ข้าวโพดหวาน เป็นพืชไร่ที่ปลูกกันมาก ในแทบภาคกลาง จนถึงภาคเหนือของญี่ปุ่น โดยฟาร์มที่มีชื่อเสียงระดับโลกในการปลูกข้าวโพดของญี่ปุ่นคือ คิตะมูระฟาร์ม จังหวัดฮอกไกโด และ อันไซฟาร์ม ที่เมือง Tateyama จังหวัดชิบะ ซึ่งจังหวัดชิบะนี้ถือว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เนื่องด้วยปัจจัย 3 ประการที่ทำให้ข้าวโพดหวานจากชิบะมีรสชาดที่ดีคือ
1.สภาพดินที่มีความร่วนซุยมีปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวโพด
2.จังหวัดชิบะเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางของญี่ปุ่นเป็นพื้นที่ๆ ได้รับแสงแดดตลอดเกือบทั้งปี
3.ความแตกต่างกันของอุณหภูมิในช่วงกลางวันกับกลางคืนโดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม ซึ่งปัจจัยนี้มีผลอย่างมากที่ทำให้รสชาติของข้าวโพดหวานอร่อยขึ้น
โดยข้าวโพดหวาน ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมมากในญี่ปุ่นจะมีอยู่ 4 สายพันธุ์ด้วยกันคือ
- เพียวไวท์ (เนื้อสีขาวนวลฝักใหญ่ เนื้อกรอบหวานฉ่ำ)
- ปิกนิก (เนื้อสีเหลืองนวลฝักเล็ก ตลาดไม่ค่อยนิยมแต่เป็นสายพันธุ์ที่หวานที่สุด)
- มิไร (เนื้อสีเหลืองนวล ฝักขนาดกลาง เนื้อกรอบหวานฉ่ำ มีกลิ่นหอม ในญี่ปุ่นเป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด)
- กาวิซึ (เหลืองปนขาวฝักใหญ่ เนื้อหวานนุ่มเหนียว คล้ายๆข้าวโพดสาลีบ้านเราแต่กากน้อยกว่ามาก)
ทางเซนฯ ได้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน สายพันธุ์ มิไร (Mirai F1) เข้ามาจำหน่าย เนื่องจากข้าวโพดสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ สามารถทานสดได้มีกลิ่นหอม มีฝักที่ใหญ่พอประมาณ ความยาวของฝักประมาณ 5 - 6 นิ้ว เนื้อมีสีเหลืองนวล ในฝักมีแถวเมล็ดประมาณ 16 แถว มีเปลือกหุ้มฝักสีเขียวเข้ม เนื้อข้าวโพดมีกลิ่นหอม เนื้อกรอบ หวานฉ่ำน้ำ มีปริมาณของแป้งต่ำ ความหวานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13 - 18 องศาบริกซ์ (ขึ้นอยู่กับสภาพดิน อากาศ การปลูกดูแลรักษา) ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกง่าย ทนต่อโรคราน้ำค้าง, โรคราสนิม, โรคใบไหม้ ได้ดีมาก
* * ข้อมูลข้าวโพดหวานในญี่ปุ่น * *
https://www.youtube.com/watch?v=RpgIOzrCja8
https://www.youtube.com/watch?v=hAVYiNdh9cs
https://www.youtube.com/watch?v=PmJK2Ez9B7M
*****************************************************************
ข้อมูลจำเพาะ และวิธีปลูกข้าวโพดหวาน
ข้าวโพดหวาน เป็นพืชอยู่ในตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวานข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป
ลักษณะทั่วไปของข้าวโพด
1. ลักษณะลำต้นตั้งตรงภายในลำต้นมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ความสูงของลำต้นประมาณ 1 - 4 เมตร
2. ลักษณะใบ เป็นใบเดีี่ยวขึ้นเรียงสลับบนลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายแหลม มีขนอ่อนปกคลุมอยู่บนใบ
3. ลักษณะดอก ข้าวโพดจะออกดอกเป็นช่อ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน โดยดอกตัวผู้จะออกที่บริเวณปลายยอด และดอกตัวเมียจะอยู่ต่ำลงมาออกระหว่างกาบของใบและลำต้น เรียงเป็น 2 แถว มีประมาณ 8 - 18 ดอก โดยดอกย่อยจะมีก้านเกสรตัวผู้จำนวน 9 - 10 อัน และมีอับเรณูสีเหลืองส้ม ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนยอดเกสรตัวเมียจะเป็นเส้นบางๆ ยื่นออกมาจำนวนมากคล้ายกับเส้นไหม (หรือที่เรามักเรียกว่าหนวดข้าวโพด) เมื่อดอกเพศเมียได้รับการผสมกับเกสรตัวผู้ที่อยู่ยอดด้วยบนแล้วดอกตัวเมียจะเจริญเติบโตกลายเป็นฝักข้าวโพดต่อไป
4. ลักษณะฝักข้าวโพด จะถูกหุ้มด้วยกาบบางหลายชั้น เมื่อฝักข้าวโพดยังเล็กอยู่เปลือกหุ้มนี้จะมีสีเขียว แต่เมื่อฝักเจริญเติบโตเต็มที่เปลือกหุ้มนี้จะเริ่มมีสีอ่อนลงกลายเป็นสีเหลืองนวล ฝักข้าวโพดมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดเรียงเป็นแถวประมาณ 8 - 10 แถวแต่ละแถวจะมีเมล็ดประมาณ 30 เมล็ดและจะมีสีแตกต่างกันไปตามลักษณะของสายพันธุ์ เช่น สีเหลือง, สีขาว, สีม่วง, สีดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ข้าวโพดหวานเป็นล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว อายุสั้น จัดอยู่ในตระกูล Gramineae เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้าที่ผสมข้ามพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays Line.Var Saccharata.
ข้าวโพดหวานเป็นพืชไม่มีรากแก้ว มีเพียงระบบรากฝอยที่เจริญจาก 2 ส่วน คือ รากส่วนที่หนึ่ง เจริญมาจากคัพภะ เรียกว่า primary root เป็นรากที่พัฒนาจาก radical มีรากแขนงที่แตกออกจาก primary root เรียกว่า lateral root และระบบรากที่เกิดขึ้นจาก scutellar node เรียกว่า seminal root รากทั้งหมดจะเติบโตในระยะเวลาสั้นในระยะที่ข้าวโพดหวานเป็นต้นกล้า และจะตายเมื่อต้นข้าวโพดเจริญเติบโตมากขึ้น ส่วนที่ 2 เป็นรากที่เจริญจากลำต้น เรียกว่า adventitious root โดยแตกออกจากส่วนข้อช่วงข้อล่างของลำต้น ประมาณข้อที่ 1-2 ซึ่งจะแทงรากลงดินข้าวโพดหวานเป็นล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว อายุสั้น จัดอยู่ในตระกูล Gramineae เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้าที่ผสมข้ามพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zea mays Line.Var Saccharata.
ลำต้นประกอบด้วยข้อ และปล้อง มีลักษณะแก่นเนื้อไม่กลวง บริเวณข้อมีเนื้อเยื่อเจริญที่เป็นจุดกำเนิดของราก (ข้อ 1-2) ตา และกาบใบ มีลักษณะปล้องสั้น ใหญ่ที่โคนต้น และปล้องยาว เล็กตามระยะตามความสูงเพิ่มขึ้น
ใบประกอบด้วยกาบใบที่หุ้มลำต้น และแผ่นใบแผ่กาง มีเส้นกลางใบชัดเจน ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ตามอายุของใบ
– ช่อดอกตัวผู้ เรียกว่า tassel และช่อดอกตัวเมีย เรียกว่า ear อยู่บนต้นเดียวกัน แต่แยกอยู่คนละดอก โดยช่อดอกตัวผู้จะอยู่ที่ส่วนยอดของลำต้น
– ช่อดอกตัวเมีย เกิดบริเวณตาที่มุมใบบริเวณส่วนบนของข้อ ประมาณข้อที่ 6 นับจากใบธงลงมา ช่อดอกตัวเมียมีลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว ที่เรียกว่า ไหม ไหมอ่อนจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือสีเหลืองปน ม่วงอ่อนๆ ผิวเส้นมันค่อนข้างเหนียว เมื่อฝักแก่เส้นนี้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เรียกว่า “Corn Silk”
ส่วนของฝักจะเป็นส่วนที่พัฒนามาจากช่อดอกตัวเมีย ประกอบด้วยผล และเมล็ด ที่เป็นแบบ caryopsis คือ มีเยื่อหุ้มผลติดกับเยื่อหุ้มเมล็ด ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางใสไม่มีสี เยื่อหุ้มผล และเยื่อหุ้มเมล็ด เรียกรวมกันว่า hull เมล็ดจะเป็นส่วนสะสมแป้งบริเวณส่วนของเอนโดสเปิร์ม การสะสมแป้งจะเต็มที่เมื่อข้าวโพดแก่จัด ซึ่งระยะนี้จะพบแผ่นเยื่อสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำบริเวณโคนเมล็ด
ผลผลิตข้าวโพดหวาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ผลผลิตทางชีวภาพ หมายถึง ผลผลิตโดยรวมของใบ กิ่ง ลำต้น ราก และเมล็ด ซึ่งก็คือ ผลผลิตทางชีวภาพเป็นผลผลิตรวมทุกส่วนของต้นข้าวโพดหวาน
2. ผลผลิตทางเศรษฐกิจ หมายถึง ผลผลิตของต้นข้าวโพดหวานเฉพาะส่วนที่มนุษย์เก็บเกี่ยวไปใช้ประโยชน์ เช่น ฝักข้าวโพด ใบข้าวโพดสำหรับอาหารสัตว์ เป็นต้น
ลักษณะของต้นข้าวโพดหวาน
เกสรดอกตัวผู้
เกสรดอกตัวเมีย
ชนิดของข้าวโพด จะแบ่ง ออกเป็น 7 ชนิด โดยจำแนกตามลักษณะภายนอกของเมล็ดและลักษณะของแป้ง
1. ข้าวโพดไร่ชนิดหัวบุบ (Dent Corn) มีลักษณะของเมล็ดตอนบนมีรอยบุบสีขาว เนื่องจากตอนบนเป็นแป้งชนิดอ่อน ส่วนด้านข้างเป็นแป้งชนิดแข็ง เมื่อนำมาตากแห้งจึงเกิดการยุบตัว
2. ข้าวโพดไร่ชนิดหัวแข็ง (Flint Corn) เป็นชนิดที่มีเมล็ดค่อนข้างแข็ง เมล็ดกลมเรียบ หัวไม่บุบ ด้านนอกหุ้มด้วยแป้งชนิดแข็ง เมื่อนำมาตากแห้งจึงไม่หดตัวหรือยุบตัว โดยมีขนาดของฝักและจำนวนแถวของเมล็ดน้อยกว่าชนิดหัวบุบ
3. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นชนิดที่ปลูกเพื่อรับประทานฝักสดโดยเฉพาะ มีเมล็ดอ่อน มีรสหวานอร่อย เนื่องจากมีน้ำตาลมาก
4. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) มีขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็ก มีแป้งแข็งอยู่ภายใน ภายนอกห่อหุ้มด้วยสารที่ค่อนข้างเหนียวและยืดตัวได้ภายในมีความชื้นอยู่พอสมควร เมื่อถูกความร้อนจะเกิดแรงดันภายในเมล็ด และระเบิดออกมา ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ้งตามรูปร่างของเมล็ดได้ 2 จำพวก คือ เมล็ดหัวแหลม (Rice Pop corn) และเมล็ดกลม (Pearl Pop corn)
5. ข้าวโพดข้าวหนียว หรือ ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เมล็ดจะมีความเหนียวคล้ายขี้ผึ้ง แป้งที่ได้จะมีลักษณธคล้ายกับแป้งจากมันสำปะหลัง ข้าวโพดชนิดนี้ปลูกเพื่อรับประทานฝักสดคล้ายกับข้าวโพดหวาน แต่รสชาดจะไม่หวานเท่า แต่เมล็ดจะมีความเหนียวนิ่ม
6. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) โดยเมล็ดของข้าวโพดชนิดนี้จะมีแป้งปริมาณมากกว่าชนิดอื่นๆ ลักษณะภายนอกจะเหมือนกับข้าวโพดไร่ชนิดหัวแข็ง แต่หัวจะบุบเพียงเล็กน้อย
7. ข้าวโพดป่า (Pod Corn) เมล็ดมีเปลือกหุ้มทุกเมล็ด และยังมีฝักอีกชั้นหนึ่ง ข้าวโพดชนิดนี้ไม่นิยมนำมาปลูกในเชิงเศรษฐกิจ แต่เป็นชนิดที่นำมาปลูกเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ฤดูปลูก
ข้าวโพดหวาน สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน
อุณหภูมิที่เหมาะสม
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง
การเตรียมแปลงปลูก
การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ
การปลูกข้าวโพดหวาน
ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที
การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน
- การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
- การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
- การใ้หน้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
- การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
- การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล
- การใ้หน้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
- การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
- การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล
การเก็บเกี่ยวและการรักษา
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีหรือเลว ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานเพื่อส่ง โรงงานหรือจำหน่ายฝักส ควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม (Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ
- นับอายุ หลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนัก, เบา หรือปานกลาง เช่นพันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน พันธุ์ปานกลาง 70-85 วัน และพันธุ์หนักตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป
- เก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอน และนิยมกระทำกัีนมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ควรเก็บเกี่ยวในเวลา เช้าตรู่และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง
โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
โรคราน้ำค้างของข้าวโพด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าโรคใบลาย เป็นโรคที่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงให้แก่แหล่งที่ปลูกข้าวโพดในหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย การสำรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อำเภอพยุหะคีรีและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปี2511 ต่อมาพบระบาดอีกในหลายจังหวัด เช่น ลพบุรี ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา จนถึงปัจจุบันนอกจากจังหวัดที่ได้กล่าวถึงโรคนี้ระบาดไปทุกแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพด โดยเฉพาะกาญจนบุรีและอุทัยธานีที่มีการปลูกข้าวโพดติดต่อกันตลอดปี พบว่าไม่สามารถควบคุมโรคโดยใช้สารเมตาแลคซิลที่เคยใช้ได้ผลในอดีตที่ผ่านมา ความรุนแรงของโรคทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์ ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงและพันธุ์ข้าวโพดที่อ่อนแอจะทำความเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคมาก
ลักษณะอาการของโรค มี 3 ลักษณะดังนี้
1.) Infection site หรือบางครั้งเรียกว่า infection point อาการที่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร จุดมีลักษณะเป็นสีเขียวฉ่ำน้ำ เกิดจากการเข้าทำลายของ germ tube ที่งอกออกจากสปอร์ มักเกิดและเห็นได้ชัดกับข้าวโพดที่ระยะกล้าอายุประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์
2.) Local symptom อาการเฉพาะแห่ง เป็นลักษณะอาการที่เกิดต่อมาจากอาการแบบที่1พบเป็นทางยาวสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ แผลจะขยายจากจุด infection site ลามลงมาทางโคนใบ ต่อมาเมื่อข้าวโพดอายุมากเข้ารอยสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายใบไหม้และแห้งตายในที่สุด
3.) Systemic symptom อาการกระจายทั่วต้น ลักษณะอาการที่ต้นข้าวโพดมีใบสีเหลืองซีดโดยเฉพาะในบริเวณยอด ต้นแคระแกรน เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย บางครั้งใบยอดมีลักษณะอาการใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ หลังจากใบแรกที่แสดงอาการแบบนี้แล้ว ใบที่เจริญต่อมาจะแสดงอาการแบบ systemic หมด ถ้าความชื้นสูงเชื้อทำให้เกิดอาการยอดแตกฝอยเป็นพุ่ม เกสรตัวผู้กลายเป็นเกสรตัวเมียสร้างเมล็ดและต้นอ่อน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการระบาดของโรค
1.) ความชื้นของบรรยากาศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำค้าง อากาศเย็น และฝนตกชุกอย่างไรก็ตามแม้ว่าฝนจะตกชุกแต่ดินไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้ความชื้นที่สูงเกิดในระยะเวลาสั้นๆ โรคก็เกิดน้อย
2.) อุณหภูมิของบรรยากาศ เชื้อโรคนี้จะเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็น คือประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส
เชื้อสาเหตุ
เชื้อรา Peronosclerospora sorghi (Weston &Uppal) C.G. Shaw เชื้อราชนิดนี้มีก้านชูสปอร์ตรง แผ่ขยายออกที่ปลาย สีใส มีขนาด 180-300 ไมครอน มักจะแตกแขนงแบบสองแฉกเสมอ แทงทะลุออกมาจากปากใบข้าวโพดแบบเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม จากใต้ใบและด้านบนของใบ สปอร์ใสรูปไข่หรือรียาวมีขนาดอยู่ระหว่าง 14.4-27.3x15-28.9 ไมครอน ติดอยู่บนก้านชูเรียวแหลมยาวประมาณ 13 ไมครอน
การงอกของสปอร์โดยสร้างท่อเล็กยาว เมื่อมีหยดน้ำแล้วแทงทะลุผ่านปากใบเข้าทำลายพืช เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเชื้อราสร้างสปอร์ผนังหนา รูปร่างยาวรี ฝังตัวอยู่ในเนื้อใบบริเวณท่อน้ำท่ออาหาร มีขนาด 25-42.9 ไมครอน สีใส ผนังสีเหลือง เพื่อคงทนต่อสภาพแวดล้อมและติดไปกับเมล็ด ใบข้าวโพดที่แสดงอาการโรค เชื้อราจะสร้างสปอร์เมื่อมี ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 17-29 oซ ช่วงที่เหมาะสมคือ 24-26 oซ การงอกของ สปอร์ต้องการความชื้นสัมพัทธ์สูง อุณหภูมิ 21-25 oซ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนแล้ว สปอร์มีอายุเพียง 3-4 ชั่วโมง และเมื่อถูกแสงแดดยามเช้าก็ตายไป การเข้าทำลายพืชทั้งต้นสามารถพบได้ที่ อุณหภูมิ 11-32 oซ ที่มีความชื้นอย่างน้อย 4 ชม.
การแพร่ระบาด
โรคจะเริ่มระบาดตอนต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมไปจนสิ้นฤดูฝนเมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิ 20-26 oซ และความชื้นสูงเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราชนิดนี้มาก โดยสามารถพบเชื้อโรคสร้างสปอร์ เป็นผงสีขาวๆบนผิวใบที่ลายของข้าวโพดในเวลาเช้ามืดของคืนที่มีฝนตกและอากาศค่อนข้างเย็น เมื่อสปอร์แก่จะแพร่ระบาดไปโดยลมเข้าทำลายต้นอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้เชื้อที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่แห้งดี เชื้อโรคที่ตกอยู่ในดิน หรือที่เกิดบนพืชอาศัยอื่น พอสรุปได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1.) ใบข้าวโพดที่เป็นโรค
2.) ติดมากับเมล็ดข้าวโพดจากต้นที่เป็นโรค
3.) พืชอาศัยบางชนิด เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพงหรือแขม หรืออ้อยเลา หรือหญ้าคาหลวง (Saccharum spontaneaum)
4.) เชื้อราอาจจะตกค้างในดินในรูปของสปอร์ที่มีผนังหนา
การป้องกันกำจัด
1.) หลีกเลี่ยงการปลูกก่อนฝนตกชุกหรือปลูกก่อนฤดูฝน ซึ่งโดยปกติพบว่าโรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนกับข้าวโพดที่มีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคมาก แต่ถ้าต้นข้าวโพดมีอายุมากกว่า 1 เดือน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคน้อย
2.) การกำจัดพืชอาศัย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อสาเหตุได้ พบว่า หญ้าเจ้าชู้ ข้าวฟ่าง หญ้าพง และอ้อย แสดงอาการโรคราน้ำค้าง สปอร์ที่สร้างบนพืชทั้งสี่สามารถทำให้เกิดโรคดังกล่าวแก่ข้าวโพดได้ หรือข้าวโพดที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือต้นอ่อนที่งอกใหม่จากเมล็ดที่ร่วงหล่นในแปลง เชื้อสาเหตุของโรคก็สามารถอยู่ข้ามฤดูได้เช่นกัน
3.) หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์
4.) ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท (ความชื้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์) มาทำพันธุ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่ติดมากับเมล็ด เมล็ดข้าวโพดที่ได้จากต้นที่เป็นโรคเมื่อยังมีความชื้นในเมล็ดสูง(15-20เปอร์เซ็นต์) จะสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคได้
5.) ใช้พันธุ์ต้านทาน ปัจจุบันมีข้าวโพดทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้เป็น จำนวนมาก มีความต้านทานเชื้อสาเหตุโรคราน้ำค้างได้ดีและให้ผลผลิตสูง เช่น พันธุ์นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 สุวรรณ 3601
6.) การใช้สารเคมีเมตาแลกซิล (Apron 35 SD) ในอัตรา 7 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดก่อนปลูก สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และอุทัยธานี ไม่สามารถใช้สารนี้ป้องกันกำจัดโรคได้
โรคใบไหม้แผลเล็ก (Southern or Maydis LeafBlight)
การระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยมีเสมอทุกปีและระบาดเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่จนถึงปัจจุบันโดยมีความรุนแรงกับข้าวโพดสายพันธุ์แท้(Inbred line)บางสายพันธุ์ ข้าวโพดหวานข้าวโพดเทียน ข้าวโพดข้าวเหนียว
ลักษณะอาการ
ระยะแรกจะเกิดจุดเล็กๆสีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำต่อมาจุดจะขยายออกตามความยาวของใบโดยจำกัดด้านกว้างของแผลขนานไปตามเส้นใบตรงกลางแผลจะมีสีเทาขอบแผลมีสีเทาน้ำตาล ขนาดของแผลไม่แน่นอนแผลที่ขยายใหญ่เต็มที่มีขนาดกว้าง 6-12 มิลลิเมตร และยาว 6-27 มิลลิเมตรในกรณีที่ใบข้าวโพดเป็นโรครุนแรงแผลจะขยายตัวรวมกันเป็นแผลใหญ่และทำให้ใบแห้งตายในที่สุดอาการของโรคเมื่อเกิดในต้นระยะกล้าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทุกใบอาจจะเหี่ยวและแห้งตายภายใน 3-4 สัปดาห์หลังปลูกแต่ถ้าเกิดกับต้นแก่อาการจะเกิดบนใบล่างๆ ก่อน นอกจากจะเกิดบนใบแล้วยังเกิดกับต้นกาบใบ ฝักและเมล็ดอีกด้วย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Bipolaris maydis(Nisik.) Shoemaker. มีชื่อเดิมว่า Helminthosporium maydisNisik. เข้าทำลายข้าวโพดในเขตอบอุ่นและร้อนชื้น ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเชื้อมีสปอร์ยาวโค้ง ปลายเรียวมน ไม่มีhilum สีเขียวมะกอก มีขนาดระหว่าง 10 -17x30-115 ไมครอน มีผนังกั้น 3-13 เซลล์ การงอกgerm tube ออกทางปลายทั้งสองด้านเมื่อนำใบข้าวโพดเป็นโรคมาบ่มที่ความชื้น ในอุณหภูมิห้องจะสร้างสปอร์ในเวลา 24-48ชม.ก้านชูสปอร์ยาวประมาณ 120-170 ไมครอนเจริญออกมาจากปากใบ
ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อจะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (perfect stage) เรียกว่า Pseudothecia มีชื่อเรียกว่าCochliobolus heterostrophus (Drechs.) Drechs. รูปร่างกลม สีดำมีส่วนปากค่อนข้างแหลมยื่นออกมาขนาด 0.4-0.6 มม. ภายในมีถุงบรรจุascusรูปทรงกระบอกซึ่งมี ascospore จำนวน 4-8 สปอร์ลักษณะใส ไม่มีสีมี 5-9 เซลล์รูปร่างคล้ายเส้นด้ายขนาด 6-7x130-340 ไมครอนพันกันเป็นเกลียวอยู่ภายในถุงบรรจุสปอร์การสืบพันธุ์แบบนี้ทำให้เกิดการผันแปรทางพันธุกรรมของเชื้อจึงพบเสมอว่ามีโรคสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น รุนแรงกว่าเดิมเข้าทำลายข้าวโพด
การแพร่ระบาด
เชื้อโรคสามารถระบาดจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งหรือจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งโดยติดไปกับเมล็ดที่เป็นโรคและโดยทางลมหรือฝนนำสปอร์ปลิวไปเมื่อเข้าทำลายพืชเป็นแผลบนใบสามารถสร้างสปอร์อีกมากมายแพร่กระจายในแหล่งปลูก วงจรของโรคเริ่มจากเข้าทำลายจนสร้างสปอร์ใหม่ ภายในเวลา 60-72ชั่วโมง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่ความชื้นสูง อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-320ซเชื้อราสามารถเข้าทำลายข้าวโพดได้หลายครั้งในแต่ละฤดูจากสปอร์ใหม่ที่เกิดขึ้นแพร่กระจายไปกับลมและฝน แล้วเข้าทำลายข้าวโพดอีกหลายรอบ เชื้อราสามารถมีชีวิตได้ในใบข้าวโพดนานถึง 8 เดือนและมีชีวิตในเมล็ดข้าวโพดได้นานกว่า 1 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าหญ้าเดือยเป็นพืชอาศัยของเชื้อราชนิดนี้ ศิวิไล(2544)ศึกษาพบว่าโรคนี้ในประเทศไทยมี mating type 2 แบบ คือ M1-1 และ M1-2กระจายอยู่ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน อาจพบในแหล่งปลูกเดียวกันเชื้อราที่แยกจากใบข้าวโพดที่เป็นโรคสามารถเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อ
การป้องกันกำจัด
1.) ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่สมบูรณ์ปราศจากโรค
2.) หมั่นตรวจไร่อยู่เสมอตั้งแต่ระยะกล้าเมื่อพบโรคเริ่มระบาดให้ถอนแล้วเผาทำลายจากนั้นใช้สารเคมีไตรโฟรีน20 (ซาพรอล) อัตรา 60 ซซ. ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นสามารถป้องกันกำจัดโรคได้
3.) ทำลายพืชอาศัยของโรค เช่น หญ้าเดือย (Rottboellia exaltata)
4.) ทำลายเศษซากของข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวเพราะจากการศึกษาพบว่าเชื้อราสามารถอยู่ข้ามฤดูบนเศษซากของข้าวโพดได้
5.) ปลูกพันธุ์ต้านทานต่อโรค เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ2
โรคใบไหม้แผลใหญ่ (Northern corn leaf blight)
ในปี พ.ศ. 2507 กรมกสิกรรมและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รายงานว่า พบการระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยทุกปี และปี พ.ศ. 2517 สาขาโรคพืชไร่ กองวิจัยโรคพืช สำรวจพบการระบาดของโรครุนแรงในเขตท้องที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันมีการระบาดของโรค พบในข้าวโพดสายพันธุ์แท้บางพันธุ์ และลูกผสมที่อ่อนแอต่อโรคนี้ การปลูกข้าวโพดแซมในไม้ยืนต้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคทางใบระบาดมาก
ลักษณะอาการ
จะเกิดได้ทุกส่วนของลำต้นข้าวโพดโดยเฉพาะบนใบ นอกจากนั้นจะพบที่กาบใบ ลำต้น และฝัก โดยเกิดเป็นแผลมีขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลแผลมีลักษณะยาวตามใบ หัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวย แผลมีขนาดระหว่าง 2.5-20 เซนติเมตร แผลที่เกิดบนใบอาจเกิดเดี่ยวๆ หรือหลายแผลซ้อนร่วมกันขยายเป็นขนาดใหญ่ ถ้าแผลขยายรวมกันมากๆจะทำให้ใบแห้งตายได้ ในสภาพไร่พบที่ส่วนล่างของข้าวโพดก่อนแล้วอาการของโรคจะพัฒนาไปส่วนบนของต้นข้าวโพด เมื่อมีความชื้นสูงเชื้อราสร้างสปอร์สีดำบนแผลและขยายออกเห็นเป็นวงชั้น โรคนี้พบได้ตลอดฤดูเพาะปลูก พันธุ์อ่อนแออาการรุนแรงทำให้ผลผลิตลดลงได้ ถ้าเข้าทำลายพืชก่อนออกดอกทำให้ผลผลิตสูญเสียมาก แต่ถ้าเข้าทำลาย 6-8 สัปดาห์หลังจากข้าวโพดออกดอกแล้วไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตการศึกษาความเสียหายจากโรคนี้ในข้าวโพดพันธุ์ลูกผสมควรทำการประเมินภายใน 3-6 สัปดาห์หลังการออกดอก
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Bipolaris turcica (Pass.) Shoemaker. มีชื่อเดิม Helminthosporium turcicum Pass. เมื่อความชื้นสูงและอากาศเย็นประมาณ 18-27oซ โรคระบาดได้ดี สปอร์มีสีเขียวอมเทา ยาวเรียวหัวท้ายแหลม ส่วนกลางกว้างโค้งเล็กน้อย มีผนังกั้น 3-8 เซลล์ มีขนาดระหว่าง 20x105 ไมครอน มีฐานสปอร์สีเข้มชัดเจน การงอกออกทางปลายของสปอร์ ก้านชูสปอร์สีเขียวมะกอกมีผนังกั้น 2-4 เซลล์ มีขนาดระหว่าง 7-9x150-250 ไมครอน
การอยู่ข้ามฤดูในเศษซากพืชเป็นรูปของสปอร์ผนังหนา (chlamydospore) สปอร์สามารถปลิวไปตามลมได้ในระยะไกล เมื่อเข้าทำลายข้าวโพดจะสร้างสปอร์อีกมากมายระบาดยังต้นอื่นๆต่อไป
การแพร่ระบาด
เชื้อราจะสร้างสปอร์บนแผลเก่าๆ และสปอร์ก็จะแพร่ไปโดยลม ฝน เมื่อมีความชื้นสปอร์จะงอกเข้าทำลายใบข้าวโพดและแสดงอาการของโรคในส่วนอื่นๆต่อไป สปอร์ของเชื้อจะสร้างขึ้นจำนวนมากภายใต้สภาพความชื้นสูง อุณหภูมิค่อนข้างเย็นระหว่าง 18-27oซ ถ้าโรคเข้าทำลายก่อนออกไหมทำให้ผลผลิตลดได้ถึง 50% แต่ถ้าเข้าทำลายหลังออกไหมแล้ว 6 สัปดาห์ มีผลกระทบต่อผลผลิตน้อย เชื้อราสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากพืช
การป้องกันกำจัด ปฏิบัติเช่นเดียวกับโรคใบไหม้แผลเล็ก
1.) การปลูกพืชหมุนเวียน เผาทำลายเศษซากพืชเป็นโรค
2.) การเขตกรรมที่เหมาะสม ไม่ปลูกพืชหนาแน่นและใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดแซมไม้ยืนต้น เช่นมะม่วง ยางพารา มะละกอ เพราะมีร่มเงาทำให้โรคระบาดได้
3.) ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรค เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72
4.) ใช้สารกำจัดเชื้อรา เช่นเดียวกับโรคใบไหม้แผลเล็ก
โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม (Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot)
ในปี 2538 กลุ่มงานวิจัยโรคพืชไร่ได้ทำการสำรวจโรคข้าวโพดในแหล่งผลิตข้าวโพดที่สำคัญ ได้พบโรคนี้กับข้าวโพดสายพันธุ์แท้ (Inbred line) ที่ปลูกในจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ ขณะพืชอายุ 35-45 วัน สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวานที่ปลูกเป็นการค้ายังไม่พบโรค์
ลักษณะอาการ
พบอาการตั้งแต่ใบแรกจนถึงใบธง แผลเป็นจุดค่อนข้างกลมสีเหลืองหรือน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ (halo) ขนาดความกว้างยาวของแผลอยู่ระหว่าง 0.5 - 4.0 x 0.5 - 40.0 มม. เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่ เนื้อใบแห้งตาย หูใบแห้งเชื้อราสร้างสปอร์ผงสีดำจำนวนมาก กาบใบและกาบฝักไหม้แห้ง ฝักเน่า ผลผลิตลดประมาณ 70%
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Bipolaris zeicola (Stout). Shoemaker ชื่อเดิม Helminthosporium carbonum Ullstrup. Drechslera zeicola. (Stout) Subram. & Jain. สปอร์รูปทรงเรียวยาวเกือบเป็นรูปกระสวย สีเขียวเข้มอมน้ำตาล มีผนังกั้น 4-8 อัน ขนาดของสปอร์ 10.0 -15.0 x 32.5 -75.0 ไมครอน
การแพร่ระบาดและการป้องกันกำจัด เหมือนกับโรคใบไหม้แผลเล็ก
โรคราสนิม (Southern Rust)
ราสนิม (Rust) ของข้าวโพดในโลกมี 3 ชนิด คือ common rust (Puccinia sorghi) southern rust (Puccinia polysora) และ tropical rust (Physopella zeae) สำหรับประเทศไทยมีรายงานพบ 2 ชนิด คือ Puccinia sorghi และ Puccinia polysora แต่ที่พบมากที่สุดคือ (Puccinia polysora) โรคราสนิมจะระบาดปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ในขณะที่มีความชื้นในอากาศสูง 95-100% และมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ประมาณ 24-28 องศาเซลเซียส สภาพแวดล้อมเช่นนี้ มีความเหมาะสมต่อการเกิดโรคราสนิมมากถ้าเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอจะเป็นโรครุนแรงสภาพการระบาดรุนแรงพบเสมอที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เลย เชียงใหม่ ตาก เชื้อโรคราสนิมจะสร้างสปอร์ 2 ชนิด ชนิดแรกเรียก urediospore หรือ uredospore เพื่อสืบต่อการเป็นโรคชนิดที่สองเรียก teliospore หรือ teluetospore เพื่อทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยจะได้ยังคงมีชีวิตอยู่รอดข้ามฤดู
ลักษณะอาการ
อาการของโรคจะเกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด คือ ใบ ลำต้น กาบใบ ฝัก ช่อดอกตัวผู้ โดยแสดงอาการเป็นจุดนูนเล็กๆ สีน้ำตาลแดง ขนาดของแผลประมาณ 0.2-2.0 ม.ม. แผลจะเกิดด้านบนใบมากกว่าด้านล่างของใบ เมื่อเป็นโรคในระยะแรกๆ จะพบเป็นจุดนูนเล็กๆ ต่อมาแผลจะแตกออกมองเห็นเป็นผงสีสนิมเหล็กในกรณีที่เป็นโรครุนแรงจะทำให้ใบแห้งตายในที่สุด
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Puccinia polysora Underw. สปอร์ที่พบมากในต้นข้าวโพดเป็นโรคและแพร่ระบาดได้ดีคือ uredospore มีสีเหลืองทอง รูปร่างกลมรี มีขนาดระหว่าง 20-29x29-40 ไมครอน ผนังสีเหลืองหรือสีทองบางและเป็นหนามแหลมหนา 1-1.5 ไมครอน มีรูปร่างที่กึ่งกลาง 4-5 รู เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะสร้าง Teliospore ในการอยู่ข้ามฤดู รูปร่างกลมหรือทรงกระบอก หัวท้ายมนขนาด 18-27 x 29-41 ไมครอน ผนังเรียบ สีน้ำตาลเข้ม มี 2 เซล เกิดอยู่บนก้านชูสปอร์สีเหลืองหรือสีน้ำตาล ที่ยาวประมาณไม่เกินหนึ่งในสี่ของความยาวสปอร์ มีขนาดระหว่าง 10-30 ไมครอน สปอร์ชนิดนี้สร้างอยู่ในแผลขนาด 0.2-0.5 มม. กลมหรือกลมรีสีน้ำตาลเข้มหรือดำอยู่ใต้ผิวใบ บางครั้งจะสร้างรอบๆสปอร์แบบแรกคือ uredospore
การแพร่ระบาด
เชื้อรา P. polysora เป็นเชื้อราโรคพืชที่ต้องอาศัยพืชที่มีชีวิตหรือส่วนของพืชที่ยังมีชีวิตอยู่ เชื้อโรคจะไม่สามารถเจริญเติบโตบนเศษซากพืชที่ตายแล้วได้ ดังนั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจะแพร่ออกไปจากแผลที่ใบ แผลที่กาบใบ และเปลือกหุ้มฝัก เมื่อเชื้อปลิวไปตกมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับเชื้อโรคจะทำให้ข้าวโพดเป็นโรคได้ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมนั้นเหมาะสมแต่ไม่มีต้นข้าวโพดในแปลงหรือในไร่ เชื้อโรคเข้าทำลายอาศัยพืชอื่นซึ่งเป็นพืชอาศัยของเชื้อโรคอยู่ข้ามฤดู และเมื่อมีการปลูกข้าวโพดขึ้นมาเชื้อจะปลิวจากพืชอาศัยกลับมาที่ข้าวโพดได้อีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป สปอร์เชื้อโรคราสนิมสามารถปลิวไปได้ไกลๆมาก ดังนั้นบางครั้งเราจะไม่พบพืชบริเวณไร่เป็นโรคราสนิมเลย แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมและข้าวโพดนั้นเป็นพันธุ์อ่อนแอ จะพบโรคราสนิมระบาดรุนแรงได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของ uredospore คือ 23-28oซ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 13oซ และสูงกว่า 30oซ การงอกของสปอร์จะลดลง ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือความชื้นบนผิวใบที่ช่วยให้สปอร์งอกเข้าทำลายพืชได้สำเร็จ
การป้องกันและกำจัด
1.) หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดพันธุ์อ่อนแอ โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดข้าวเหนียว
2.) กำจัดวัชพืชและทำลายต้นพืชที่เป็นโรค โดยการเผาต้นที่เป็นโรค
3.) หมั่นตรวจไร่อยู่เสมอตั้งแต่ระยะกล้าเมื่อเริ่มพบโรคระบาดมีจุดสนิม 3-4 จุดต่อใบให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีไดฟิโนโคนาโซล (สกอร์) 250 อีซี หรือ ในอัตรา 20 ซี.ซี. หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน จำนวน 2 ถึง 4 ครั้ง ตามความรุนแรงของโรค
4.) ฤดูหนาวในแหล่งที่โรคระบาดควรปลูกพันธุ์ต้านทานโรคหรือปลูกพืชอื่นแทนข้าวโพด
โรคกาบและใบไหม้ (Banded Leaf and Sheath Blight)
โรคกาบและใบไหม้ของข้าวโพด มีรายงานการพบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่จังหวัดสระบุรี จากนั้นพบแพร่ระบาดไปหลายจังหวัด เช่น นครสวรรค์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ตาก กาญจนบุรี เชียงใหม่ และนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญ ปัจจุบันโรคกาบและใบไหม้เริ่มมีความสำคัญเพราะมีการระบาดทำความเสียหายรุนแรงกว้างขวางมากขึ้น
ลักษณะอาการ
โรคเกิดได้กับส่วนต่างๆของข้าวโพดเช่น ลำต้น ใบ กาบใบ กาบฝัก และฝัก อาการที่พบบนส่วนต่างๆของพืชมีรายละเอียดดังนี้ในระยะกล้าทำให้ต้นกล้าเน่าหักพับล้มลงทั้งที่ส่วนยอดยังเขียวอยู่ โคนต้นระดับคอดินมีรอยฉ่ำน้ำสีเขียวอมเทา อาจพบเส้นใยสีขาวเจริญปกคลุมที่รากถ้าในพันธุ์ที่ค่อนข้างอ่อนแอมักพบโรค ในสภาพไร่ในระยะอายุ 40-50 วัน คือก่อนออกดอก ถ้าโรคเกิดกับพืชอายุน้อยเนื่องจากเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอมากอาการไหม้รุนแรงมาก เพราะเนื้อเยื่ออ่อนอวบน้ำและมีการตายของส่วนยอดเจริญด้วย
อาการบนใบ
ในสภาพธรรมชาติพบในใบล่างใกล้ผิวดินที่ห้อยลง ถ้าโรคแพร่ระบาดจากกาบใบขึ้นไป อาการของโรคจะปรากฏชัดบนโคนใบถึงกลางใบ โดยปกติพบอาการโรคที่กาบใบมากเพราะมีความชื้นมากกว่า แต่อาการไหม้รุนแรงมักเกิดขึ้นที่ใบ อาการเริ่มแรกของโรคคือ แผลฉ่ำน้ำ รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-3 เซนติเมตร ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีซีดจาง หรือสีฟางข้าว ขยายไปตามทางยาวของใบข้าวโพดเมื่อแสงแดดจัดความชื้นน้อยเชื้อราก็จะหยุดการเจริญ แผลจึงเห็นเป็นใบแห้งเหมือนแดดเผา มีขอบสีน้ำตาลขวางตามใบเป็นชั้นๆ เมื่อถึงเวลากลางคืนอากาศเย็นความชื้นสูง แผลก็ขยายไหม้ลามต่อไปตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อรา ใบข้าวโพดที่เป็นโรคนี้จึงเห็นเป็นลายคราบขอบตามขวางของใบเป็นชั้นคล้ายคราบงู ส่วนกาบใบล่างเป็นโรคจะเหลือง ใบอ่อนม้วนเข้าข้างใน แห้งตายก่อนแก่และมีสีเขียวแกมเทาเป็นมัน
อาการบนกาบใบ
โดยทั่วไปอาการคล้ายกับที่เกิดบนใบ กล่าวคือจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอนที่ทั้งด้านหน้าและหลังของโคนกาบใบ ต่อมาจุดเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในข้าวโพดพันธุ์ต้านทานเช่นพวก inbred line บางพันธุ์แผลจะถูกจำกัดไม่ขยายกว้างออกและมีขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ในข้าวโพดพันธุ์อ่อนแอ แผลจะขยายปกคลุมทั่วทั้งกาบใบ อาการเป็นแถบอาจพบหรือไม่พบก็ได้
อาการบนลำต้น
เชื้อสาเหตุทำให้เกิดจุดหรือแผลบนเปลือกของลำต้นซึ่งอยู่ใต้กาบใบที่เป็นโรคแผลเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ แผลอาจเกิดผิวยุบตัวลงในเปลือก และขยายตัวบนข้อที่สี่หรือห้านับจากโคนต้นขึ้นมา ปกติแผลขยายรวมกันทางด้านข้างของปลายแผลแต่ละแผล ขนาดของแผลเดี่ยวประมาณ 2-10x3-15 มิลลิเมตร จนถึงปกคลุมทั่วทั้งข้อ บางครั้งแผลแห้งเป็นสะเก็ดน้ำตาลเข้ม ภายใต้สภาพแวดล้อมเหมาะสมความชื้นสูง อากาศเย็น เชื้อราเข้าทำลายภายในลำต้นข้าวโพดเป็นเหตุให้ลำต้นภายในเปราะและถูกลมพัดหักง่าย
อาการบนฝัก
ฝักข้าวโพดได้รับเชื้อจากกาบใบที่เป็นโรค อาการเริ่มแรกจากส่วนล่างของกาบฝักชั้นนอกสุด ซึ่งติดกับกาบใบที่ฝักแทงออกมา ลักษณะของแผลต่างกับแผลซึ่งเกิดกับส่วนอื่นๆ กล่าวคือแผลบนกาบฝักจะกระจายตัว และอาการเป็นแถบจะเห็นชัด ความรุนแรงของโรคบนฝักขึ้นอยู่กับช่วงระยะการเจริญเติบโตของฝัก เมื่อได้รับเชื้อโรคอาการฝักเน่าแบ่งได้เป็นสามแบบคือ
ในกรณีโรคเชื้อราเข้าทำลายก่อนออกฝัก ฝักก็จะไม่เจริญเติบโต กาบที่หุ้มฝัก ไหม้แห้งตาย ถ้าเชื้อราเข้าทำลายถึงก้านฝักหลังออกฝักแล้ว เส้นใยไหมตรงปลายฝักจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เน่ารวมกันเป็นก้อนแข็งที่เกสรตัวผู้จะไม่สามารถเข้าผสมได้
ถ้าเกิดโรคในระยะติดเมล็ดทำให้เมล็ดลีบ ด้านแบนของเมล็ดจากฝักเป็นโรคนี้มี แผลรูปเกือกม้าสีน้ำตาลแดง (horse-shoe shaped lesion) ซึ่งลักษณะอาการนี้ใช้วินิจฉัยโรคได้
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani Kuhn. f.sp.sasakii Exner. ระยะสมบูรณ์เพศมีชื่อว่า Thanatephorus sasaki (Shirai) Tu & Kimbro. เชื้อราชนิดนี้ไม่สร้างสปอร์ เส้นใยสีขาว เมื่อแก่เต็มที่เส้นใยจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม อัดแน่นรวมตัวเป็นเม็ด sclerotia รูปร่างไม่แน่นอนใช้ในการอยู่ข้ามฤดูในดิน บนเมล็ด และเศษซากพืช การจัดกลุ่มอยู่ในพวก anastomosis group AG-1 คือเส้นใยมาเชื่อมต่อกัน ในแต่ละเซลล์มีนิวเคลียสหลายอัน ตั้งแต่ 5-7 อัน เส้นใยเจริญเติบโตได้รวดเร็ว เฉลี่ยวันละ 30 มม. ที่อุณหภูมิ 20-30 oซ เส้นใยที่เข้าทำลายพืชมีขนาดสั้นกว่าปกติแตกแขนงมาก เส้นใยปกติลักษณะตรงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 3-17 ไมครอน ใสไม่มีสี เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเพราะสะสมเมลานินที่ผนังเซลล์ สร้าง sclerotia ชนิด sasaki type
การแพร่ระบาด
สาเหตุของการทำให้เกิดโรคเกิดขึ้นและแพร่ระบาดคือเม็ด sclerotia ของเชื้อสาเหตุซึ่งอยู่ในดินและซากหญ้าพืชอาศัยที่ขึ้นอยู่บริเวณใกล้เคียงข้าวโพด การระบาดโดยการสัมผัสของใบที่เป็นโรคกับส่วนต่างๆ ของต้นปกติ เมื่ออุณหภูมิเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุอยู่ที่ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์หรือพบการเกิดโรคน้อย
การป้องกันกำจัด
1.) ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่สมบูรณ์และปราศจากโรค
2.) หมั่นตรวจไร่อยู่เสมอในระยะต้นข้าวโพดอายุได้ 40-50 วัน เมื่อพบโรคระบาดให้ถอนและเผาทำลายในระยะออกฝัก หากพบฝักเป็นโรคมีเมล็ดเชื้อราสาเหตุลักษณะคล้ายเม็ดผักกาด เมื่อเก็บไปทำลายพยายามอย่าให้เม็ดเชื้อราร่วงหล่นในแปลงเนื่องจากสามารถแพร่โรคต่อไป
3.) ทำลายเศษเหลือของต้นข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวแล้ว และก่อนปลูกฤดูต่อไปให้ไถพลิกดินขึ้นมาตากแดดหลายๆ ครั้ง เติมอินทรียวัตถุในแปลงปลูก เตรียมดินให้มีการระบายน้ำดี
4.) หลีกเลี่ยงการปลูกพืชหนาแน่น ลดการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชอาศัยโรค พืชอาศัยของโรคนี้ได้แก่ ข้าว,ถั่วเหลือง,ถั่วลิสง,ถั่วต่างๆ และอ้อย
5.) การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคมีรายงานว่า carbendazim, benodanil, validamycin, Topsin M และ Rhizolex สามารถควบคุมโรคได้ การใช้สารปฏิชีวนะจิงกัง มัยซิน ในประเทศจีนก็มีรายงานว่าให้ผลดี
6.) เพิ่มอินทรียวัตถุในแปลงปลูก และเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น Trichoderma harzianum, T.viride หรือ Bacillus subtilis จุลินทรีย์เหล่า นี้สามารถเจริญแข่งขันและย่อยสลายเส้นใยของเชื้อรา R. solani f. sp. sasakii สาเหตุโรคนี้ได้
โรคใบจุด (Leaf Spot)
โรคใบจุดนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่งมักพบเห็นทั่วไปในแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพดยังไม่มีรายงานว่าผลผลิตของข้าวโพดลดลงจากความเสียหายของโรคนี้
ลักษณะอาการ
อาการของโรคส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นบนใบ แต่บางครั้งอาจพบบนกาบใบและฝักด้วยระยะแรกเกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มม. ต่อมาตรงกลางจุดจะแห้งมีสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลแดง ในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ ขนาด 1 ซม.มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง พบเมื่ออากาศร้อนชื้น
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Curvularia lunata (Wakker) Boed. var. aeria. สปอร์สีน้ำตาลอ่อน รูปร่างตรงหรือโค้ง ปลายเรียว มีสี่เซลล์โดยเซลล์ตรงกลางมีขนาดใหญ่สุด มีสีเข้มกว่าหัวท้าย มีฐานสปอร์ชัดเจน ขนาดระหว่าง 18-32 x 8-16 ไมครอน
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถแพร่ระบาดได้โดยลม ฝน หรือติดไปกับเมล็ด
การป้องกัน
1.) ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่ปลอดจากโรค
2.) ใช้พันธุ์ต้านทานโรคปลูก เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 5
3.) หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง และปลูกพืชหนาแน่น โรคจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)โรคจุดสีน้ำตาล
เคยมีรายงานว่าระบาดรุนแรงในต่างประเทศมาแล้ว เช่น อเมริกากลางและเนปาล ในประเทศไทยพบเห็นโรคนี้โดยทั่วไป แต่ไม่มีการระบาดของโรค
ลักษณะอาการ
เกิดขึ้นบนใบ กาบใบ และลำต้น บริเวณที่ต่ำกว่าฝัก อาการบนใบเกิดเป็นจุดกลมหรือรี สีเหลือง ปกติมีขนาดเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร จุดมักจะรวมตัวกันเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นจุดที่เกิดขึ้นครั้งแรกจะมีสีเขียวเหลือง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง อาการบนเส้นกลางใบ กาบใบ เปลือกหุ้มฝัก และลำต้น แผลขยายรวมกันมีขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งเป็นเหลี่ยมถึง 5 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลอมม่วง ต่อมาเมื่ออายุมากขึ้นแผลกลายเป็นปื้นบนใบและตามความยาวของเส้นกลางใบ เมื่อกาบใบแห้ง เนื้อเยื่อจะแตกออกทำให้เห็นผงสปอร์สีน้ำตาลของเชื้อรา ถ้าโรครุนแรงลำต้นเน่าหักล้มได้
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Physoderma maydis Miyabe ชื่อเดิม P. zeae-maydis Shaw สร้าง sporangia ใน pustule สีน้ำตาล กลม นูน ขนาด 18-24 x 20-30 ไมครอน การงอกออกมาต้องมีแสงจึงสามารถปล่อย zoospore ออกมาประมาณ 20-50 สปอร์มีขนาดระหว่าง 3-4x5-7 ไมครอนมี flagella ยาว 3-4 เท่าของความยาวสปอร์ zoospore งอกออกเป็นเส้นใยกลุ่มบางๆ ไม่มีผนังกั้น
การแพร่ระบาด
เชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ได้บนเศษเหลือของพืชที่ตกอยู่ในดิน สปอร์สามารถที่จะแพร่ระบาดไปได้โดยลม ฝนและแมลง การเข้าทำลายพืชเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูง น้ำค้างแรง โดยเข้าทำลายทางรูเปิดตามธรรมชาติของใบหรือทางยอดอ่อนบริเวณ mesophyll เมื่ออุณหภูมิระหว่าง 23-30oซ สามารถสร้าง sporangia ภายใน16-20วันแล้วแพร่กระจายเข้าทำลายพืช
การป้องกัน
1.) ไถกลบเศษเหลือของพืชหลังเก็บเกี่ยว เขตกรรมที่ดีการระบายน้ำดี
2.) ปลูกข้าวโพดพันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72
3.) หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูง และปลูกพืชหนาแน่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น