปลูกผักตระกูลสลัด เราจะแบ่งการให้น้ำผสมธาตุอาหารเป็น 6 สัปดาห์ ดังนี้
วันที่ 1 - 7 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ใช้น้ำเปล่า
วันที่ 8 - 14 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้น้ำผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
วันที่ 15 - 21 ลงแปลงปลูก ให้น้ำผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 22 - 28 ให้เปลี่ยนน้ำในแปลงปลูกใหม่โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 2 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 29 - 35 ให้เปลี่ยนน้ำในแปลงปลูกใหม่โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
(ให้ลดระดับน้ำในภาชนะปลูกลงประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว เพื่อเพิ่มพื้นที่อากาศให้กับรากพืช)
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 36 - 40 ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ โดยผสมธาตุอาหาร A, B อย่างละ 1.0 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร
วันที่ 40 - 45 ให้เปลี่ยนน้ำโดยใช้น้ำเปล่าเลี้ยง (เพื่อเก็บเกี่ยว)
หมายเหตุ การเปลี่ยนน้ำที่แนะนำไว้ข้างต้นคือข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ปลูกในภาชนะขนาดเล็ก ที่ไม่มีการเติมอากาศ หากผู้ที่ปลูกแบบเติมอากาศและภาชนะปลูกค่อนข้างใหญ่ ให้เปลี่ยนน้ำเมื่อผักอายุได้ประมาณ 28 วัน ครั้งเดียวก็ได้ครับ
ตัวอย่างการปลูกสลัดสำหรับผู้ที่มีเครื่องมือวัดค่า EC และเครื่องวัดค่า pH ให้ปรับค่าดังนี้
(กำหนดค่า pH ให้อยู่ในช่วง 6.0 - 6.8)
วันที่ 1 - 7 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ใช้น้ำเปล่า
วันที่ 8 - 14 อนุบาลกล้าในถาดอนุบาล ให้ช่วงค่า EC = 1.1 - 1.2
วันที่ 15 - 21 ย้ายลงแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 1.2 - 1.3
วันที่ 22 - 28 อยู่ในแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 1.4 - 1.5
วันที่ 29 - 35 ให้เปลี่ยนน้ำใหม่ ให้ช่วงค่า EC = 1.2 - 1.3
วันที่ 36 - 42 อยู่ในแปลงปลูก ให้ช่วงค่า EC = 0.8 - 1.2
* กรณีน้ำลดให้เติมแต่น้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมธาตุอาหาร โดยให้ 3 วันสุดท้ายก่อนเก็บผักให้ค่า EC อยู่ที่ประมาณ 0.5 ms/cm
การเปลี่ยนน้ำและธาตุอาหารใหม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่างๆ คือ
- ความบริสุทธิของน้ำที่ใช้ปลูก (มีค่าสารละลายเริ่มต้นต่ำ และมีค่า pH ก่อนปรับค่าไม่สูงมาก)
การเปลี่ยนน้ำจะไม่ต้องกระทำบ่อยเนื่องจากน้ำที่มีความบริสุทธิสูง จะมีผลต่อความสมดุลของธาตุอาหารพืชได้ดีกว่าน้ำที่มีความบริสุทธิต่ำ
- ฤดูกาล คือช่วงฤดูร้อนอาจจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำใหม่ในช่วงประมาณ 7-10 วัน สำหรับฤดูอื่น 10-14 วัน
- ขนาดของถังใส่ธาตุอาหาร คือ ถ้าขนาดของถังเล็กไม่สัมพันธ์กับปริมาณผักที่ปลูก ซึ่งจะทำให้ค่า pH และค่า EC มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าปกติ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น
ค่า pH และค่า EC สำหรับปลูกพืชชนิดต่างๆ (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)
สอนทำแปลงปลูกด้วยตนเอง 1 http://www.youtube.com/watch?v=f-QJq0L8kP8
สอนทำแปลงปลูกด้วยตนเอง 1 http://www.youtube.com/watch?v=gI82YbBb66g
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 087-177-6447 เอกชัย
ขอคุณที่ให้ความรู้
ตอบลบเป็นข้อมูลที่ละเอียดและค้นหามานานสำหรับแรงงานต่างแดนเช่นข้าพเจ้าอยากทดลองทำแต่หาอุปกรณ์ค่อนข้างลำบากในไต้หวันแต่จะศึกษาข้อมูลจากท่านไปเรื่อยๆเมื่อมีทุนแล้วจะกลับไปทำและจะติดต่อกับท่านทันที ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ละเอียด และข้าพเจ้าใฝ่ฝันอยากจะทำมานานแต่ไร้ซึ่งแหล่งข้อมูล ขอบพระคุณอย่างสูง
ตอบลบปุ๋ย A,B. หาซื้อที่ร้านแบบไหนหาหลายร้านแล้วๆม่มีขาย
ตอบลบที่บอกมานะ ok แต่หาที่ซื้อ เม็ดพันธ์ ปุ๋ย นะหาได้ที่ไหนบ้าง ช่วยบอกที่
ตอบลบhttp://zen-hydroponics.blogspot.com/2013/01/ab.html
ลบสอบถามตอนผสมปุ๋ย พอทิ้งไว้สักระยะจะมีคราบบนน้ำคล้ายคราบน้ำมันลอยปิดผิวน้ำอยู่ มันคืออะไร และเกิดจากอะไรครับ แล้วมันมีผลอย่างไรต่อต้นผักของเราไหม
ตอบลบการผสมปุ๋ยน้ำที่ใช้ในการผสมจะต้องมีการปรับค่า pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยปรับให้ค่า pH อยู่ที่ประมาณ 5.8 - 6.3 เป็นค่าที่ธาตุอาหารพืชสามารถละลายตัวได้ดี ถ้าน้ำมีค่า pH เป็นด่างมักจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอน และเกิดเป็บคราบฝ้าลอยบนผิวน้ำ การที่ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจะทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารจากน้ำนั้นไปใช้งานไม่ได้ ดังนั้นจึงควรปรับค่า pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามตัวเลขที่กล่าวไว้ข้่างต้นครับ
ตอบลบแล้วการปรับระดับค่า Ph ของน้ำ ปรับขึ้น-ปรับลง
ตอบลบทำได้กี่วิธี อะไรบ้างคับ
ความเป็นกรด-ด่างในน้ำ หรือค่า pH ของน้ำจะผันแปรไปตามคุณสมบัติทางเคมีของสารละลายที่เจือปนในน้ำ โดยปกติน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูงหรือน้ำที่มีสารละลายต่ำ เช่น น้ำกลั่น, น้ำ RO, น้ำฝน จะมีค่า pH เป็นกรด วิธีการปรับเพิ่ม หรือลดค่า pH ในน้ำจะนิยมมากที่สุด ด้วยความสะดวกและประหยัดจะทำโดยการเติมสารละลายที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างกันลงไปขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้น้ำนั้นมีค่าเป็นกรดหรือด่าง เช่นถ้าต้องการให้น้ำนั้นมีค่า pH ต่ำลงก็จะใช้กรด หากต้องการเพิ่มค่า pH ก็ให้เติมเคมีที่เป็นด่าง เช่น โพแทสเซียมคาร์บอเนต (Potassium Carbonate) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ (Potassium Hydroxide) ก็ได้ครับ
ลบข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://zen-hydroponics.blogspot.com/2014/06/ph-ec.html
ลบหาซื้อปุ๋ยได้ที่ไหนบ้าง
ตอบลบอยากทราบอัตราส่วนของปู่ยที่a b ที่ใช้ปลูกสตอเบอรี่ค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ
ตอบลบสำหรับสตรอเบอรี่
ลบ1. ในระยะเจริญเติบโต ให้ใช้ A,B สูตรปกติ ครับอัตราส่วน A,B อย่างละ 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
2. ในระยะออกดอก ให้ใช้ A = 1.5 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร และ B = 4.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร และเสริมด้วยปุ่ย C ฉีดพ่นทางใบเพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม และทำให้สร้างตาดอกได้มากขึ้น
3. ในระยะวพัฒนาผล ให้ใช้ A = 1.5 ซีซี/ น้ำ 1 ลิตร และ B = 4.5 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร และเสริมด้วยปุ่ย C และปุ๋ย K ฉีด พ่นทางใบ เพื่อให้สตรอเบอรี่ลูกใหญ่และหวานขึ้นครับ
* การฉีดพ่น C และ K ให้ทำฉีดพ่นสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง ในช่วงเย็นถึงค่ำจะดูดซึมได้ดีที่สุด และใช้ในอัตราส่วน C และ K อย่างละ 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตรครับ
นี่แหละคือสิ่งที่หนูจะทำ
ตอบลบขอบคุณกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ
ตอบลบดีมากคะข้อมูลนี้มีประโยชน์มาก
ตอบลบชอบมาก
ตอบลบชอบมาก
ตอบลบอากาศร้อนบ้านเราสามารถปลูกสตอเบอรี่ได้มั๊ยคะ
ตอบลบอากาศร้อนบ้านเราสามารถปลูกสตอเบอรี่ได้มั๊ยคะ
ตอบลบอากาศร้อนบ้านเราสามารถปลูกสตอเบอรี่ได้มั๊ยคะ
ตอบลบขอบคุณมากๆ ค่ะ
ตอบลบเครื่องวัด ph กับเครื่องวัด ec อันไหนสำคัญกว่าครับ หรือไม่มีก้อได้ครับ(พอดีผมมีเครื่องวัด ph ครับ)
ตอบลบขอบคุณครับ
มีความสำคัญเท่ากันค่ะ เพราะ pH Meter กับ EC Meter ทำคนละหน้าที่ โดยที่ EC Meter วัดปริมาณธาตุอาหารพืชในสารละลาย และ pH Meter วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ในสารละลาย ซึ่งจะทำหน้าที่ในการไปกระตุ้นให้ปริมาณธาตุอาหารละลายออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วง pH ที่เหมาะสมกับธาตุอาหารชนิดนั้น (ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดละลายออกมาในช่วงความเป้นกรด-ด่างที่ต่างกัน)
ลบเลอค่า
ตอบลบการปลูกผักไทยกับผักสลัดใส่ปุ๋ยAB
ตอบลบอย่างละกี่ccค่ะ
อยากทราบว่าปลูกผักไฮโดควรปลูกที่อุณหภูมิที่กี่องศา
ตอบลบสลัดกีรนโอก เพาะเมัรดยังไงให้งอกดี ในพาวะอากานร้อน
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ที่ละเอียดมากๆครับ ทำให้มือใหม่อย่างผม เริ่มต้นปลูกได้ สุดยอดจริงๆครับ
ตอบลบผักสลัดสามารถปลูกในบ้านบริเวณ นอกกระชาน หน้าต่าง หน้าต่างได้มั้ยครับ
ตอบลบขอยคุณสำหรับข้อมูลแน่นๆ เห็นภาพชัดเจน แล้วจะเอาไปทำตามนะคะ เพิ่งเริ่มปลูกมาได้ 2อาทิตย์ค่ะ
ตอบลบปลูกเรดโอ๊ค ได้ประมาณ 45วัน แล้วเปลี่ยนเป็น น้ำเปล่า ผักกลับเหี่ยวตายค่ะ ไม่ทราบว่า เกิดจากสาเหตุใดได้บ้างค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากครับผมสำหรับข้อมูลดีๆมีประโยชน์
ตอบลบขึ้นช่าย ผักชี ควรใช้ปุ๋ยในอัตราส่วนเท่ารัยคับ
ตอบลบ