ความสำคัญของธาตุแคลเซียม ในระบบ Hydroponics
ปัญหาการขาดธาตุ Ca ในระบบ Hydroponics เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากโดยเฉพาะ ในผักสลัดจะเกิดอาการ Tip burn (ขอบใบไหม้) ในมะเขือเทศและพริกหวานเกิด Blossom-end rot อาการขาด Ca มักเกิดจากมีปริมาณ Ca ไม่เพียงพอในพืช แต่ไม่ได้หมายความว่า Ca ในสารละลายไม่เพียงพอนะครับ แต่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากอัตราการดูดใช้ Ca ของพืชไม่เพียงพอ กล่าวคือแม้ในสารละลายธาตุอาหารจะมีธาตุ Ca ในปริมาณมากพอเพียงกับความต้องการของพืชแต่มีปัญหาอัตราการดูดใช้ Caไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นปัญหาของสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม หรือความไม่สมดุลของธาตุอาหารในสารละลายไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอัตราส่วนของธาตุแคลเซียม กับธาตุอาหารตัวอื่นเช่น NH4+ ,K+,Mg++
หน้าที่ของธาตุแคลเซียมที่มีผลต่อพืช
หน้าที่ของ Ca คือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ คือส่วนของ Calcium Pectate ทำหน้าทีคล้ายกาวเชื่อมผนังเซลล์ให้ติดกันซึ่งทำให้เซลล์มีความแข็งแรง ดังนั้น Ca เป็นตัวทำให้ผลและใบแข็งแรง ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้ส่วนของเซลล์หลวมอ่อนแอและตายเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และธาตุ Ca เป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนที่ในพืช ดังนั้นจะต้องมีปริมาณ Ca ในพืชอย่างพอเพียงตลอดเวลา พืชไม่สามารถเคลื่อนย้าย Ca ไปยังเซลล์ใหม่ได้ อาการขาด Ca จึงมักจะเกิดและแสดงอาการในส่วนยอดของพืช โดยเฉพาะยอดผักสลัดใบยอดจะมีอาการขอบใบไหม้มีสีน้ำตาลหรือดำ ในมะเขือเทศและพริกหวานจะเกิดที่ปลายผลเซลตายเป็นสีดำและเน่าในที่สุด เรียกว่า Blossom-end rot ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งที่ปลูกในดิน และการปลูกแบบ Hydroponics ที่ไม่มีการเพิ่มปริมาณ C ในระบบ
การดูดใช้งานธาตุแคลเซียมของพืช
ธาตุ Ca เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชทางรากแล้ว ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่อยู่ใน Xylem แบบ Passive Transport ไปตามกระแสการไหลเวียนของสารละลายใน Xylem สู่ส่วนยอดของต้นพืช การไหลเวียนของน้ำและธาตุอาหารในเซลส์พืช ต้องอาศัยการคายน้ำของพืชทางใบ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำและธาตุอาหารใน Xylem ถ้าการคายน้ำของพืชช้าลง จะมีผลต่อการลำเลียงธาตุ Ca ไปส่วนต่างๆ ของพืชด้วย โดยปกติส่วนยอดของใบอ่อนของพืชที่ถูกห่อหุ่มด้วยใบอ่อน ก็มีโอกาสที่จะขาด Ca ได้สูง เนื่องจากใบอ่อนจะมีการคายน้ำน้อยกว่าใบแก่ เราจึงมักพบว่าส่วนยอดอ่อนจะเกิดอาการขาดแคลเซียม ซึ่งจะพบมากในพืชประเภทสลัด ดังนั้นการฉีดพ่นแคลเซียมไปโดยตรงในส่วนยอด หรือส่วนต่างๆของพืช เพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่เซลส์บริเวณนั้นๆ ได้โดยตรงจะช่วยลดอาการขาดแคลเซียมในบริเวณนั้นๆ ของพืชได้ดี
อาการขาดแคลเซียม (อาการ Tip burn ในพืชผัก)
เนื่องจากธาตุ Ca เป็นธาตุที่มีการเคลื่อนที่ได้ช้าในพืช กล่าวคือเมื่อพืชใช้ Ca เป็นองค์ของเซลส์ในส่วนต่างๆในพืช หากภาวะที่พืชมีปริมาณ Ca ไม่เพียงพอ ในส่วนต่างๆ นั้น เช่น ที่ใบอ่อน หรือส่วนยอด ดังนั้นอาการขาดแคลเซียมก็จะแสดงอาการให้เห็น คือ เกิดความผิดปกติของใบอ่อน ใบอ่อนจะโค้งงอลง ขอบใบเป็นสีเหลืองและเมื่อขาดนานเข้าจะแสดงอาการใหม้เป็นสีน้ำตาล จนถึงดำ ซึ่งภาวะการขาด Ca จะพบบ่อยมากในผักสลัด เป็นอาการที่เรียกว่า Tip burn ส่วนในไม้ผล เช่น มะเขือเทศ, พริกหวาน จะเรียกว่า Blossom-end rot โดยจะแสดงอาการในส่วนของก้นผลจะเน่า และการเจริญของรากที่ขาด Ca จะเจริญไม่ดีรากสั้นและเป็นสีน้ำตาล
พืชที่มักแสดงอาการ Tip burn ได้แก่พวกผักสลัด (Lettuce) โดยเฉพาะชนิดที่มีลักษณะเป็นหัวห่อและอาจพบในพืชจำพวกกะหล่ำ (Cabbage) อาการขาดจะเกิดที่ใบที่อยู่ด้านในโดยขอบใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนในผักพวก Spinach ใบอ่อนจะแสดงขอบใบไหม้
ในฤดูร้อนจะพบอาการ Tip burn มากที่สุด แต่ในฤดูอื่นก็อาจพบ Tip burn ได้เช่นกัน ต้นเหตุสำคัญของอาการ Tip burn เกิดจากการขาด Ca แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสารละลายที่ใช้เลี้ยงมี Ca ไม่เพียงพอ แต่สาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากค่า EC ของสารละลายสูงเกินไปทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำและอาหารไปเลี้ยงส่วนยอดได้ทันต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นแนะนำให้มีการปรับลดค่า EC ลงเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกมากขึ้น โดยแนะนำไว้ที่ 1.2 - 1.5 ms/cm
การเกิด Tip burn จะเกิดในช่วงที่อัตราการคายน้ำของพืชสูงกว่าอัตราการดูดน้ำของราก หรือในสภาพตรงข้ามคือในสภาพที่มีความชื้นในอากาศสูงจนอัตราการคายน้ำของพืชต่ำมาก กล่าวคือทั้งสองสาเหตุ จะมีผลให้การเคลื่อนที่ของสารละลายธาตุอาหารพืชจากรากสู่ยอดถูกจำกัด ทำให้พืชก็มีแนวโน้มเกิด Tip burn ได้
โดยปกติ Tip burn จะพบเมื่อผักสลัดที่มีอายุใกล้เก็บเกี่ยว ใบอ่อนที่อยู่ภายในหัวผักสลัด จะคายน้ำได้ยากและน้อยกว่าใบส่วนอื่นๆ ทำให้ธาตุอาหาร โดยเฉพาะ Ca เคลื่อนย้ายไปที่ยอดได้ยากกว่าส่วนอื่น จึงทำให้เกิดภาวะยอดอ่อนขาด Ca ได้
นอกจากนี้สาเหตุอีกอย่างที่อาจทำให้เกิด Tip burn คือค่าความเข้มข้นสารละลายสูง เกินไป รวมถึงปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่สำคัญมากคือชนิดและสายพันธุ์ของพืชที่ปลูกนั้นมีการสภาวะการเกิด Tip burn ได้มากน้อยขนาดไหนผู้ปลูกจึงควร เลือกสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อการเกิด Tip burn มาปลูกให้ เหมาะสมกับสภาพอากาศ
โดยปกติ Tip burn จะพบเมื่อผักสลัดที่มีอายุใกล้เก็บเกี่ยว ใบอ่อนที่อยู่ภายในหัวผักสลัด จะคายน้ำได้ยากและน้อยกว่าใบส่วนอื่นๆ ทำให้ธาตุอาหาร โดยเฉพาะ Ca เคลื่อนย้ายไปที่ยอดได้ยากกว่าส่วนอื่น จึงทำให้เกิดภาวะยอดอ่อนขาด Ca ได้
นอกจากนี้สาเหตุอีกอย่างที่อาจทำให้เกิด Tip burn คือค่าความเข้มข้นสารละลายสูง เกินไป รวมถึงปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างที่สำคัญมากคือชนิดและสายพันธุ์ของพืชที่ปลูกนั้นมีการสภาวะการเกิด Tip burn ได้มากน้อยขนาดไหนผู้ปลูกจึงควร เลือกสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อการเกิด Tip burn มาปลูกให้ เหมาะสมกับสภาพอากาศ
จากข้อมูลสามารถสรุปปัจจัยที่ก่อให้เกิด Tip burn คือ
1. สภาพอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด
2. มีลมร้อนและแห้งทำให้พืชมีการคายน้ำสูง ทำให้ขาดสมดุลน้ำและอาหารในเซลส์
3. ค่า EC สารละลายสูง
4. รากพืชเจริญเติบโตไม่ดีเนื่องจากรากขาดออกซิเจน ซึ่งมีผลมาจาก อุณหภูมิของน้ำที่สูง
5. มีปริมาณ K+ และไนโตรเจนในรูป NH4+ สูง เนื่องจากทั้งสองตัวจะยับยั้งการดูด Ca ++
6. สภาพที่อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้การคายน้ำลดลง
7. ลักษณะสายพันธุ์ของพืชชนิดนั้นๆ
การป้องกันและการลดภาวะการขาดแคลเซียม ผู้ปลูกควรมีการปฎิบัติดังนี้
1. มีการฉีดพ่น Ca (แคลเซียม-โบรอน) ทางใบ สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง (แนะนำช่วงเช้าหรือก่อนค่ำ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวพืชจะดูดซึมธาตุอาหารทางใบได้ดีกว่าช่วงเวลากลางวัน)
2.ปรับลดค่าความเข้มข้นของสารละลาย EC เมื่อผักเริ่มมีอายุปลูกมากขึ้น โดยปกติการปลูกสลัดในเขตร้อน หรือในช่วงที่มีอุณหภูมิสูง แนะนำให้ใช้ EC ดังนี้
- วันที่ 1 - 7 ใช้น้ำเปล่าเลี้ยง- วันที่ 8 - 14 EC = 0.7 - 1.0 ms/cm
- วันที่ 15 - 21 EC = 1.4 - 1.5 ms/cm
- วันที่ 22 - 28 EC = 1.3 - 1.4 ms/cm
- วันที่ 29 - 35 EC = 1.2 - 1.3 ms/cm
- วันที่ 36 - 42 EC = 1.0 - 1.2 ms/cm
* ให้ใช้ค่า EC ดังกล่าว ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ย C (แคลเซียม-โบรอน) ทางใบ สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะช่วยลดและป้องกันการเกิดภาวะขาด Ca ได้ครับ
3. ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพรางแสงและมีการเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิในแปลงปลูกลง
4. รักษาอุณหภูมิของน้ำอย่าให้สูงเกินไป เนื่องจากน้ำในระบบปลูกถ้าสูงเกินไปจะมีผลทำให้การดูดซึมธาตุอาหารพืชลดลงจนทำให้เกิดภาวะขาด Ca ได้
5. ในฤดูร้อนอาจจะมีการปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ ทุกๆ 7 - 10 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของถังและปริมาณของผักที่ปลูกเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับสมดุลของธาตุอาหารที่มักมีความผิดเพี้ยนในช่วงอากาศร้อน
6. ใช้ธาตุอาหารที่มี ปริมาณ K+ และไนโตรเจนในรูป NH4+ ที่เหมาะสมกับปริมาณ Ca กล่าวคือถ้าปริมาณ K+ และไนโตรเจนในรูป NH4+ สูงเกินไปในระบบ จะส่งผลทำให้ภาวะการดูดซึม Ca ของพืชผิดปกติ จนนำไปสูงการเกิด Tip burn ได้