วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

กะหล่ำปลีม่วง, กะหล่ำปลีแดง (Purple & Red Cabbage)


กะหล่ำปลีสีม่วง (Purple Cabbage)  เป็นพืชล้มลุกสองปี มีลักษณะคล้าย กะหล่ำปลีธรรมดา แต่มีสีม่วงหรือแดง (ตามชนิดและสายพันธุ์ เนื่องจากใบมีสาร Anthocyanin จำนวนมาก ลักษณะลำต้นสั้นมาก ใบเดี่ยวสีแดง หนา และมีนวล ใบเรียงตัว สลับซ้อนกันแน่นหลายชั้น เรียงแน่น หัวกลมหรือค่อนข้างกลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน กะหล่ำปลีแดงสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะโป่ง และร่วนซุย มีความชื้นในดิน และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6-6.5

อุณหภูมิ สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของกะหล่ำปลีแดงนั้นอยู่ระหว่าง 15-20′C หากอุณหภูมิสูงกว่า 25′C อัตราการเจริญและผลผลิตจะลดลง อย่างไรก็ตามระดับอุณหภูมิอาจมีผลกระทบแตกต่างกันบ้าง เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก ระยะที่กะหล่ำปลีต้องการน้ำมากที่สุ ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลีและระยะการเจริญเติบโตเต็มที่

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีแดง
กะหล่ำปลีม่วง เป็นพืชที่มีใยอาหารสูง และอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน (สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยก มาจาก trytophan; กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึง สองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อ มะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอล ละช่วยงับประสาท ทำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสดๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตาม กะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควร กินกะหล่ำปลีสดๆ วันละ 1 - 2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป
กะหล่ำปลีม่วง นิยมรับประทานสด เช่น ในสลัด หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหาร ไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำปลีในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมกล้า เพาะกล้าแบบประณีตในถาดหลุม หรือเพาะในแปลงก็ได้ อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากเพาะในแปลง ควรมีตาข่าย กันฝนกระแทก และควรใช้ไตรโครเดอร์มา คลุกวัสดุเพาะเพื่อป้องกันโรคโคนเน่า หากไม่ได้เพาะในวัสดุปลูกสำเร็จรูป และฉีดพ่น เซฟวิน ปัองกันมด แมลง ทำลายเมล็ดพันธุ์

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน โรยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม.

การปลูก ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร สำหรับฤดูฝนให้แปลงสูงกว่าปกติ 30-35 ซม. เพื่อการระบายน้ำ รองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ตร.ม. ระยะปลูก ฤดูฝน และฤดูหนาว 40×40 ซม. ฤดูแล้ง 40×30 ซม.

การให้น้ำ ใช้สปริงเกอร์
การให้ปุ๋ย ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย เมื่อย้ายปลูกได้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 และ 21-0-0 อย่างละ 20-25 กรัม/ตร.ม. และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 25-30 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อเริ่มเข้าหัว มีอายุ 45-50 วัน พร้อมกำจัด วัชพืช แล้วพ่นสารเคมีป้องกันศัตรูพืช ถ้ามีพบการเข้าทำลายของศัตรูพืช
ข้อควรระวัง
  1. ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ฝนตกชุก และมีน้ำขัง แสงแดดน้อย
  2. เป็นพืชที่้ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก หากปุ๋ยไม่เีพียงพอจะทำให้อายุการเจริญเติบโตยาวนานมากขึ้น

การเก็บเกี่ยว อายุ 80 - 100 วัน ตามฤดูกาล และสายพันธุ์

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำปลีแดงในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

ระยะกล้า 18-21 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, โรคโคนเน่า, ด้วงหมัดผัก, เพลี้ยอ่อน,
ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าดำ, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,
ระยะเข้าหัว 60-90 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,
ระยะโตเต็มที่ 90-10 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคเน่าเละ, โรคเน่าดำ, หนอนใยผัก, หนอนเจาะยอดกะหล่ำ, เพลี้ยอ่อน, หนอนคืบกะหล่ำ, หนอนกระทู้,ิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น