วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ค่า pH และค่า EC

ค่า pH (Potential of Hydrogen ion)


          ค่า pH  ในความหมายของการปลูกพืชไร้ดิน คือค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย (น้ำผสมธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืช)  โดยค่า pH จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 1 - 14  โดยจะนับค่าที่ 7 เป็นกลาง กล่าวคือ หากวัดค่าได้ต่ำกว่า 7 แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นกรด หากวัดได้สูงกว่า 7 ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบส

          สำหรับการปลูกพืชด้วยน้ำนั้นค่า pH มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช โดยธรรมชาติน้ำที่มีความเป็นกรดจะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายตัวได้ดี และพืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างสะดวก  แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้ผสมธาตุอาหารพืชมีความเป็นเบสสูงจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้

          ดังนั้น การปรับค่า pH ผู้ปลูกจะต้องปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ ด้วย โดยปกติค่า pH ที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 - 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารพืชจะอยู่ที่ 5.8 - 6.3

          การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นจะมีการกำหนดค่า pH ของการปลูกพืชเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระยะเจริญเติบโต)              อยู่ในช่วงวันที่   1 - 28      กำหนดค่า pH อยู่ที่ 5.8 - 6.5
ระยะที่ 2 (ระยะสร้างผลผลิต)            อยู่ในช่วงวันที่ 29 ขึ้นไป    กำหนดค่า pH อยู่ที่ 6.5 - 7.0

          การลดค่า pH นิยมใช้ กรดไนตริก (Nitric Acid) มีสูตรทางเคมี คือ  (HNO3)  ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย เป็นไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช และกรดที่นิยมใช้อีกชนิดหนึ่งคือ กรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid) มีสูตรทางเคมี คือ  H3PO4  ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย เป็นฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชเช่นกัน การใช้กรดทั้งสองชนิดนี้จึงมีผลพลอยได้จากการปรับลดค่า pH แล้วยังได้ธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้นมาในระบบอีกด้วย

          การเพิ่มค่า pH นิยมใช้ โพแทสเซียมคาร์บอเนต (Potassium Carbonate) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ (Potassium  Hydroxide) ซึ่งเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย ได้โพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชเช่นกัน


ข้อควรระวังในการปรับค่า pH
          การปรับค่า pH ค่อยปรับด้วยความระมัดระวัง และค่อยปรับลดลง อย่าปรับค่า pH ให้ต่ำเกินกว่า 4 จะทำให้รากพืชได้รับอันตรายจากการกัดกร่อนของกรด จนทำให้รากพืชอ่อนแอ และเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ค่า pH ที่ต่ำเกินไปยังส่งผลให้ความเข้มข้นของธาตุเหล็กในระบบปลูกมีสูงขึ้น   ถ้าธาตุเหล็กในระบบปลูกมีมากเกินไปจะเป็นพิษกับพืชได้   ในทางกลับกันถ้าปล่อยให้ค่า pH สูงเกินกว่า 7 เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 2 - 3 วัน จะส่งผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารพืช เช่น ฟอสฟอรัส, เหล็ก, แมงกานีส โดยค่า pH ที่เหมาะสมคือ 5.8 - 6.3 

Figure: How pH affects nutrient availability.
ตารางแสดงปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช ในค่า pH ระดับต่างๆ
(ค่า pH ที่สมบูรณ์ที่สุดต่อปริมาณธาตุอาหารคือ 6.25)

...............................................................................................................................

ค่า EC (Electric Conductivity)

          ค่า EC  คือ ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว  ในการปลูกไฮโดรโพนิกส์หมายถึงปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในของเหลว  โดยปกติน้ำบริสุทธิ์จะมีค่านำกระแสไฟฟ้าต่ำหรือมีค่าเป็นศูนย์  แต่เมื่อมีการเติมสารละลายต่างๆ ลงในในน้ำนั้นจะทำให้ค่าสารละลาย หรือค่านำกระแสไฟฟ้าในน้ำนั้นๆ สูงขึ้นด้วย

          พืชแต่ละชนิดจะมีความต้านทานต่อค่า EC หรือ (ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช) ที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, อายุของพืช และสภาพแวดล้อมในการปลูกขณะนั้นด้วย หากเราใช้ค่า EC ไม่เหมาะสมกับพืช แล้วจะทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตไม่เป็นปกติ หรือขาดความสมบูรณ์ได้  ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่า EC คือ

          1. ชนิดและสายพันธุ์พืช   กล่าวคือ พืชต้องอาศัยการคายน้ำทางใบเพื่อให้เกิดแรงดันที่รากพืชเพื่อให้น้ำที่ผสมธาตุอาหารซึมผ่านจากรากไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้ หากค่า EC สูงกว่าค่ามาตราฐาน ของพืชชนิดนั้นๆ พืชจะไม่สามารถนำพาน้ำที่มีธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆของพืชได้  ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี และเกิดขาดธาตุอาหารต่างๆ ได้

          2. อายุของพืช   กล่าวคือ พืชในแต่ละช่วงอายุจะมี การใช้ธาตุอาหารไม่เท่ากัน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงของการเจริญเติบโต ดังนี้
                    2.1 ช่วงต้นเกล้า  : ช่วงสัปดาห์แรกของการเจริญเติบโต เมื่อพืชงอกออกจากเมล็ดพืชจะใช้พลังงานและอาหารจากใบเลี้ยงเป็นหลัก ทำให้การกำหนดค่า EC ในช่วงสัปดาห์แรกนี้จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 50 % ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ต่อไป

                    2.2 ช่วงเจริญเติบโต : ช่วงสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป ช่วงนี้เป็นช่วงที่พืชต้องการใช้พลังงานและธาตุอาหารสูงมาก เพื่อใช้ในการสร้างส่วนต่างๆ ของใบ, ลำต้น, ดอก   โดยจะใช้ธาตุอาหารประมาณ 80 - 100% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ

                    2.3 ช่วงขยายพันธุ์ : เป็นช่วงที่พืชผ่านการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่มาแล้วพืชได้ทำการสะสมอาหารและพลังงานมาไว้อย่างเต็มที่แล้ว พืชจะเริ่มใช้ธาตุอาหารใหม่น้อยลง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 - 70% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ

          3. สภาพอากาศและฤดูกาล  หากช่วงเวลาดังกล่าวมีปัจจัยที่ทำให้พืชต้องคายน้ำสูง เช่น แสงแดดจัด, อากาศร้อน พืชจำเป็นต้องมีการดูดซึมน้ำมากขึ้นเพื่อนำมาชดเชยน้ำที่สูญเสียไป หากมีการใช้ค่า EC ที่สูง ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว พืชจะนำน้ำไปชดเชยน้ำที่เสียไปได้ลำบาก เราจึงเห็นพืชเหี่ยวเฉาในช่วงเวลาที่อากาศร้อนและแสงแดดจัด ดังนั้นช่วงเวลาที่อากาศร้อนมากๆ และแสงแดดแรงเกินไปเราต้องปรับลดค่า EC ลง พร้อมกับลดกิจกรรมการคายน้ำของพืชลง เช่น พรางแสง, เสปรย์น้ำ เพื่อลดอุณหภูมิลง
 
          ค่ามาตราฐานสำหรับน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ จะต้องมีค่าเริ่มต้นก่อนใส่ปุ๋ยไม่เกิน 0.3 ms/cm  หากค่าเกินจะทำให้มีข้อจำกัดในการใส่ธาตุอาหารพืช (ใส่ธาตุอาหารพืชได้น้อยลง) เพราะกังวลว่าค่า EC จะเกินกว่าที่พืชนั้นๆ จะรับได้ จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ น้ำที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรฯ ได้แก่ น้ำฝน, น้ำประปาส่วนภูมิภาคและประปานครหลวง ฯลฯ เนื่องจากมีค่า EC ต่ำและเป็นแหล่งน้ำที่ประหยัด  ส่วนน้ำที่ไม่แนะนำมาใช้ในการปลูก เช่น น้ำบาดาล  เนื่องจากส่วนใหญ่น้ำบาดาล จะมีค่า EC สูง แล้วยังมี แคลเซียมคาบอเนท (หินปูน) สาเหตุของความกระด้างในน้ำ ทำให้ปุ๋ยตกตะกอนได้ง่าย  หากไม่สามารถหาน้ำได้จากแหล่งดังกล่าวจริงอาจจะต้องมีการบำบัด ด้วยวิธีกรองเพื่อลดค่าสารละลายในน้ำลงก่อนเพื่อให้มีค่า EC อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกพืชได้ โดยวิธีการกรองต้องใช้เครื่องกรองที่สามารถกรองสารละลายในน้ำได้ เช่น ระบบกรอง Reverse Osmosis (R.O.) หรือการกรองด้วยระบบกรอง Softener ด้วยสารกรอง Resin เป็นต้น


ค่า EC และ pH ของพืชแต่ละชนิด

ชนิดพืช
ค่า EC
ค่า pH
กล้วย
1.8 - 2.2
5.5 - 6.5
กวางตุ้งใบ, กวางตุ้งดอก, ฮ่องเต้
1.5 - 2.5
6.0 - 7.0
กะหล่ำดอก
1.5 - 2.0
6.5 - 7.0
กะหล่ำปลี, กะหล่ำดาว
2.5 - 3.0
6.5 - 7.0
ข้าวโพดหวาน
1.6 - 2.4
6.0
แครอท
1.6 - 2.0
6.3
เซอลารี่
1.8 - 2.4
6.5
แตงกวา
1.7 - 2.5
5.5
แตงกวาซูกินี
1.8 - 2.4
6.0
แตงโม
1.8 - 2.4
5.8
ถั่ว
2.0 - 4.0
6.0
บลอคเคอรี่
2.8 - 3.5
6.0 - 6.8
บลูเบอรี่
1.8 - 2.0
4.0 - 5.0
บาเซิล, โหระพา
1.0 - 1.6
5.5 - 6.0
บีทรูท
1.8 - 5.0
6.0 - 6.5
ผักขม
1.8 - 2.3
6.0 - 7.0
พาสเลย์
0.8 - 1.8
5.5 - 6.0
ฟักทอง
1.8 - 2.4
5.5 - 7.0
มะเขือเทศ
2.0 - 4.0
6.0 - 6.8
มะเขือม่วง
2.5 - 3.5
6.0
เมล่อน
2.0 - 2.5
6.0 - 6.8
เรดิช, หัวไชเท้า
1.6 - 2.2
6.0 - 7.0
วอเตอร์เครส
0.4 - 1.6
6.5 - 6.8
สตรอเบอรี่
1.8 - 2.2
6.0 - 6.8
สลัด
1.1 - 1.7
6.0 - 7.0
สะระแหน่, มิ้น
2.0 - 2.4
5.5 - 6.0
สับปะรด
2.0 - 2.4
5.5 - 6.5
เสาวรส
1.6 - 2.4
6.5
หน่อไม้ฝรั่ง
1.4 - 1.8
6.0 - 6.8
เอ็นไดว์, ชิโคลี่
2.0 - 2.4
5.8 - 6.5

33 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ทราบว่ามีวิธีการปรับหรือควบคุมค่าECด้วยไหม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีครับ
      วัดโดยใช้เครื่องวัดค่าec
      ถ้าค่าecมากปรับโดยการเติมน้ำเพื่อเจือจาง
      ถ้าค่าecน้อยปรับโดยการเติมสาร A,B ไป

      ลบ
    2. แล้ว pH ละครับจะเพิ่มลดอย่างไร

      ลบ
  2. ค่า EC ปรับค่า โดยการ เพิ่มน้ำเพื่อลดค่า EC กับเพิ่มปุ่ยAB เพื่อเพิ่มค่า EC

    ตอบลบ
  3. เมื่อปลูกไปได้ระยะหนึ่งจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือไม่ ถ้าต้องเปลี่ยนมีระยะเวลาในการเปลี่ยนกี่วัน หรือถ้าไม่เปลี่ยนเลยจะมีผลอะไรหรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ถ้าน้ำลดในถังก็ควรเติมครับ แล้ววัดค่าecใหม่
      **ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำถ้าเปลี่ยนถ่ายน้ำจะทำให้สิ้นเปลืองสารA,B

      ลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. ค่า Ec ในตารางมีหน่วยเป็นอะไรหรอครับ

    ตอบลบ
  6. น้ำกร่อยสามารถนำมาปรับใช้ได้ไหมคะ

    ตอบลบ
  7. จะวัดค่า ec. และ ph. ด้วยอุปกรณ์อะไรครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  8. ผักบุ้ง เราจะใช้ค่า EC กับ PH ตัวไหนดีครับ

    ตอบลบ
  9. ผักบุ้งใช้ค่า EC 1.5 PH 5.5 ถึง 6.0 ปริมาณน้ำ 1 ลิตร ปุ๋ย A 4 cc ปุ๋ย B 4 cc ครับ

    ตอบลบ
  10. ค่าของผักสลัดนี้ทั้งหมดเลยใช้ไหมค่ะ?

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะได้ประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2559 เวลา 20:30

    น้ำบาดาล ค่า pH 6.9 ใช้ได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้ครับ
      pHที่เหมาะสมในการปลูกผัก ต้องเป็นกลาง

      ลบ
  13. ขอถามหน่อยคะ ค่า ec ที่กำหนดในตารางข้างบนอะคะ เวลาเราผสมต้องหักค่า ec ของนำ้ที่เอามาผสมก่อนไหมคะ เช่นในตารางกำหนด ec = 1.4 ส่วนค่า ec ของนำ้ปะปา = 0.2 เวลาผสมต้องวัด ec ให้เป็น ec = 1.6 หรือ แค่ 1.4 คะ ขอบคุณมากคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ค่า EC นั้นหมายถึงค่ารวมสารละลายรวมในน้ำทั้งหมดครับ ไม่ต้องตัดค่าสารละลายเดิมในน้ำก่อนใส่ปุ๋ยออกครับ

      ลบ
  14. ผมใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ค่า ec จะต้องเท่ากันมั๊ย แต่ที่ลองมาก็ไม่มีปัญหานะ

    ตอบลบ
  15. ขอถามหน่อยค่ะ ดินที่มีค่า EC ที่อยู่ในระดับที่เป็นดินเค็ม เป็นไปได้ไหมคะว่าจะมีค่า pH เป็นกรด (โดยทั่วไปจะทราบประมานว่า ดินเป็นกรดก็คือดินเปรี้ยว ดินเค็มก็เป็นเบส)

    ตอบลบ
  16. ขอสอบถามหน่อยครับ มะนาวแป้น มีค่า EC เท่าไหร่ ครับ

    ตอบลบ
  17. อยากได้ คลังบทความ เป็นแบบรูปเล่มครับ ของ zen ผมอยากได้ไว้อ้างอิง เวลาปลูกผัก จะได้ไม่ต้องอ่านวิจัยครับ gagnutt@gmail.com (เป็นไฟล์ PDF ยิ่งดีครับ)

    ตอบลบ
  18. ถ้าน้ำในถังพักน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำสีเขียเราต้องเปลี่ยนน้ำไหมครับ และถ้าตะไคเกาะรากผักสลัดจะทำให้ผักโตช้าจริงหรือไม่

    ตอบลบ
  19. เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากครีบ..

    ตอบลบ
  20. ปุ๋ยเอบีที่ร้านสามารถปลูกผักคื่นฉ่ายได้ไหมครับ
    และต้องใช้ปุ๋ยabกี่ซีซี/น้ำ1ลิตร
    สำหรับคื่นฉ่ายต้องมีค่าecเท่าไรจนถึงอายุเก็บเกียวครับ

    ตอบลบ
  21. เมล่อน ตั้งแต่สัปดาห์แรก จน เก็บเกี่ยว ต้องใช้เพิ่มปริมาณปุ๋ย A B ยังไงบ้างค่ะ
    สัปดาห์ 1 ปริมาณน้ำ..เท่าไร..ลิตร / ปุ๋ย A.เท่าไร..cc / ปุ๋ย B..เท่าไร.cc
    สัปดาห์ 2 ปริมาณน้ำ..เท่าไร..ลิตร / ปุ๋ย A.เท่าไร..cc / ปุ๋ย B..เท่าไร.cc
    จนเก็บเกี่ยว ช่วยแนะนำทีค่ะ

    ตอบลบ
  22. ขอราคาเครื่องวัดค่า EC กับเครื่องวัดค่า PH ครับ

    ตอบลบ
  23. การวัดค่า EC ในดิน พอดีปลูกเมล่อน ต้องวัดบ่อยแค่ไหนค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  24. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2563 เวลา 22:06

    ปุ๋ยเอปุ๋ยบีผสมทิ้งไว้ค่าECจะเปลี่ยนไปจากเดิมไหมคะ

    ตอบลบ
  25. Us/cm กับms/cm ต่างกัยอย่างไร

    ตอบลบ
  26. ค่า us/cm ในน้ำบาดาลก่อนเติมปุ๋ย อยู่ที่ 1400 กว่าๆ พอเติมปุ๋ย ab เข้าไป ค่านี้อยู่ที่ 2000 นิดๆ เลยค่ะ จะปลูกพวกผักสลัด ควรปรับอย่างไรดีคะ? (ไม่มีเครื่องกรองน้ำบาดาลด้วยค่ะ)

    ตอบลบ