วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วอเตอร์เครส (Water Cress)




          วอเตอร์เครส หรือที่เราคนไทยเรียกว่า สลัดน้ำ เป็นผักในตระกูลดอกกะหล่ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นผักใบเขียว นิยมนำมาทำเป็นผักสลัด หรืออาจนำมาทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ตลอดจนเป็นส่วนประกอบของอาหารเมนูต่างๆตามใจชอบ แต่ทั้งนี้ในเรื่องคุณค่าทางอาหารแล้วมีประโยชน์เหลือเชื่อเลยทีเดียว ถ้าเทียบจากน้ำหนักที่เท่ากันแล้ว วอเตอร์เครสประกอบด้วยวิตามินซีมากกว่าส้ม มีแคลเซียมมากกว่านมทุกชนิด มีธาตุเหล็กมากกว่าผักขม และยังประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระอีกด้วย



สลัดน้ำ มีสองสายพันธุ์คือ
  1. พันธุ์สีเขียว เป็นสายพันธุ์ที่ต้องการสภาพอากาศอบอุ่น ไม่ทนต่ออุณหภูมิต่ำติดดอกและเมล็ดง่าย
  2. พันธุ์สีน้ำตาล เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทานต่ออุณหภูมิต่ำ ติดดอกและเมล็ดยาก ขยายพันธุ์โดยการปักชำ


ลักษณะใบของวอเตอร์เครส จะมีลักษณะกลมตามภาพด้านบน


          วอเตอร์เครส เป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง รากจะเจริญได้ดีในพื้นที่ ๆ มีระดับน้ำตื้น (5-10 เซนติเมตร) มีน้ำสะอาดไหลผ่านช้า ๆ ตลอดเวลา การปลูกในที่ ๆ ไม่มีการหมุนเวียนของน้ำ จะทำให้น้ำเน่าเสีย และสลัดน้ำจะตาย ในกรณีที่ไม่สามารถหาแหล่งปลูกในที่มีน้ำไหลผ่านได้ อาจจะปลูกตามขอบบ่อ โดยสูงกว่าระดับน้ำ 15 เซนติเมตร และบังร่มเงา หรืออาจจะปลูกในพื้นที่ ๆ ร่มรำไร และให้น้ำแบบพ่นฝอยวันละสองครั้ง
          การปลูกเพื่อบริโภคในครอบครัว และปลูกเป็นไม้ประดับ อาจจะปลูกในกระถางหรือถาดปลูก โดยการผสมวัสดุปลูกลงไปในภาชนะ สูง 5 - 7 เซนติเมตร ใช้ถาดรองภาชนะและใส่น้ำให้สม่ำเสมอ วางไว้ใกล้หน้าต่างหรือที่ ๆ ได้รับแสงรำไร
          วอเตอร์เครส มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส  แล้วนำมาปลูกในประเทศจีน  ประเทศไทยได้นำเข้ามาปลูกแถบภาคเหนือ  และภาคใต้  ด้วยการนำเข้ามาปลูกโดยชาวจีนอพยพ  สำหรับอำเภอเบตงได้ปลูกผักน้ำกันตั้งแต่นั้นมา  การปลูกผักน้ำสมัยแรก ๆ  มีการปลูกบริโภคกันในหมู่ชาวจีนเท่านั้น  แต่ปัจจุบันผักน้ำเป็นที่รู้จักและบริโภคกันแพร่หลายโดยได้นำมาปลูกในโครงการหลวง และกลุ่มปลูกเพื่อการค้าตลาดผัก HYDROPONIC ใบของ WATERCRESS เป็นใบประกอบ (PINNATE) คือ 1 ก้านใบมีใบย่อยหลายใบ


          มีหลายท่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะของวอเตอร์เครส ซึ่งวอเตอร์เครสที่มาจากยุโรปและมีชื่อเรียกว่า "Watercress" จริงๆ มีแค่ลักษณะเดียวคือใบมีลักษณะกลมมน ไม่ใช่มีปลายใบแหลม ซึ่งลักษณะของผักที่คนไทยรู้จักและมักเรียกผิดๆ ว่าเป็นวอเตอร์เครสนั้น แท้จิงแล้วคือผักเป็ดญี่ปุ่น ซึ่งปลูกในประเทศไทยและจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าทั่วไป



http://www.youtube.com/watch?v=RY0_DutIrtE    การปลูกวอเตอร์เครสในต่างประเทศ
https://www.youtube.com/watch?v=8NecivLVV50  การปลูกวอเตอร์เครสแบบ Aquaponics

การเพาะปลูกวอเตอร์เครส (water cress) 
          การขยายพันธุ์อาจเพาะเมล็ดหรือการปักชำ การขยายพันธุ์โดยเมล็ด รดน้ำแปลงปลูกให้มีความชุ่มชื้นพอสมควร เมล็ดมีขนาดเล็กมากควรผสมกับทรายละเอียดในปริมาตรที่เท่ากัน หว่านบาง ๆ ทั่วแปลงปลูก ไม่ต้องกลบเมล็ดและระวังอย่าให้มีน้ำขัง รักษาหน้าแปลงให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ต้นกล้าเริ่มเจริญจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำ
          การปลูกโดยใช้ต้นปักชำ ควรเด็ดใบที่อยู่ส่วนโคนออก เหลือเฉพาะใบส่วนยอดแช่ ส่วนโคนในน้ำสะอาด จะงอกรากภายในเวลา 2 วัน ใช้ระยะปลูก 5×5 เซนติเมตร  ในฤดูร้อนพันธุ์สีเขียว จะมีดอกเจริญขึ้นมาและติดเมล็ด ซึ่งจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ต้องคอยหมั่นตัดยอดและดอกทิ้งไปเพื่อไม่ให้ต้นทรุดโทรมเร็ว

รากที่งอกจากข้อลำต้น สามารถตัดเพื่อนำไปปักชำได้


การเพาะเมล็ดวอเตอร์เครส
          วอเตอร์เครส ใช้ระยะเวลาในการงอกออกจากเมล็ดเป็นต้นอ่อนใช้เวลาประมาณ 24 - 36 ชั่วโมง   อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการการงอกของเมล็ดอยู่ที่ ประมาณ 18 องศา C โดยในที่นี้ผมจะแนะนำการเพาะเมล็ดวอเตอร์เครส เพื่อนำไปปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์



* การเพาะเมล็ดวอเตอร์เครสสำหรับปลูกแบบไฮโดรฯ 
1. นำกล่องถนอมอาหารที่รองด้วยกระดาษชำระประมาณ 2 - 3 ชั้น
2. พรมน้ำให้พอเปียกแต่อย่าให้น้ำท่วมกระดาษ แล้วเทน้ำออกจากกล่องให้หมด
3. โรยเมล็ดวอเตอร์เครสลงบนกระดาษชำระที่เปียกน้ำ (ไม่ต้องพรมน้ำซ้ำ)
4. ปิดฝากล่องถนอมอาหารให้สนิท
5. นำกล่องถนอมอาหารนั้นไปวางไว้ในบริเวณที่อากาศไม่ร้อนเกินไป (ห้องแอร์ได้จะดีมากครับ)
6. เมื่อครบ 24 - 36 ชั่วโมงจะเริ่มมีรากสีขาวเล็กๆ โผล่ออกมาจากเมล็ด ก็สามารถย้ายลงวัสดุปลูกได้เลย ไม่ควรปล่อยให้อยู่บนกระดาษชำระนานเกิน 36 ชั่วโมง เนื่องจากรากของวอเตอร์เครสจะยาวเร็วมากทำให้ย้ายปลูกได้ยากและอาจะทำให้รากต้นอ่อนขาดเสียหายได้

* การเพาะเมล็ดวอเตอร์เครสสำหรับปลูกลงกระถาง 
1. ให้ใช้วัสดุปลูก (ขุยมะพร้าวละเอียด 2 ส่วน ผสมกับพีทมอสหรือดินร่วน 1 ส่วน)
2. ใส่วัสดุปลูกที่ผสมกันแล้วในกระถางแล้วรองก้นกระถางด้วยจานรองสูงประมาณ 1 นิ้ว
3. รดน้ำให้วัสดุปลูกเปียกชุ่ม แล้วใส่น้ำลงในจานรองกระถางจนเต็ม
4. นำเมล็ดวอเตอร์เครสโรยลงบนวัสดุปลูกในกระถางโดยไม่ต้องกลบเมล็ด
5. ใช้ฟ็อกกี้ ฉีดพ่นน้ำให้ทั่วเมล็ด
6. ให้ใช้ถุงพลาสติกครอบปากกระถางไว้เพื่อรักษาความชื้น
7. นำกระถางไปวางไว้ในบริเวณร่มไม่โดนแสงแดด ในระหว่างนี้ให้เติมน้ำที่จานรองกระถางอย่าให้แห้ง
8. เมื่อครบ 48 ชั่วโมง ให้เปิดถุงพลาสติกออกจะเห็นต้นเกล้าวอเตอร์เครสงอกออกมา ในระหว่างนี้ให้โดนแสงแดดรำไร ในช่วงเช้า หรือเย็นอย่าให้โดนแสงแดดโดยตรงเพราะจะทำให้ต้นเกล้าเฉาตายได้


การดูแลรักษา วอเตอร์เครส (water cress)
          สลัดน้ำเป็นพืชตระกูลกะหล่ำ จะมีปัญหาการเข้าทำลายของหนอนใยผัก และด้วงหมัดผัก ควรใช้มุ้งตาข่ายคลุมแปลงปลูก เนื่องจากเป็นพืชที่นิยมบริโภคในรูปผักสดไม่ควรฉีดสารเคมีกำจัดแมลง  
          เมื่อวอเตอร์เครส มีลำต้นยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ให้เด็ดยอด เพื่อให้แตกกิ่งข้าง การเพิ่มจำนวนกิ่งต่อต้นจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น การปลูกในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา ควรคลุมบ่อด้วยพลาสติกใส เพื่อเพิ่มอุณหภูมิบ่อปลูกให้สูงขึ้น หลังเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง ควรใส่ปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มไนโตรเจน ทุกสองถึงสามเดือนระบายน้ำทิ้ง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตเร็วและสมบูรณ์ขึ้น

การเก็บเกี่ยว สลัดน้ำ, วอเตอร์เครส (water cress)
          การปลูกในพื้นที่ ๆ มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ให้ปุ๋ยอย่างพอเพียงสม่ำเสมอ ไม่เก็บเกี่ยวบ่อยครั้งจนเกินไป สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายปี ในกรณีที่ต้นโทรม ผลผลิตต่ำ ควรปลูกใหม่ โดยการปักชำ

คุณประโยชน์ของสลัดน้ำ
1. ช่วยส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2. ช่วยในการฟอกเลือดให้สะอาดขึ้น
3. มีลูทีนที่ช่วยในการบำรุงสายตา และลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคต้อในตา
4. ช่วยลดระดับไขมันในเลือด
5. มีแคลเซียมสูง ทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
6. ช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจ
7. ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลส์มะเร็งในลำไส้ใหญ่
8. ป้องกันการเกิดมะเร็งที่ปอด
9. ช่วยลดภาวะการเกิดมะเร็งเต้านม
10. ช่วยห้ามเลือดเมื่อนำมาผสมกับน้ำส้มสายชู


วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ค่า pH และค่า EC

ค่า pH (Potential of Hydrogen ion)


          ค่า pH  ในความหมายของการปลูกพืชไร้ดิน คือค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย (น้ำผสมธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืช)  โดยค่า pH จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 1 - 14  โดยจะนับค่าที่ 7 เป็นกลาง กล่าวคือ หากวัดค่าได้ต่ำกว่า 7 แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นกรด หากวัดได้สูงกว่า 7 ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบส

          สำหรับการปลูกพืชด้วยน้ำนั้นค่า pH มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช โดยธรรมชาติน้ำที่มีความเป็นกรดจะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายตัวได้ดี และพืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างสะดวก  แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้ผสมธาตุอาหารพืชมีความเป็นเบสสูงจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้

          ดังนั้น การปรับค่า pH ผู้ปลูกจะต้องปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ ด้วย โดยปกติค่า pH ที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 - 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารพืชจะอยู่ที่ 5.8 - 6.3

          การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นจะมีการกำหนดค่า pH ของการปลูกพืชเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระยะเจริญเติบโต)              อยู่ในช่วงวันที่   1 - 28      กำหนดค่า pH อยู่ที่ 5.8 - 6.5
ระยะที่ 2 (ระยะสร้างผลผลิต)            อยู่ในช่วงวันที่ 29 ขึ้นไป    กำหนดค่า pH อยู่ที่ 6.5 - 7.0

          การลดค่า pH นิยมใช้ กรดไนตริก (Nitric Acid) มีสูตรทางเคมี คือ  (HNO3)  ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย เป็นไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืช และกรดที่นิยมใช้อีกชนิดหนึ่งคือ กรดฟอสฟอริก (Phosphoric Acid) มีสูตรทางเคมี คือ  H3PO4  ซึ่งกรดชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย เป็นฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชเช่นกัน การใช้กรดทั้งสองชนิดนี้จึงมีผลพลอยได้จากการปรับลดค่า pH แล้วยังได้ธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้นมาในระบบอีกด้วย

          การเพิ่มค่า pH นิยมใช้ โพแทสเซียมคาร์บอเนต (Potassium Carbonate) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ (Potassium  Hydroxide) ซึ่งเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อผสมกับน้ำจะแตกตัวเป็นอนุมูลย่อย ได้โพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชเช่นกัน


ข้อควรระวังในการปรับค่า pH
          การปรับค่า pH ค่อยปรับด้วยความระมัดระวัง และค่อยปรับลดลง อย่าปรับค่า pH ให้ต่ำเกินกว่า 4 จะทำให้รากพืชได้รับอันตรายจากการกัดกร่อนของกรด จนทำให้รากพืชอ่อนแอ และเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ค่า pH ที่ต่ำเกินไปยังส่งผลให้ความเข้มข้นของธาตุเหล็กในระบบปลูกมีสูงขึ้น   ถ้าธาตุเหล็กในระบบปลูกมีมากเกินไปจะเป็นพิษกับพืชได้   ในทางกลับกันถ้าปล่อยให้ค่า pH สูงเกินกว่า 7 เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 2 - 3 วัน จะส่งผลต่อการดูดซึมธาตุอาหารพืช เช่น ฟอสฟอรัส, เหล็ก, แมงกานีส โดยค่า pH ที่เหมาะสมคือ 5.8 - 6.3 

Figure: How pH affects nutrient availability.
ตารางแสดงปริมาณความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช ในค่า pH ระดับต่างๆ
(ค่า pH ที่สมบูรณ์ที่สุดต่อปริมาณธาตุอาหารคือ 6.25)

...............................................................................................................................

ค่า EC (Electric Conductivity)

          ค่า EC  คือ ค่าเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในของเหลว  ในการปลูกไฮโดรโพนิกส์หมายถึงปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในของเหลว  โดยปกติน้ำบริสุทธิ์จะมีค่านำกระแสไฟฟ้าต่ำหรือมีค่าเป็นศูนย์  แต่เมื่อมีการเติมสารละลายต่างๆ ลงในในน้ำนั้นจะทำให้ค่าสารละลาย หรือค่านำกระแสไฟฟ้าในน้ำนั้นๆ สูงขึ้นด้วย

          พืชแต่ละชนิดจะมีความต้านทานต่อค่า EC หรือ (ความเข้มข้นของธาตุอาหารพืช) ที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, อายุของพืช และสภาพแวดล้อมในการปลูกขณะนั้นด้วย หากเราใช้ค่า EC ไม่เหมาะสมกับพืช แล้วจะทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตไม่เป็นปกติ หรือขาดความสมบูรณ์ได้  ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่า EC คือ

          1. ชนิดและสายพันธุ์พืช   กล่าวคือ พืชต้องอาศัยการคายน้ำทางใบเพื่อให้เกิดแรงดันที่รากพืชเพื่อให้น้ำที่ผสมธาตุอาหารซึมผ่านจากรากไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้ หากค่า EC สูงกว่าค่ามาตราฐาน ของพืชชนิดนั้นๆ พืชจะไม่สามารถนำพาน้ำที่มีธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆของพืชได้  ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดี และเกิดขาดธาตุอาหารต่างๆ ได้

          2. อายุของพืช   กล่าวคือ พืชในแต่ละช่วงอายุจะมี การใช้ธาตุอาหารไม่เท่ากัน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงของการเจริญเติบโต ดังนี้
                    2.1 ช่วงต้นเกล้า  : ช่วงสัปดาห์แรกของการเจริญเติบโต เมื่อพืชงอกออกจากเมล็ดพืชจะใช้พลังงานและอาหารจากใบเลี้ยงเป็นหลัก ทำให้การกำหนดค่า EC ในช่วงสัปดาห์แรกนี้จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 50 % ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสัปดาห์ต่อไป

                    2.2 ช่วงเจริญเติบโต : ช่วงสัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป ช่วงนี้เป็นช่วงที่พืชต้องการใช้พลังงานและธาตุอาหารสูงมาก เพื่อใช้ในการสร้างส่วนต่างๆ ของใบ, ลำต้น, ดอก   โดยจะใช้ธาตุอาหารประมาณ 80 - 100% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ

                    2.3 ช่วงขยายพันธุ์ : เป็นช่วงที่พืชผ่านการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่มาแล้วพืชได้ทำการสะสมอาหารและพลังงานมาไว้อย่างเต็มที่แล้ว พืชจะเริ่มใช้ธาตุอาหารใหม่น้อยลง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 50 - 70% ของค่า EC ในพืชชนิดนั้นๆ

          3. สภาพอากาศและฤดูกาล  หากช่วงเวลาดังกล่าวมีปัจจัยที่ทำให้พืชต้องคายน้ำสูง เช่น แสงแดดจัด, อากาศร้อน พืชจำเป็นต้องมีการดูดซึมน้ำมากขึ้นเพื่อนำมาชดเชยน้ำที่สูญเสียไป หากมีการใช้ค่า EC ที่สูง ในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว พืชจะนำน้ำไปชดเชยน้ำที่เสียไปได้ลำบาก เราจึงเห็นพืชเหี่ยวเฉาในช่วงเวลาที่อากาศร้อนและแสงแดดจัด ดังนั้นช่วงเวลาที่อากาศร้อนมากๆ และแสงแดดแรงเกินไปเราต้องปรับลดค่า EC ลง พร้อมกับลดกิจกรรมการคายน้ำของพืชลง เช่น พรางแสง, เสปรย์น้ำ เพื่อลดอุณหภูมิลง
 
          ค่ามาตราฐานสำหรับน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ จะต้องมีค่าเริ่มต้นก่อนใส่ปุ๋ยไม่เกิน 0.3 ms/cm  หากค่าเกินจะทำให้มีข้อจำกัดในการใส่ธาตุอาหารพืช (ใส่ธาตุอาหารพืชได้น้อยลง) เพราะกังวลว่าค่า EC จะเกินกว่าที่พืชนั้นๆ จะรับได้ จนกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ น้ำที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรฯ ได้แก่ น้ำฝน, น้ำประปาส่วนภูมิภาคและประปานครหลวง ฯลฯ เนื่องจากมีค่า EC ต่ำและเป็นแหล่งน้ำที่ประหยัด  ส่วนน้ำที่ไม่แนะนำมาใช้ในการปลูก เช่น น้ำบาดาล  เนื่องจากส่วนใหญ่น้ำบาดาล จะมีค่า EC สูง แล้วยังมี แคลเซียมคาบอเนท (หินปูน) สาเหตุของความกระด้างในน้ำ ทำให้ปุ๋ยตกตะกอนได้ง่าย  หากไม่สามารถหาน้ำได้จากแหล่งดังกล่าวจริงอาจจะต้องมีการบำบัด ด้วยวิธีกรองเพื่อลดค่าสารละลายในน้ำลงก่อนเพื่อให้มีค่า EC อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะนำมาปลูกพืชได้ โดยวิธีการกรองต้องใช้เครื่องกรองที่สามารถกรองสารละลายในน้ำได้ เช่น ระบบกรอง Reverse Osmosis (R.O.) หรือการกรองด้วยระบบกรอง Softener ด้วยสารกรอง Resin เป็นต้น


ค่า EC และ pH ของพืชแต่ละชนิด

ชนิดพืช
ค่า EC
ค่า pH
กล้วย
1.8 - 2.2
5.5 - 6.5
กวางตุ้งใบ, กวางตุ้งดอก, ฮ่องเต้
1.5 - 2.5
6.0 - 7.0
กะหล่ำดอก
1.5 - 2.0
6.5 - 7.0
กะหล่ำปลี, กะหล่ำดาว
2.5 - 3.0
6.5 - 7.0
ข้าวโพดหวาน
1.6 - 2.4
6.0
แครอท
1.6 - 2.0
6.3
เซอลารี่
1.8 - 2.4
6.5
แตงกวา
1.7 - 2.5
5.5
แตงกวาซูกินี
1.8 - 2.4
6.0
แตงโม
1.8 - 2.4
5.8
ถั่ว
2.0 - 4.0
6.0
บลอคเคอรี่
2.8 - 3.5
6.0 - 6.8
บลูเบอรี่
1.8 - 2.0
4.0 - 5.0
บาเซิล, โหระพา
1.0 - 1.6
5.5 - 6.0
บีทรูท
1.8 - 5.0
6.0 - 6.5
ผักขม
1.8 - 2.3
6.0 - 7.0
พาสเลย์
0.8 - 1.8
5.5 - 6.0
ฟักทอง
1.8 - 2.4
5.5 - 7.0
มะเขือเทศ
2.0 - 4.0
6.0 - 6.8
มะเขือม่วง
2.5 - 3.5
6.0
เมล่อน
2.0 - 2.5
6.0 - 6.8
เรดิช, หัวไชเท้า
1.6 - 2.2
6.0 - 7.0
วอเตอร์เครส
0.4 - 1.6
6.5 - 6.8
สตรอเบอรี่
1.8 - 2.2
6.0 - 6.8
สลัด
1.1 - 1.7
6.0 - 7.0
สะระแหน่, มิ้น
2.0 - 2.4
5.5 - 6.0
สับปะรด
2.0 - 2.4
5.5 - 6.5
เสาวรส
1.6 - 2.4
6.5
หน่อไม้ฝรั่ง
1.4 - 1.8
6.0 - 6.8
เอ็นไดว์, ชิโคลี่
2.0 - 2.4
5.8 - 6.5

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ข้าวโพดฝักอ่อน (Baby Sweet Corn)


ข้าวโพดฝักอ่อน หรือข้าวโพดหวาน เป็นพืชอยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวาน บรรจุกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวานข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป


ฤดูปลูก

          ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน


อุณหภูมิที่เหมาะสม

          อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง


การเตรียมแปลงปลูก

การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ


การปลูกข้าวโพดหวาน

ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที


การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน

การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น

ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล


 การถอดยอด
          เมื่อข้าวโพดมีอายุประมาณ 38 วัน หรือเมื่อมีใบจริงครบ 7 คู่ ช่อดอกตัวผู้จะเริ่มโผล่ออกมา จากใบธง (ใบยอด) ให้ดึงช่อดอกตัวผู้ทิ้งโดยใช้มือหนึ่งจับลำ ต้นไว้ อีกมือหนึ่งจับใบข้าวโพดที่บานอยู่ ตรงกลางของยอด ดึงออกมาตรงๆการถอดยอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมเกสร เพราะถ้ามีการผสม เกสรเกิดขึ้นข้าวโพดฝักอ่อนจะมีคุณภาพด้อยลง เนื่องจากเมล็ดจะโป่งพอง และทำ ให้ข้าวโพดไม่ได้ มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้การถอดยอดยังช่วงเร่งให้สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น และยัง ช่วยให้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเพิ่มขึ้นด้วย การถอดยอดเป็นเทคนิคสำ คัญที่เกษตรกรไม่ควรละเลยเพื่อ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี


การเก็บเกี่ยว

Corn c-11
          การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม (Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ
          1. สังเกตจากไหม เริ่มโผล่พ้นปลายฝัก มีความยาว 1-2 เซนติเมตร จะเป็นช่วงที่เหมาะสมใน การเก็บเกี่ยวที่สุด 
          2. เก็บเกี่ยวจากฝักบนสุดเป็นฝักแรก และฝักอื่นๆ ถัดตํ่าตามลงมา การหักฝักควรหักให้ติดลำ ต้นไปด้วย เพราะจะทำ ให้มองเห็นต้นที่เก็บเกี่ยวแล้ว 
          3. เก็บเกี่ยวทุกวัน เพื่อมิให้ฝักแก่เกินไป 
          4. ถ้าเกษตรกรใช้พันธุ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่มีความชำ นาญ เนื่องจากพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนแต่ละพันธุ์ จะมีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่ 40-60 วัน เกษตรกรจึงควรเก็บตัวอย่างข้าวโพดที่มีไหมยาวแตกต่างกัน มากรีดดูรูปร่างและขนาดของฝัก จะทำ ให้รู้ว่า ควรเก็บฝักตอนที่ไหมยาวขนาดไหน 
          5. การเก็บฝักเพื่อส่งออกในรูปฝักสด ควรเก็บเกี่ยว 2 ฝักต่อต้น เกษตรกรไม่ควรเก็บฝักที่ 3 เนื่องจากฝักมักจะไม่สมบูรณ์ ไม่ได้คุณภาพส่งออก การเก็บเกี่ยวข้าวโพดอ่อนในระยะเวลาถูกต้อง เป็น หัวใจสำ คัญของการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน คุณภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับช่วงนี้ หากเก็บเกี่ยวไม่ถูกต้อง เช่น ช้าไป ไหมโผล่ยาวจากฝักมากจะได้ฝักที่มีขนาดใหญ่เกินมาตรฐานความต้องการของโรงงานหรือผู้ ส่งออกฝักสด ซึ่งต้องคัดออกเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง


มาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน
        เพื่อจะผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่มีคุณภาพดี เกษตรกรจะต้องรู้มาตรฐานและคุณภาพของข้าวโพด ฝักอ่อนที่ผู้ซื้อต้องการ ขนาดของข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม จำ แนกเป็น 3 เกรด คือ 
1. ขนาดฝักยาว 9 - 13 ซม. (L), 
2. ขนาดฝักยาว 7-9 ซม. (M), 
3. ขนาดฝักยาว 4-7 ซม. (S)  
* ส่วนใหญ่โรงงานจะผลิตเกรด S, M มากกว่า L


การรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
        1. เมื่อเก็บฝักข้าวโพดฝักอ่อนแล้ว เกษตรกรควรรีบนำ เข้าที่ร่ม หรือโรงเรือนที่มีการระบาย อากาศที่ดี พยายามจัดวางให้ผลผลิตได้ระบายความร้อน ไม่ควรเก็บข้าวโพดฝักอ่อนไว้เป็นกองสูงๆ และไม่ควรทิ้งไว้หลายวัน ถ้าเป็นไปได้ควรนำ มาลอกเปลือกออกทันทีหลังการเก็บเกี่ยว
        2. ในการขนส่งควรทำ โดยเร็วที่สุด และไม่กองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน หรือพื้นรถบรรทุกโดยตรง ควรใส่ในภาชนะ ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปอกเปลือกแล้ว ควรบรรจุในกล่องกระดาษ หรือตะกร้าพลาสติกที่มี รูระบายอากาศ
        3. การปอกเปลือกข้าวโพดอ่อน ต้องกรีดไม่ให้เกิดบาดแผล ลอกไหมให้เกลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ เช่น มีด ภาชนะบรรจุ ต้องสะอาด
        4. ทำ ความสะอาดเพื่อลดปริมาณเชื้อราตามที่ต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ มีด หรือภาชนะที่ ใช้ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวถึงการบรรจุหีบห่อ และทำ ความสะอาดห้องเก็บรักษาในรูปของแก๊สหรือใช้สาร ละลายที่ฆ่าเชื้อโรคภายนอก เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ อัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในนํ้าฉีดพ่นหรือใช้โซเดียว ไฮโปคลอไรด์ เป็นต้น
        5. สำ หรับผู้ส่งออก ควรลดอุณหภูมิข้าวโพดฝักอ่อนที่มาจากแปลงปลูกโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำ ได้ วิธีที่นิยมใช้คือ การอัดลมเย็น (forced-air cooling) จะทำ ให้ลดการระบาดของการเน่า ลดการสูญเสีย นํ้าและความหวาน ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
        6. อุณหภูมิที่ใช้ในระหว่างการเก็บเกี่ยว หรือระหว่างการขนส่ง คือ 5 องศาเซลเซียส ความชื้น สัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์
        7. การบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม ไม่บรรจุมากเกินไปในกล่องเดียวกัน การเก็บรักษาในถาดโฟมที่ หุ้มด้วยฟิล์ม PVC จะช่วยป้องกันผลผลิตให้คงมีคุณภาพดี
        8. หลีกเลี่ยงการเกิดบาดแผลหรือความชอกชํ้าบนฝัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่การปอกเปลือกตลอดจนการ บรรจุหีบห่อ การขนส่งและการปฏิบัติอื่น ๆ หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำ ให้ง่ายต่อการที่เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น

เพิ่มเติม
http://www.youtube.com/watch?v=eR1OcCGm50s  การปลูกข้าวโพดอ่อน (เกษตรนำไทย)
http://www.youtube.com/watch?v=eQNv0kRO8aU   การปลูกข้าวโพดอ่อน (ภัตตาคารบ้านทุ่ง)

สินค้าที่จำหน่าย   รายละเอียดเพิ่มเติม