ข้าวโพดฝักอ่อน หรือข้าวโพดหวาน เป็นพืชอยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวาน บรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวานข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป
ฤดูปลูก
ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน
อุณหภูมิที่เหมาะสม
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง
การเตรียมแปลงปลูก
การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ
การปลูกข้าวโพดหวาน
ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที
การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน
- การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
- การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
- การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
- การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
- การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล
เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมื่อมีใบจริงครบ 7 คู่ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมา จากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งโดยใช้มือหนึ่งจับลำ ต้นไว้ อีกมือหนึ่งจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆการถอดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสร เพราะถ้ามีการผสม เกสรเกิดขึ้นข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโป่งพอง และทำ ให้ข้าวโพดไม่ได้ มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การถอดยอดยังช่วงเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยัง ช่วยให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเพิ่มขึ้นด้วย การถอดยอดเป็นเทคนิคสำ คัญที่เกษตรกรไม่ควรละเลยเพื่อ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม (Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ
1. สังเกตจากไหม เริ่มโผล่พ้นปลายฝัก มีความยาว 1-2 เซนติเมตร จะเป็นช่วงที่เหมาะสมใน การเก็บเกี่ยวที่สุด
2. เก็บเกี่ยวจากฝักบนสุดเป็นฝักแรก และฝักอื่นๆ ถัดตํ่าตามลงมา การหักฝักควรหักให้ติดลำ ต้นไปด้วย เพราะจะทำ ให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้ว
3. เก็บเกี่ยวทุกวัน เพื่อมิให้ฝักแก่เกินไป
4. ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีความชำ นาญ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนแต่ละพันธุ์ จะมีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่ 40-60 วัน เกษตรกรจึงควรเก็บตัวอย่างข้าวโพดที่มีไหมยาวแตกต่างกัน มากรีดดูรูปร่างและขนาดของฝัก จะทำ ให้รู้ว่า ควรเก็บฝักตอนที่ไหมยาวขนาดไหน
5. การเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อต้น เกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่องจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์ ไม่ได้คุณภาพส่งออก การเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนในระยะเวลาถูกต้อง เป็น หัวใจสำ คัญของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คุณภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับช่วงนี้ หากเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง เช่น ช้าไป ไหมโผล่ยาวจากฝักมากจะได้ฝักที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานความต้องการของโรงงานหรือผู้ ส่งออกฝักสด ซึ่งต้องคัดออกเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง
มาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน
เพื่อจะผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่มีคุณภาพดี เกษตรกรจะต้องรู้มาตรฐานและคุณภาพของข้าวโพด ฝักอ่อนที่ผู้ซื้อต้องการ ขนาดของข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม จำ แนกเป็น 3 เกรด คือ
1. ขนาดฝักยาว 9 - 13 ซม. (L),
2. ขนาดฝักยาว 7-9 ซม. (M),
3. ขนาดฝักยาว 4-7 ซม. (S)
* ส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตเกรด S, M มากกว่า L
การรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
1. เมื่อเก็บฝักข้าวโพดฝักอ่อนแล้ว เกษตรกรควรรีบนำ เข้าที่ร่ม หรือโรงเรือนที่มีการระบาย อากาศที่ดี พยายามจัดวางให้ผลผลิตได้ระบายความร้อน ไม่ควรเก็บข้าวโพดฝักอ่อนไว้เป็นกองสูงๆ และไม่ควรทิ้งไว้หลายวัน ถ้าเป็นไปได้ควรนำ มาลอกเปลือกออกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
2. ในการขนส่งควรทำ โดยเร็วที่สุด และไม่กองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน หรือพื้นรถบรรทุกโดยตรง ควรใส่ในภาชนะ ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว ควรบรรจุในกล่องกระดาษ หรือตะกร้าพลาสติกที่มี รูระบายอากาศ
3. การปอกเปลือกข้าวโพดอ่อน ต้องกรีดไม่ให้เกิดบาดแผล ลอกไหมให้เกลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ เช่น มีด ภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด
4. ทำ ความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อราตามที่ต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และทำ ความสะอาดห้องเก็บรักษาในรูปของแก๊สหรือใช้สาร ละลายที่ฆ่าเชื้อโรคภายนอก เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในนํ้าฉีดพ่นหรือใช้โซเดียว ไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น
3. การปอกเปลือกข้าวโพดอ่อน ต้องกรีดไม่ให้เกิดบาดแผล ลอกไหมให้เกลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ เช่น มีด ภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด
4. ทำ ความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อราตามที่ต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และทำ ความสะอาดห้องเก็บรักษาในรูปของแก๊สหรือใช้สาร ละลายที่ฆ่าเชื้อโรคภายนอก เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในนํ้าฉีดพ่นหรือใช้โซเดียว ไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น
5. สำ หรับผู้ส่งออก ควรลดอุณหภูมิข้าวโพดฝักอ่อนที่มาจากแปลงปลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำ ได้ วิธีที่นิยมใช้คือ การอัดลมเย็น (forced-air cooling) จะทำ ให้ลดการระบาดของการเน่า ลดการสูญเสีย นํ้าและความหวาน ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
6. อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้น สัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
7. การบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม ไม่บรรจุมากเกินไปในกล่องเดียวกัน การเก็บรักษาในถาดโฟมที่ หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะช่วยป้องกันผลผลิตให้คงมีคุณภาพดี
6. อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้น สัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
7. การบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม ไม่บรรจุมากเกินไปในกล่องเดียวกัน การเก็บรักษาในถาดโฟมที่ หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะช่วยป้องกันผลผลิตให้คงมีคุณภาพดี
8. หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลหรือความชอกชํ้าบนฝัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปอกเปลือกตลอดจนการ บรรจุหีบห่อ การขนส่งและการปฏิบัติอื่น ๆ หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำ ให้ง่ายต่อการที่เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น
เพิ่มเติม
- http://www.youtube.com/watch?v=eR1OcCGm50s การปลูกข้าวโพดอ่อน (เกษตรนำไทย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น