วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กะหล่ำดอกสีเขียว (Green Cauliflower)



กะหล่ำดอก มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นผักประเภทอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5 - 1.20 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน

          กะหล่ำดอกเป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว, เหลืองอ่อน, เขียว, ม่วง แล้วแต่ชนิดและสายพันธุ์ โดยดอกจะอัดตัว กันแน่น

          ปัจจุบันนิยมนำดอกกะหล่ำมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับภัตตาคาร ระดับโรงแรม หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงตามครัวใหญ่ครัวเล็กของบ้านต่างๆ เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากเนื่องจาก มีรสชาติ อร่อย กรอบหวาน มีสีดอกเหลืองอ่อนน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัด แกง ใส่ก๋วยเตี๋ยวหรืออื่นๆ อีกมากมาย กะหล่ำดอกเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ไม่ค่อยเสียหายระหว่างขนส่ง เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ

สายพันธุ์ของกะหล่ำดอก


สามารถแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ 3 กลุ่มตามขนาดและอายุในการปลูก โดยปกติจะนิยมปลูกกะหล่ำดอกในเขตหนาวสำหรับพันธุ์หนัก และนิยมปลูกพันธุ์เบาและพันธุ์กลางในเขตร้อน ตัวอย่างของกะหล่ำดอกแบ่งออกได้ ดังนี้
1. พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือ ประมาณ 60-75 วัน ได้แก่ 
- พันธุ์ Early snowball มีอายุการ เก็บเกี่ยว ประมาณ 60-75 วัน 
- พันธุ์ Burpeeana  มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 58 - 60 วัน
- พันธุ์ Snow drift  มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 63-78 วัน

2. พันธุ์กลาง เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ ประมาณ 80-90 วัน ได้แก่ 
- พันธุ์ Graffiti Purple (กะหล่ำดอกม่วง) มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 75 - 85 วัน
- พันธุ์ Snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน 
- พันธุ์ Halland erfurt improve มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน 
- พันธุ์ Cauliflower main crop snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน

3. พันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 90-150 วัน ได้แก่ 
- พันธุ์ Winter มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน 
- พันธุ์ Putna มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน

          นอกจากกลุ่มพันธุ์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และยุโรป บางประเทศได้แก่

1. พันธุ์ไวท์ คอนเทสซ่า ไฮบริด (White contessa hybrid, Sakata) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 500 กรัม เนื้อแน่น ใบมีสีเขียวเข้มและเรียบ เป็นพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้เป็นอย่างดี

2. พันธุ์ฟาร์มเมอร์ เออลี่ ไฮบริด (Farmer early hybrid, Know-you) เป็นกะหล่ำดอกพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 1 1/2 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีสม่ำเสมอ

3. พันธุ์สโนว์บอลล์ เอ (Snow ball A, Takii) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว แน่นและแข็ง มีใบนอกหุ้มดอกไว้ พันธุ์สโนว์ พีค (Snow peak, Takii) เป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นสำหรับปลูกในประเทศเขตร้อนโดยเฉพาะ เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว คุณภาพดีแน่น และดอกค่อน ข้างกลม

5. พันธุ์ซุปเปอร์ สโนว์บอลล์ (Super snow ball) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มพันธุ์ Snow ball ด้วยกัน

6. พันธุ์สโนว์ คิง ไฮบริด (Snow king hybrid) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

          กะหล่ำดอก สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วน เหนียว และควรเป็นดินที่มีการอุ้มน้ำและอินทรีย์วัตถุได้ดี ตลอดจนการระบายน้ำและอากาศดีไม่ทนต่อสภาพดินเป็นกรดจัด ลักษณะ ของดินในการปลูกจะมีผลต่อคุณภาพของดอกอย่างมาก การปลูกกะหล่ำดอกในดินร่วนโปร่ง โอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก อากาศ ร้อน และแห้งแล้งมีมากกว่า ดังนั้นจะได้ดอกที่หลวมคุณภาพต่ำ ส่วนการปลูกกะหล่ำในดินเหนียวแม้ว่าจะเจริญเติบโตช้าในระยะแรก แต่การเจริญทางใบก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ดอกกะหล่ำเกาะตัวเป็นก้อนแน่นคุณภาพสูงกว่า ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรมีความ เป็น กรดเป็นด่าง ระหว่าง 6 - 6.8 และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ด้วย

          แต่เดิมนั้นการปลูกกะหล่ำดอก ต้องปลูกในฤดูหนาว ยิ่งหนาวมากยิ่งดี แต่ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าจนได้กะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ ที่ สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน เพียงแต่ให้เป็นที่ที่อากาศในเวลากลางคืนเย็นพอสมควร แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวจะดีกว่า ความ ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกอยู่ระหว่าง 15 - 20 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามหากปลูกกะหล่ำดอกในที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไปจะทำให้ดอกกะหล่ำโตช้า และยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไป


การเพาะกล้ากะกล่ำดอก

          การเตรียมแปลงเพาะกล้า ให้ไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดี แล้ว ให้มากคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยชั้นผิวดินให้ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลึกลงไปในร่องดิน ทำให้ไม่งอกหรือ งอกยาก

          หลังจากเตรียมแปลงเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วพื้นผิวแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าหว่านกล้าให้แน่น เกิน ไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินได้ หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้หว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดิน ผสม ละเอียด หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร หรือทำร่องเป็นแถวลึกประมาณ 1 1/2 – 2 เซนติเมตร หลังโรยเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แต่ละ แถว ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมละเอียดเช่นกัน หลักจากหว่านเมล็ด เรียบร้อยแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม

          เมื่อต้นกล้างอกเริ่มมีใบจริง ควรถอนแยกต้นที่อ่อนแอ ต้นไม่สมบูรณ์และขึ้นเบียดเสียดกันแน่นเกินไปออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 5-8 เซนติเมตร ช่วงนี้ควรให้ปุ๋ยพวกสารละลายสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นแก่ต้นกล้า และหมั่นตรวจดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิด จนกระทั่วเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30-40 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูกต่อไป


การเตรียมดินปลูกกะหล่ำดอก

          กะหล่ำดอก เป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินเพียงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน เก็บ เศษหญ้า เศษวัชพืชออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรละเอียดเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ยกเป็น แปลงๆ พร้อมที่จะนำต้นกล้าลงปลูก


การย้ายเกล้ากะหล่ำดอก

          เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ อายุได้ประมาณ 30 - 40 วัน โดยต้นเกล้าจะสูงประมาณ 10 - 12 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลง ไม่ควร ปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุแก่เกินไป จะทำให้รากเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายขณะทำการย้าย มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำบนแปลเพาะกล้าให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ควรเลือกย้ายกล้าในวันที่แสงแดดไม่จัด และย้ายในเวลาเย็นหรือช่วง อากาศมืดครึ้ม เพื่อหลีกเลี่ยนการคายน้ำมากเกินไปของต้นกล้า ซึ่งจะทำให้กล้าเหี่ยวตายได้  ระยะปลูกระหว่างต้นคือ 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร โดยปลูกเป็นหลุมบนแปลง หลังจากปลูกควรกลบ ดินกดบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้น เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในพื้นที่ที่มี แสงแดด จัดควรหาที่ปังแดดให้ ซึ่งอาจใช้ทางมะพร้าวคลุมไว้ประมาณ 3 - 5 วัน จึงเอาทางมะพร้าวออก



การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำดอก

1. การให้น้ำ ในช่วงแรกหลังจากย้ายปลูกไม่ต้องให้น้ำมากนัก เพียงให้ดินมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างเพียงพอก็พอ สังเกตดูว่าดินแฉะ เกิน ไปหรือไม่ ถ้าดินแฉะเกินไปก็ลดปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งให้น้อยลง เพราะถ้าแฉะเกินไปจะทำให้ต้นกะหล่ำดอกเกิดโรคเน่าเละ ได้ง่าย เมื่อกะหล่ำดอกโตขึ้นก็ให้น้ำมากขึ้นเพราะการระเหยน้ำเกิดเร็วขึ้น ควรให้อย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็น อย่า ปล่อยให้กะหล่ำดอกขาดน้ำ เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและกระทบกระเทือนต่อการสร้างดอก ทำให้คุณภาพและปริมาณ ดอกลดลง ในฤดูแล้งควรมีการคลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง จะช่วยให้รักษาความชื้นในดินไว้ได้ดี

2. การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยไนโตรเจนนับว่ามีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของกะหล่ำดอกมาก ดังนั้นในระยะแรกควรมีการให้ปุ๋ยไนโตเจน ในรูปของ แอมโมเนียม ซัลเฟตหรือยูเรีย จากนั้นจึงใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อกะหล่ำดอกอายุประมาณ 30-40 วันหลังย้ายปลูก โดยโรยใส่ข้างต้นแล้วพรวนดินกลบลงในดิน

3. การพรวนดิน ควรทำในระยะแรกขณะที่วัชพืชยังเล็กอยู่พร้อมกับการกำจัดวัชพืชพร้อมกันไปด้วย

4. การคลุมดอก เมื่อดอกกะหล่ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 - 7 เซนติเมตร หรือดอกโตจวนจะได้ขนาดแล้วควรมีการคลุมดอก โดย รวบใบบริเวณปลายยอดเข้าหากันอย่างหลวมๆ ระวังอย่าให้แน่นเกินไป แล้วใช้ยางรัดของมัดไว้ จะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีขาวนวล น่ารับประทาน มีคุณภาพดีเหตุที่ต้องมีการคลุมดอกก็เพื่อป้องกันแสงแดดส่องถูกผิวของดอกกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีเหลือง อันเนื่องมาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งลักษณะดอกกะหล่ำที่มีสีเหลืองตลาดมักจะไม่ต้องการ ปกติแล้วหลังจากคลุมดอกจะสามารถ เก็บเกี่ยว ได้ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่า แต่ถ้าในฤดูร้อนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ในปัจจุบันกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ จะมีใบ คลุมดอกได้เองโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องคลุมดอกให้


การเก็บเกี่ยวกะหล่ำดอก

          สังเกตได้จาก ขนาดของดอกที่มีขนาดโตเต็มที่ และเป็นก้อนแน่นก่อนการยืดตัวไปเป็นช่อดอก ทั้งนี้อาจจะนับจากจำนวนวันที่ดอกเริ่ม เจริญพอสังเกตเห็นได้ต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวได้หากอากาศไม่หนาวเกินไป นอกจากนั้นอาจสังเกตได้จาก อายุการเก็บเกี่ยว โดยพันธุ์เบาจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วันหลังจากย้ายกล้า และพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วันหลังจากการย้ายกล้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดตัดดอกกะหล่ำ ให้มีส่วนของใบบริเวณใกล้ดอกติดมา ด้วย 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง ควรเลือกตัดดอกที่ยังอ่อนแต่โตเต็มที่แล้วคือ สังเกตจากดอกกำลังมี สีครีม และหน้าดอกเรียบ


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำดอก

1. โรครากปมของกะหล่ำ 
          สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอยชนิด Meloidegyne sp. ลักษณะอาการ ของโรคนี้ต้นกะหล่ำดอกจะแคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต เมื่อขุดรากขึ้นมาตรวจดูจะพบว่าบริเวณรากแขนงและ รากฝอยมีลักษณะ บวม เป็นปมขนาดต่างๆ ทำให้รากไม่สามารถหาอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ไส้เดือนฝอยตัวเมียที่เข้าไปอยู่ในปมจะไปแย่งอาหาร จากพืชด้วยทำให้ลำต้นแคระแกร็นชะงักการเจริญเติบโต
          การป้องกันกำจัด ควรไถตากดินให้ลึก ใส่พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือกากพืชให้มาก และเมื่อพบไส้เดือนฝอยชนิดนี้ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นสัก 1-2 ปี เช่น ข้าวโพด เป็นต้น


2. โรคเน่าดำ 
          เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Xanthomonas campestris ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นที่ใบ โดยใบจะมีสีเหลือง และแห้ง หลังจากนั้นจะปรากฏสีดำบนเส้นใบ มักพบในระยะกะหล่ำกำลังเจริญเติบโต ทำให้กะหล่ำดอกชะงักการเจริญเติบโต แคะแกร็น หากทำการผ่าตามขวางของลำต้นจะพบวงสีน้ำตาลดำบนเนื้อเยื่อของพืชและต้นอาจตายได้
          การป้องกันกำจัด ใช้เมล็ดที่ปลอดโรคโดยนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก เพื่อฆ่าเชื้อดังกล่าว และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับบ้าง หากเกิดโรคนี้บนแปลงควรงดการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอย่างน้อย 3 ปี


3. โรคเน่าเละของกะหล่ำดอก 
          สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovara อาการในระยะแรกจะพบเป็นจุดช้ำหรือฉ่ำน้ำ ที่บริเวณดอก ต่อมาจุดเหล่านี้ขยายออก เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ เนื้อเยื่อบริเวณแผลมีลักษณะเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็น มากๆ ทำให้ดอกเกิดอาการเน่าเละเป็นสีน้ำตาลดำไปทั้งดอก และโรคนี้จะแพร่ไปยังต้นที่อยู่ใกล้เคียงโดยมีแมลงวันเป็นพาหนะ
          การป้องกันกำจัด ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลบนดอกกะหล่ำ กำจัดแมลงที่กัดกินดอกกะหล่ำ และเมื่อพบดอกกะหล่ำที่แสดง อาการให้ตัด ไปเผาทำลาย


4. หนอนใยผัก 
          มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella เป็นหนอนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก ชอบวางไข่ตาม ใต้ใบเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มติดกัน 2-5 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กมากค่อนข้างแบนและยาวรี ไข่มีสีเหลืองอ่อนเป็นมัน มีผิวขรุขระ ระยะการเป็นไข่ 2-3 วัน เมื่อไข่ใกล้ฟักออกเป็นตัวหนอนจะมีสีเหลืองเข้ม ตัวหนอนมีขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก มีการเจริญ เติบโตรวดเร็วกว่า หนอนอื่น เพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก็จะโตเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก ลำตัวอาจเป็น สีเขียว ปนเทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง สามารถสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับต้นพืช ดักแด้ มี ขนาด 1 เซนติเมตร อยู่ภายในใยบางๆ ติดใต้ใบ อายุดักแด้ 3-4 วัน ส่วนตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน มีสีเทา หลังมีแถบ สีเหลือง เข้ม มีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์
          ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างใบจนเกิดเป็นรูพรุนและมักเข้าไปกัดกินในยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ผัก ได้รับความเสียหายสามารถทำลายผักในตระกูลกะหล่ำเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และผักกาดต่างๆ
          การป้องกันกำจัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง หรือการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่นเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิส (ฺเชื้อ บี.ที.) ทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำดอกอยู่เสมอ เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที


5. หนอนเจาะยอดกะหล่ำ 
          มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hellula undalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก แม่ผีเสื้อจะวางไข่เดี่ยวๆ หรือ เป็นกลุ่มตามยอดอ่อนหรือใบอ่อน บางครั้งวางไข่บนดอกที่ยังตูมอยู่ ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวเล็กน้อย ไข่ระยะแรกมีสีขาว ซีด ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลขนาดของไข่ประมาณ 0.34-0.55 มิลลิเมตร เมื่อไข่อายุ 2 วันจะมีสีชมพูเกิดขึ้นบนไข่ เมื่ออายุ มากขึ้นไข่จะเริ่มมีสีดำ และเริ่มออกเป็นตัวภายในระยะเวลา 3-5 วัน แม่ผีเสื้อตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ประมาณ 14-255 ฟอง ตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่ยาว 1-2 เซนติเมตร ผิวดำตัวใส มีแถบสีน้ำตาลพาดตามยาว ระยะการเจริญเติบโตของหนอนประมาณ 15-23 วัน จึงเข้าระยะดักแด้โดยสร้างใยหุ้มลำตัวติดกับเศษพืชที่ผิวดินหรือใต้ผิวดิน ดักแด้มีขนาดยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร เข้าดักแด้ใหม่ๆ จะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะมีสีเข้มขึ้นระยะการเป็นดักแด้ประมาณ 7-11 วัน สำหรับตัวเต็มวัยลำตัวยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา ปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้ 7-10 วัน
          ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหล่ำจะทำความเสียหายให้กับผักตระกูลกะหล่ำ โดยตัวหนอนจะเจาะเข้าทำลายดอก ทำให้ยอด ชะงักการเจริญเติบโต หนอนจะเจาะก้านดอกกัดกินดอกอ่อน ตาอ่อน หรือเจาะเข้าไปทำลายในผัก หนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆ อาจเจาะ เข้าไปทำลาย ผักใต้ผิวใบหรืออาจเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปกิน ภาย ในส่วนของลำต้น เห็นรอยกัดกินเป็นทาง เราอาจพบมูลตามลำต้นและใบ โดยหนอนจะกัดใบคลุมตัวเองและจะกัดกินอยู่ภายใน
          การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเมวินฟอส อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อหนอนระบาด ควรพ่นทุกๆ 5 วัน หรืออาจใช้เมตา ไมโดฟอส ในอัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่นเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิส (ฺเชื้อ บี.ที.) ทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำดอกอยู่เสมอ เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น