วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มะเขือเทศหวาน ซุปเปอร์สวีท 100 (Super Sweet 100 Cherry Tomato)


              มะเขือเทศเชอรี่หวาน ซุปเปอร์ สวีท 100 เป็นมะเขือเทศเชอรี่สายพันธุ์ดั่งเดิมที่คนยุโรป และอเมริการู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยความหวานประมาณ 7 - 8 Brix  ถึงแม้ว่ามะเขือเทศ ซูปเปอร์ สวีท 100 นี้จะมีความหวานและสีที่ไม่เข้มเท่ากับมะเขือเทศ สายพันธุ์น้องใหม่จากญี่ปุ่นอย่าง "ซันเชอรี่" ก็ตาม แต่ด้วยปริมาณผลผลิตที่มีมากกว่ามะเขือเทศเชอรี่หวานสายพันธุ์อื่นๆ (เฉลี่ยมากกว่า 100 ลูกต่อต้น) ทำให้มะเขือเทศซุปเปอร์ สวีท 100 ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานมาจนถึงปัจจุบันนี้




วิธีการเพาะเมล็ด
1. การเพาะเมล็ดมะเขือเทศ
         นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ


2. การเพาะกล้า
 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ) 

 นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ

 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร

 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ


3. การย้ายกล้า
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
1. หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อน  ปลูกอย่างน้อย 1 วัน

2. ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่ม และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช

3.  ควรย้ายกล้าในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด

4.  หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า

5. ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต (ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย)

6.  เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้นกลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า


การตัดแต่งมะเขือเทศ
สำหรับมะเขือเทศหวาน ซุปเปอร์ สวีท 100 จะมีจำนวนผลต่อกิ่งประมาณ 20 - 30 ลูก แต่เพื่อความสมบูรณ์ของผลเราจึง ควรมีการจำกัดจำนวนผลใน 1 ช่อ โดยการตัดผลส่วนปลายออกบางส่วน    คงเหลือไว้ 10 -15 ผลต่อช่อ เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่ มีสม่ำเสมอ และได้ความหวานสูงสุด


ขั้นตอนการตัดแต่งแขนง
มะเขือเทศควรมีการตัดแต่งและเด็ดแขนงด้านข้าง และใบแก่ด้านล่างที่ต่ำกว่าช่อดอกออก (ตามภาพด้านล่าง) เพื่อทำให้ต้นพืชมีการระบายอากาศได้ดี ซึ่งช่วยลดการเข้าทำลายของโรค  และควรเด็ดแขนงด้านข้างก่อนยาวมากกว่า 5 ซม. ควรตัดแต่งในช่วงตอนเช้า เพื่อให้แสงแดดช่วยในการปิดบาดแผล และต้นพืชสามารถรักษาแผลได้เร็ว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคผ่านทางบาดแผล  หลังจากต้นมะเขือสูงได้ประมาณ 1.8 ม. ให้ตัดยอดต้นมะเขือออกด้วย เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากด้านบนคุณภาพจะเริ่มลดลง
 

หมายเหตุ  กิ่งแขนงหรือลำต้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมะเขือเทศสามารถนำมาปลูกต่อได้โดยการนำกิ่งนั้นไปแช่น้ำประมาณ 7 - 10 วันจะเริ่มมีรากงอกออกมาจากกิ่งนั้น หลังจากนั้นสามารถนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อได้โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดใหม่



ขั้นตอนการผสมดอก
1. ในโรงเรือน การผสมเกสรของมะเขือเทศจะอาศัยผึ้งในการผสมเกสร โดยผึ้งจะถูกนำมาใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มเกิดดอกแรก

2. ถ้าไม่ใช้ผึ้ง การผสมเกสรจะสามารถทำได้โดยการเขย่าดอก โดยทำการเขย่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ:
เมื่ออุณภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 C และต่ำเป็นช่วงเวลายาวระหว่างกลางวัน จะทำให้มะเขือเทศลดจำนวนและความมีชีวิตของเกสรลง ถ้าไม่มีเกสรก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้ผึ้งหรือการเขย่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนจึงถูกนำมาใช้  ฮอร์โมนที่ใช้ช่วยให้ติดผลได้ แต่การใช้ฮอร์โมนช่วยในการติดผล จะส่งผลทำให้รูปร่างผลผิดปกติด้วย


อายุการเก็บเกี่ยว

ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
1. Cherry type   40-50 วันหลังย้ายกล้า
2. Seda type     50-60 วันหลังย้ายกล้า
3. Processing , Roma , Table type   60-75 วันหลังย้ายกล้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น