วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เบบี้สปิแนช (Baby Spinach)




เบบี้สปิแนช : Baby Spinach

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spinacia oleracea
อยู่ในวงศ์ : Chenopodiaceae
เบบี้สปิแนช เป็นพืชชนิดเดียวกับผักปวยเล้ง โดยจะใช้ต้นอ่อนในการรับประทาน เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ชอบอากาศหนาวเย็น ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมสั้นๆ มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ มีสีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงรียาว โคนใบกว้างใหญ่ ปลายใบเรียวรี ผิวใบบางเรียบ มีก้านใบยาวอวบ ใบมีสีเขียว มีรสชาติหวานกรอบ นิยมรับประทานเป็นสลัด นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู มีปลูกหลายสายพันธุ์

ลักษณะทั่วไปของเบบี้สปิแนช 
- ลำต้น มีขนาดเล็ก เป็นลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมสั้นๆ มีก้านใบยาวยื่นออกมาจากลำต้น โดยออกเรียงซ้อนสลับไปมาโดยรอบลำต้น ก้านใบมีสีเขียวอ่อน
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงรียาว โคนใบกว้างใหญ่ ปลายใบเรียวรี ผิวใบบางเรียบ มีก้านใบยาวอวบ ใบมีสีเขียว มีรสชาติหวานกรอบ โดยทั่วไปเบบี้สปิแนชจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของผิวใบคือ แบบใบเรียบ  ใบเป็นลอนคลื่น และใบกึ่งเรียบกึ่งลอนคลื่น  โดยสายพันธุ์ที่เซนฯ นำเข้ามาจำหน่ายนี้เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะของใบเรียบ สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น
- ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมๆ แทงลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็กๆ ออกตามแนวราบ มีสีน้ำตาล
- ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ออกตามซอกใบและที่ปลายยอด มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อย อยู่เป็นกระจุก ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลืองหรือสีเขียว
- ผล มีลักษณะทรงกลม ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดอยู่
- เมล็ด อยู่ในผล มีลักษณะทรงกลม มีขนาดเล็กๆ มีสีเทา ถึงน้ำตาลเข้ม

การปลูกและขยายพันธุ์เบบี้สปิแนช
เบบี้สปิแนชเป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น มีวิธีการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์

การเพาะเมล็ดเบบี้สปิแนชและปวยเล้ง
เบบี้สปิแนชเป็นพืชที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดคือ 4 - 10 องศา C โดยใช้เวลาในการงอกจากเมล็ดประมาณ 10 - 20 วัน  การเพาะเมล็ดในอุณหภูมิปกติแบบบ้านเรา (30 - 40 องศา C) เมล็ดเบบี้สปิแนชและปวยเล้งจะไม่งอกหรืออัตราการงอกต่ำ ดังนั้นการเพาะเมล็ดเบบี้สปิแนชและปวยเล้งผู้ปลูกต้องทำการกระตุ้นการงอกของเมล็ดก่อนนำไปปลูก โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นำเมล็ดไปแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศา C หรือจะใช้น้ำอุณหภูมิปกติก็ได้ แต่ควรเป็นน้ำที่ไม่มีคลอรีน หรือเป็นน้ำที่ผ่านระบบกรองเรซิน โดยแช่เมล็ดทิ้งไว้ประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง (1 คืน)
2.เตรียมกล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท รองด้านในกล่องด้วยทิชชูสีขาวประมาณ 4-5 ชั้น
3.พรมน้ำลงบนกระดาษทิชชูให้เปียกแต่อย่าให้มีน้ำขังในกล่อง
4.วางเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว 1 คืน วางลงบนกระดาษทิชชูให้ทั่ว แล้วปิดฝากล่องให้สนิท
5.จากนั้นให้นำกล่องเพาะนั้นไปใส่ไว้ในตู้เย็น ช่องแช่ผักหรือช่องปกติ ทิ้งไว้ประมาณ 10 - 20 วันให้มาเปิดฝากล่องดูจะเริ่มเห็นว่าส่วนปลายของเมล็ดเริ่มมีรอยแตก และมีปลายรากสีขาวงอกออกมา
6.สำหรับเมล็ดที่มีรากเริ่มงอกออกมาแล้วนี้ผู้ปลูกสามารถนำเมล็ดนั้นไปเพาะใส่วัสดุเพาะเพื่อนำไปปลูกต่อในอุณหภูมิปกติได้เลยครับ

วิธีดูแลรักษาเบบี้สปิแนช
เบบี้สปิแนชเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้เจริญเติบโตได้เร็ว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเบบี้สปิแนช
เบบี้สปิแนชให้ผลผลิตได้ มีอายุประมาณ 15-35 วัน ตามสายพันธุ์ หลังปลูกลงในแปลง ต้นอ่อนจะโตเต็มที่ ให้หรือถอนออกทั้งต้น หรือใช้มีดคมๆตัดตรงโคนต้น แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้งไป แล้วนำใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ให้ระวังอย่าให้โดนความร้อนหรือแสงแดด จะทำให้เหี่ยวได้

วิธีเก็บรักษาเบบี้สปิแนช
จะนำเบบี้สปิแนช แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด ล้างก้านใบให้สะอาด เราจะมีวิธีเก็บรักษาให้สดนานๆ คือให้ล้างน้ำให้สะอาดดี แล้วให้สะเด็ดน้ำออกให้หมด แล้วนำมาห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบาง แล้วใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะเก็บไว้ได้นาน

ประโยชน์และสรรพคุณเบบี้สปิแนช
เบบี้สปิแนช มีแคลเซียม มีเส้นใย พลังงาน มีวิตามินซี มีโพแทสเซียม มีวิตามินเอ มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2  วิตามินบี3  วิตามินบี5  วิตามินบี6  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  แมกนีเซียม  ไนอาซีน   เบตาแคโรทีน  โฟเลต  วิตามินเค  แมงกานีส  ช่วยบำรุงเลือด ช่วยห้ามเลือด ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยบำรุงฟัน ช่วยบำรุงสายตา ช่วยลดอาการตาบอดกลางคืน ช่วยลดความเสี่ยงของต้อกระจก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงประสาท ช่วยบำรุงความจำ ช่วยผ่อนคลาย ช่วยนอนหลับ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยระบบขับถ่าย แก้ท้องผูก

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตั้งโอ๋ญี่ปุ่น (Shungiku)



ตั้งโอ๋ (Garland Chrysanthemum) เป็นผักต่างประเทศในแถบประเทศจีน และญี่ปุ่น นิยมอย่างมากเพื่อประทานสด และประกอบอาหาร โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ที่ใช้ทำอาหารในแถบทุกเมนู เนื่องจาก ลำต้น และใบมีความกรอบ หวาน และมีกลิ่นหอม


ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย
ตังโอ๋ เป็นผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับดอกเบญจมาศ และเก็กฮวย มีแหล่งกำเนิดเอเชียตอนบน ได้แก่ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ของเอเชีย ปัจจุบัน พบนำเข้ามาปลูกในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น  ผักตังโอ๋ เป็นผักฤดูเดียว ในระยะต้นอ่อนมีลำต้นสั้นๆ เมื่อถึงระยะออกดอกลำต้นขยายยาวขึ้น กลายเป็นช่อดอก
2. ใบ   ตั้งโอ๋ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตรงข้ามกันบนลำต้น ขนาดใบกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ และบาง ขอบใบหยักเว้าแหว่งลงลึก และแผ่นใบยาวตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่อเติบโตถึงระยะออกดอก แผ่นใบจะเรียวยาวมากขึ้น และเว้าลึกมากขึ้น
 
3. ดอก  ดอกตั้งโอ๋มีลักษณะคล้ายดอกดอกเบญจมาศหรือดอกเก็กฮวย ดอกมีก้านดอกยาว ทรงกลมสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลืองล้อมรอบดอก ประมาณ 12-14 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายกลีบตัด และหยักเว้าเป็นช่วงๆ ขนาดดอกเมื่อบานประมาณ 3-8 เซนติเมตร ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นก้านยาวสีเหลืองล้อมรอบจำนวนมาก ตรงกลางด้านในสุดเป็นเกสรตัวเมีย และฐานดอกเป็นรังไข่
4. เมล็ด   ตั้งโอ๋มีลักษณะของผลหุ้มเมล็ดคล้ายกับของดอกเบญจมาศ และเก็กฮวย โดยผลจำนวนมากขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะผลเรียวยาว มีขั้วผล และปลายผลแหลม กลางผลพองใหญ่ เปลือกหุ้มผลมีสีน้ำตาลอมดำ แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด แต่ละเมล็ดมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เปลือกเมล็ดบางติดกับเนื้อเมล็ด สีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลดำ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ garland chrysanthemum seed
            ตั้งโอ๋ เป็นพืชที่มีสารอาหาร และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิ คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, วิตามิน C, วิตามินบี2, แคลเซียม, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, ไลซีน และ เบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยในการเสริมสร้างพลังงาน และช่วยการทำงานของอวัยวะต่างๆให้เป็นปรกติ รวมถึงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ดีอีกด้วย
สรรพคุณตังโอ๋
– ช่วยต้านเซลล์มะเร็ง
– ช่วยแก้อาการร้อนใน
– ต้านเลือดออกตามไรฟัน
– ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
– ในตำราแพทย์จีนเชื่อว่า ตังโอ๋ช่วยบำรุงตับ ม้าม และเสริมการทำงาน
– ช่วยในการย่อยอาหาร และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร
– กำจัดความชื้นในปอด กระตุ้นการทำงานของปอด
– ช่วยขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการไอ และอาการระคายคอ
– ช่วยแก้อาการสะอึก
– ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และเจ็บหน้าอก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ
– ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
การปลูกตังโอ๋
ตังโอ๋ เป็นพืชที่ใช้วิธีขยายพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดเป็นหลัก มีขั้นตอนดังนี้
การเพาะเมล็ด
ตั้งโอ๋สามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินหรือแบบไร้ดินก็ได้ โดยการเพาะเมล็ดสามารถนำเมล็ดไปเพาะลงวัสดุปลูกได้โดยตรง โดยเมล็ดตั้งโอ๋จะงอกจากเมล็ดหลังจากได้รับน้ำประมาณ 2 วัน
การเตรียมแปลง
แปลงปลูกตั้งโอ๋ ควรไถพรวนแปลงก่อน 1-2 รอบ แต่ละรอบตากดินนาน 5-10 วัน พร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด และก่อนไถรอบ 2 ให้หว่านรองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ แล้วไถยกแปลงในครั้งที่ 2 ขนาดแปลงกว้าง 1-1.5 เมตร เว้นช่องว่างระหว่างแปลง ประมาณ 40 เซนติเมตร
การเพาะกล้า
การเพาะกล้าตังโอ๋ อาจเพาะลงแปลงหรือเพาะในกระบะเพาะ โดยการเพาะลงแปลง ต้องเตรียมแปลงด้วยการพรวนดินก่อน ขนาดแปลงขึ้นอยู่กับปริมาณการปลูก แต่ควรเพาะในแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร ส่วนความยาวตามต้องการ เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และย้ายกล้า ส่วนการเพาะในกระบะ ให้หยอดเมล็ดลงหลุมกระบะ ประมาณ 2-3 เมล็ด/หลุม จากนั้น รดน้ำให้ชุ่ม และดูแลต่อประมาณ 7-10 วัน หลังวอก ค่อยย้ายปลูกลงแปลง
วิธีปลูก
การปลูกตั้งโอ๋คล้ายกับการปลูกผักอายุสั้นทั่วไป คือ ปลูกลงแปลงขนาด 1-2 เมตร เว้นช่องแปลงเพื่อเข้าเก็บ ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลูกจากต้นกล้าเรียงเป็นแถว ระยะห่างระหว่างแถว และต้น ประมาณ 10-15 เซนติเมตร หรือเกษตรกรบางรายอาจใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลงแทนการเพาะกล้า ซึ่งได้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก
การดูแล
– การให้น้ำ ในระยะหลังย้ายกล้าวันแรกจนถึง 7-10 วัน ควรให้น้ำทุกวัน ให้ในปริมาณเพียงชื้นหน้าดิน จากนั้น ลดการให้น้ำ 2 วัน/ครั้ง จนถึงต้นพร้อมเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และความแล้ง แต่ควรมั่นตรวจสอบหน้าดินในแปลงไม่ให้แห้ง
– การใส่ปุ๋ย ให้ใส่หลังย้ายกล้าปลูก 7-10 วัน หรือ 10-15 วัน หรือใส่ครั้งเดียว ประมาณ 15-20 วัน หลังการเมล็ดงอกสำหรับการปลูกแบบหว่านเมล็ด โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก ด้วยการหว่านปุ๋ยลงแปลง
– การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชทุกๆ 20 วัน ด้วยการถอนต้นด้วยมือเป็นหลัก
การเก็บเกี่ยว
ตั้งโอ๋เป็นพืชอายุสั้น ฤดูเดียว นิยมเก็บลำต้น และใบ ก่อนระยะออกดอก เพราะใบ และลำต้นมีขนาดใหญ่ หากปล่อยให้ถึงระยะออกดอก จะมีลำต้น และใบเรียวเล็ก ใบเว้าแว่งมาก ไม่ค่อยกรอบ และหยาบ ตั้งโอ๋เริ่มเก็บลำต้น และใบได้ ตั้งแต่ 20-30 วัน หลังย้ายกล้าปลูก หรือประมาณ 30-45 วัน หลังเมล็ดงอก ทั้งนี้ การเก็บตั้งโอ๋ ให้เก็บด้วยการถอนทั้งต้น หรือ ใช้มีดตัดโคนต้นออก สำหรับการทานแบบไมโครกรีนปกติจะเก็บมารับประทานเมื่อผักมีอายุได้ไม่เกิน 30 วัน

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

คะน้าใบหยิก แบล็คเมจิก (Black MagicKale)



ตัวอย่างเคล Black Magic Kale ที่ทางเซนฯ ได้ทดลองปลูกในกระถางขนาด 8 นิ้ว












 



























































แรดิชกลม สีแดง (Round Red Radish)


ข้อมูลพื้นฐาน 
               แรดิช (Radish) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Raphanus Sativus L. Var.Radicula  เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับกะหล่ำ  มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอียีปต์  ต่อมาได้แพร่กระจายเข้ามาปลูกในประเทศจีน และญี่ปุ่น รวมถึงยุโรปตอนกลาง  แรดิชเป็นพืชที่มีปายุปลูกสั้นเพียง 20 - 30 วัน มีรากสะสมอาหารใต้ดินที่เรียกว่าหัว มีลัดษณะกลม หรือทรงรี ผิวเป็นมันมีสีต่างๆ ตามชนิดและสายพันธุ์ อาทิเช่น  สีแดง, สีขาว, สีม่วง, สีชมพู, สีดำ ฯลฯ


สภาพแวดล้อมในการปลูก
               แรดิช เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้นลักษณะของดินที่ใช้ปลูกควารเป็นดินร่วนปนทราย  มีอินทรีย์วัตถุสูง  หน้าดินลึกพอสมควร  มีการระบายน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรดด่า
ประมาณ 6.0 - 6.8  ก่อนปลูกควรมีการย่อยดินให้ละเอียด ไม่มีเศษหินหรือเป็นดินก้อนแข็งๆ หรือปลูกคอกที่ยังไม่ย่อยสลาย เนื่องจากจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ  แรดิชเป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการปลูก แต่ต้องไม่แฉะ และเป็นพื้นที่ๆ ได้รับแสงแดดตลอดวัน เพื่อการเจริญเติบโตและการลงหัว  ดังนั้นควรปลูกในพื้นที่โล่งแจ้งไม่มีร่มเงาบัง


วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สลัด บัตเตอร์เฮดเขียว (Green Butterhead Lettuce : Optima Lettuce)



ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัด บัตเตอร์เฮด Optima (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 0.5 - 1.0 ms/cm


2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm


3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 0.8 - 1.0 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 50 - 60  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

ทางเซนฯ ได้ทดลองปลูกสลัด บัตเตอร์เฮด Optima ในแปลงปลูกขนาด 45 ช่องระบบ DRFT ใช้ค่า EC 0.8 - 1.5 ms/cm   Ph 5.8 - 6.3










วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

สลัด สไปกี้ ไอซ์เบริกส์ (Spiky Iceberg Lettuce) "ฟิเลย์ไอซ์เบริกส์"



ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัด สไปกีั (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 0.5 - 1.1 ms/cm


2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm


3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 0.8 - 1.0 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

ทางเซนฯ ได้ทดลองปลูกสลัด สไปกี้ ในแปลงปลูกขนาด 30 ช่องระบบ DRFT ใช้ค่า EC 0.8 - 1.3 ms/cm   Ph 5.8 - 6.3