วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

แตงโมญี่ปุ่น (Japanese Watermelon)



ประวัติความเป็นมาของแตงโมญี่ปุ่น

          แตงโม เป็นพืชเถาเลื้อย อยู่ในวงศ์ (Citrullus lanatus var. lanatus, family Cucurbitaceae) มีต้นกำเนิดมาจากภาคใต้ของแอฟริกา  ในศตวรรษที่ 7 ได้มีการนำเมล็ดมาปลูกแพร่หลายในอินเดีย และเริ่มเข้ามาปลูกในประเทศจีน เมื่อถึงศตวรรษที่ 10  หลังจากนั้นชาวยุโรปก็เข้าไปปลูกในภาคใต้ของยุโรป  ต่อมาชาวสเปนได้มาตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาและได้นำเมล็ดแตงโมมาเพาะปลูกทำไร่ในฟลอริด้า ในปี 1576  ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวอเมริกันที่มาตั้งฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นได้นำสายพันธุ์แตงโมมาปลูกในญี่ปุ่น 

           ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์แตงโม ให้ได้แตงโมที่มีขนาดเล็กและมีความหวานสูง  ที่เรียกว่า "Japanese Icebox Watermelon"  โดยเกษตรกรชาวญี่ปุ่นได้คิดประดิษฐ์กล่องหรือภาชนะสำหรับสร้างรูปทรงให้กับผลแตงโม ช่วงแรกได้สร้างเป็นกล่องลูกบาศก์เพื่อให้ได้ผลแตงโมเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อสะดวกในการขนส่งและสามารถใส่ในตู้เย็นเพื่อประหยัดพื้นที่  ต่อมาได้มีการพัฒนาสร้างรูปทรงแบบต่างๆ ขึ้นเพื่อให้เกิดความหลากหลายและสวยงามเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

          แตงโมสายพันธุ์ญี่ปุ่นมีอยู่ประมาณ 10 กว่าสายพันธุ์  แตงโมญี่ปุ่นเป็นแตงที่มีความหวานและกลิ่นหอมที่เป็นแบบเฉพาะของแตงสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่แตงโมสายพันธุ์อื่นไม่มีจึงทำให้แตงโมสายพันธุ์จากญี่ปุ่นจึงมีราคาแพงมาก  โดยราคาเฉลี่ยที่จำหน่ายทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 100 - 200 $ USD หรือลูกละประมาณ 3,000 - 7,000 บาท แต่ถ้ามีการทำรูปทรงแบบต่างๆ แล้วราคาอาจจะกระโดดไปถึงราคาหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว




วิธีการเพาะเมล็ดแตงโม
          แตงโมเป็นพืชตระกูลแตงที่ต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส ในการงอกจากเมล็ด กรณีที่ปลูกในช่วงที่มีอากาศเย็นจะทำให้เมล็ดแตงงอกช้าหรืออาจจะไม่งอกจากเมล็ดเลย ดังนั้นการเพาะเมล็ดแตงโมให้งอกอย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีการกระตุ้นการงอกด้วยอุณหภูมิที่สูงก่อน โดยมีขั้นตอนการเพาะเมล็ดแตงโม ดังนี้

1. นำเมล็ดแตงโมไปแช่ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส ประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง

2. นำเมล็ดแตงโมที่แช่น้ำอุ่นมาแล้วไปล้างด้วยน้ำสะอาดประมาณ 2 - 3 น้ำเพื่อล้างเมือกที่เกาะเมล็ดออก สังเกตเมล็ดที่ล้างแล้วจะไม่ค่อยลื่นมาก

3. นำเมล็ดแตงโมมาผึ่งให้พอแห้งหมาดๆ

4. ใช้กระดาษชำระซ้อนกันสัก 3 - 4 ชั้น ห่อเมล็ดแตงโมเอาไว้และพรมน้ำเล็กน้อยพอให้มีความชื้น (แต่อย่าให้แฉะมากจะทำให้เมล็ดงอกช้าหรืออาจเน่าได้) นำผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาดๆห่อกระดาษชำระอีกชั้นหนึ่ง แล้วนำผ้าที่ห่อเมล็ดนั้นในบ่มไว้ในกระติกน้ำ หรือกล่องถนอมอาหาร โดยวางกระติกน้ำนั้นในอุณภูมิห้องปกติ

5.หลังจากบ่มเมล็ดไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง (2 วัน) ให้แกะห่อเมล็ดออกดูจะพบว่าเมล็ดแตงโมเริ่มมีรากสีขาวออกมาจากเมล็ด ก็ให้ใช้คีมคีบเมล็ดไว้ใส่วัสดุเพาะเกล้าได้เลยโดยในที่นี้จะแนะนำให้ใช้วัสดุผสม คือ พีทมอส 1 ส่วน ผสม ขุยมะพร้าวร่อนละเอียด 1 ส่วน ใส่ลงถาดหลุมเพาะเกล้า แล้วฝังเมล็ดแตงโมที่งอกแล้วลงวัสดุให้ลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร แล้วรดน้ำวัสดุให้พอชุ่ม

6.นำถาดเพาะไปวางไว้ใต้แสลนพรางแสงประมาณ 50% และรดน้ำทุกวันๆ ละ 2 ครั้งคือช่วงประมาณ 9.00 น. และ 13.00 น.  ให้อนุบาลเกล้าจนอายุได้ประมาณ 10 - 15 วัน หรือมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลยครับ

          การย้ายเกล้าลงปลูกนั้นควร งดการรดน้ำก่อนเพื่อให้วัสดุเพาะเกล้าจับตัวแข็งเพื่อเวลาดึงต้นเกล้าออกมาวัสดุปลูกจะไม่แตกหลุดออกจากราก และควรย้ายในช่วงบ่าย-ถึงเย็นเพื่อให้ต้นเกล้ามีระยะเวลาปรับตัวในช่วงกลางคืน


          สำหรับการเตรียมเกล้าแตงโมนั้น ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกานิยมใช้เทคนิกที่เรียกว่า "กราฟติ้ง" (Grafting)  ซึ่งนิยมทำกันมาในพืชตะกูลแตง และมะเขือเทศ ในที่นี้ผมจะกล่าวถึงเฉพาะการกราฟติ้งต้นแตงโม โดยใช้ระบบรากของต้นฟักทอง  ธรรมชาติของพืชตระกูลแตงจะมีความอ่อนไหวต่อโรคที่เกิดจากเชื้อรามากโดยเฉพาะเชื้อราที่เกิดกับระบบราก  การใช้เทคนิคกราฟติ้งจะใช้ต้นหลักเป็นต้นฟักทองซึ่งเป็นพืชที่มีระบบรากแข็งแรงทนต่อเชื้อรา และเป็นพืชที่มีรากดูดซึมอาหารได้ดีกว่าพืชตระกูลแตงทั่วๆไป



ขั้นตอนการเสียบยอด (Grafting) ต้นแตงโมกับต้นฟักทอง
https://www.youtube.com/watch?v=bv8sLfYV60E
https://www.youtube.com/watch?v=XVVM-bUj574


          หลังจากเสียบยอดต้นเกล้าแล้วต้องคลุมด้วยพลาสติกแล้วนำไปไว้ในที่ร่มเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากพืชและทำให้ต้นเกล้าเชื่อมต่อกันได้ดี โดยกระบวนการเชื่อมต่อสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน หลังจากต้นเกล้าแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปลงแปลงปลูกต่อไปได้

การปลูกแตงโมในญี่ปุ่น
https://www.youtube.com/watch?v=OZYmxCvie7Q
https://www.youtube.com/watch?v=AbTEDFCfelk


การปลูกแตงโม
          แตงโมเปนผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารูจักบริโภคกันมานาน แลว นอกจากนิยมใชผลรับประทานแลว สวนของผลออนยอดออน ยัง ใชในการปรุงอาหารไดหลายชนิด แตงโมเปนพืชที่ปลูกงายสามารถ ปลูกไดทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกฤดูกาลตลอดปแตงโมปลูกไดใน ดินแทบทุกชนิดแตปลูกไดดีในสภาพดินรวนปนทราย ซึ่งมีสภาพความ เปนกรดเปนดาง ประมาณ 5.0–7.5 มีการระบายนํ้าไดดี



ฤดูปลูก 
          เนื่องจากแตงโมจะขาดตลาดและมีราคาสูงในตอนกลางและปลายฤดูฝนเพราะวาในชวงดัง กลาวจะปลูกแตงโมไดยากลําบาก เนื่องจากตนแตงโมไมชอบฝนชุกจะตายดวยโรคเถาเหี่ยวเปนสวน ใหญ และเกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเนางายอีกทั้งรสชาติจะไมหวานจัดเหมือนแตงโมที่ปลูกในฤดู แลง หรือในฤดูหนาว ฉะนั้นจึงควรเริ่มปลูกแตงโมตั้งแตตนเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม และ เก็บเกี่ยวครั้งสุดทายในเดือนมิถุนายน ซึ่งยังเปนตนฤดูฝนอยูและมีผูตองการบริโภคแตงโมกันมาก


ดินและการเตรียมดิน 
          แตงโมเปนพืชที่หยั่งรากลึกมากกวา 120 เซนติเมตร และตองการดินที่อุดมสมบูรณมีความชุม ชื้นมากพอ ฉะนั้นถามีการไถพรวนหรือขุดยอยดินใหมีหนาดินรวนโปรงและลึกก็จะชวยปองกันการขาด นํ้าไดเปนอยางดีในระยะที่ตนแตงโมกําลังเจริญเติบโต การเตรียมดินใหหนาดินลึกรวนโปรง จะชวยทํา ใหดินนั้นยึดและอุมความชื้นไดมากขึ้น และเปนทางเปดใหรากแตงโมแทรกตัวเองลึกลงไปใตดินซึ่งจะ ชวยใหรากหาอาหารและนํ้าไดกวางไกลยิ่งขึ้นและเปนการชวยทําใหพืชสามารถใชนํ้าใตดินมาเปน ประโยชนไดอยางดีอีกดวย ถาจําเปนตองปลูกแตงโมในหนาฝนควรเลือกปลูกในดินที่มีการระบายนํ้าดี คือเปนดินเบา หรือดินทราย แตถามีที่ปลูกเปนดินหนัก หรือ คอนขางหนัก ควรปลูกแตงโมในหนาแลง และขุดดิน หรือไถดินใหลึกมากที่สุดจะเหมาะกวา


การจัดเถาแตงโม 
          ถาปลอยใหเถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแตละตนก็จะเลื้อยทับ กัน และซอนกันจนหนาแนน ทําใหผลผลิตลดนอยลง เนื่องมาจากแมลงที่จะชวยผสมเกสรไมสามารถเข้าไปได้ทั่วถึง  ฉะนั้น เมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1 ฟุต ให้ทำการตัดยอดแตง และไว้กิ่งแขนงหรือเถา ไว้ต้นละ 3-4 เถา แล้วทำการจัดเถาใหเลื้อยไปในทางเดียวกันเพื่อสะดวกในการดูแล


การชวยผสมเกสรดวยมือ (การตอดอก)
          ผูปลูกแตงโม มักประสบปญหาแตงโมไมติดผลเนื่องจากไมมีแมลงชวยผสม เพราะใชสารฆา แมลงฉีดพนตนแตงโมมากไปและไมเลือกเวลาฉีด ทําใหแมลงที่ชวยผสมเกสรเชน ผึ้ง ถูกสารฆาแมลง ตายหมด จึงเกิดปญหาไมมีผึ้งชวยผสมเกสร จึงตองใชคนผสมแทน เราสามารถผสมพันธุแตงโมไดตั้ง แตเวลา 06.00 น. ถึง 10.00 น. หลังจากเวลา 10.00 น.ไปแลวดอกตัวเมีย จะหุบและไมยอมรับการ ผสมเกสรอีกตอไป การผสมดวยมือทําไดโดยเด็ดดอกตัวผูที่บานมาปลิดกลีบดอกสีเหลืองของดอกตัวผู ออกเสียกอน จะเหลือแตอับเรณู ซึ่งมีละอองเกสรตัวผูเกาะอยูทั่วไป จากนั้นจึงควํ่าดอกตัวผูลงบนดอก ตัวเมียใหอับเรณูของดอกตัวผู แตะสัมผัสกับเกสรตัวเมียโดยรอบ ใหละอองเกสรตัวผูสีเหลืองจับอยูบน เกสรตัวเมียทั่วกันทั้งดอก ก็เปนอันเสร็จสิ้นการผสมซึ่งวิธีนี้ชาวบานเรียกวา “การตอดอก”


การปลิดผลทิ้ง 
          แตงโมผลแรกที่เกิดจากเถาหลัก สวนใหญ่จะมีขนาดเล็กและคุณภาพตํ่าเราควรปลิดทิ้งตั้งแตลูกยังเล็กๆ และแตงที่มีลักษณะผลบิดเบี้ยวก็ควรปลิดทิ้งดวย ผลแตงที่ปลิดทิ้งไมควรปลอยใหโตเกินลูกปงปอง หรือผลฝรั่ง แตง ที่ปลิดทิ้งนี้สามารถขายหรือรับประทานเปนผลแตงออนได  ตนแตงโมแต่ละเถาอาจติดเปนผลไดหลายผล แต่สุดท้ายจะใหเลือกผลที่ มีกานขั้วผลขนาดใหญและรูปทรงผลไดรูปสมํ่าเสมอทั้งผลไวแค่เถาละ 1 ลูก เพื่อให้ได้แตงที่มีคุณภาพ


การปฏิบัติตอผลแตงโมภายหลังผสมติดเปนผลแลว 
          ดอกตัวเมียของแตงโม ที่ไดรับการผสมเกสรอยางสมบูรณก็จะเจริญเติบโตอยางสมํ่าเสมอติดตอ กันไปวันตอวัน เมื่อผลแตงโมมีขนาดเทากับกะลามะพราว ควรเอาฟางรองใตผล เพื่อไมใหผิวผลสัมผัส ดินโดยตรง และควรมีการกลับผลแตงเพื่อให้ถูกแสงแดดทั่วกันทั้งลูกและการกลับผลแตงยังจะทําใหแตงโมมีรสหวานมากขึ้นอีกด้วย 


การเก็บผลแตงโม 
          แตงโมเปนพืชที่ผลแกแลวไมแสดงอาการวาสุกออกมาใหเห็นเหมือนผลมะเขือเทศ หรือ พริก ซึ่งจะเปลี่ยนสีเปนสีแดง  ฉะนั้น การดูวาแตงโมแกเก็บไดหรือยัง จึงตองพิจารณาจาก

1. คาดคะเนการแกของผลแตงโมดวยการนับอายุผลหลังจากการผสมเกสร ซึ่งขึ้นอยูกับสายพันธุของแตงโม และอุณหภูมิ ของอากาศด้วย

2. มือเกาะที่อยูใกลกับขั้วของผลเปลี่ยนเปนสีเหลืองและแหงเปนบางสวนจากปลาย มาที่ส่วนโคน 

3. วัดความแกออนของผลแตงโมไดจากการดีดฟงเสียง หรือตบผลเบาๆ ฟงเสียงดูถามีเสียง ผสมกันระหวางเสียกังวานและเสียงทึบ แตงจะแกพอดี (แกประมาณ 75%) มีเนื้อเปนทรายถาดีดแลวเปนเสียง กังวานใส แสดงวาแตงยังออนอยู ถาดีดแลวเสียงทึบเหมือนมีลมอยูขางใน แตงจะแกจัดเกินไปที่ชาว บานเรียกวา “ไสลม” (แตวิธีนี้ใชไมไดกับผลแตงที่เปนโรคเถาตาย) ควรเก็บผลแตงในช่วงบายไมควรเก็บผล ตอนเชาเพราะจะทําใหผลแตงแตกได 

4. สังเกตนวลของผล ถาจางลงกวาปกติแสดงวาแตงเริ่มแก


โรคที่สําคัญของแตงโม
1. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟวซาเรียม) 
          แตงโมที่เปนโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยว จริงบริเวณโคนเถาที่ใกลกับดิน จะแตกตามยาวและมีนํ้าเมือกซึมออกมา เมื่อผาไสกลางถาดูจะเห็นภาย ในเปนสีนํ้าตาล โรคนี้จะระบาดมากในชวงแตงโมออกดอก การปลูกซํ้าที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก 

สาเหตุมาจาก
1.1. เชื้อรานี้เจริญและทําลายแตงโมไดดีที่อุณหภูมิระหวาง 24-28 องศาเซลเซียส 
1.2. ขณะแตงกําลังเจริญเติบโตมีฝนตกติดตอกันยาวนาน 
1.3. ดินมีธาตุไนโตรเจนอยูสูง แตมีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโปแตสเซี่ยม (K2O) อยูตํ่า 
1.4. ดินเปนกรดจัด 

การปองกัน 
1. อยาปลูกแตงโมซํ้าที่เดิม 
2. เริ่มคลุกเมล็ดพันธุดวยสารเคมีไดเทนเอ็ม – 45 อัตรา 15 กรัม ตอเมล็ดพันธุ 1 กิโลกรัม กอนนําไปปลูก 3. ใชปูนขาวใสดินเพื่อแกความเปนกรดของดิน ในอัตราไรละ 500 กิโลกรัม 
4. ใชสารเคมีไดเทน ที่มีความเขมขน 1 : 5 ฉีดที่ ตนพืชจะชวยทําใหเชื้อโรคชะงักลง 
5. สารเคมีกลุมพีซีเอ็นบีเชน เทอราคลอรในอัตรา 60 ซีซี. ผสมนํ้า 20 ลิตร ราดลงในหลุม แตงโมที่เกิดโรคและบริเวณขางเคียงทุก 7 วัน 


2. โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) 
          ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยว ลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพรอมกัน หมดทั้งตน แตใบยังคงเขียวอยู และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งตนสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อ แบคทีเรียไปอุดทอสงนํ้าเลี้ยงในตนแตงโม ถาเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นวากลางลําตนในเถาฉํ่านํ้ามากกวาปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยูในตัวของแมลงเตาแตงตนแตงโมไดรับเชื้อโรคจากการกัดกินใบ ของแมลงเตาแตงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเขาสูตนแตงโมทางแผลที่แมลงเตากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้น อยางรวดเร็ว แลวก็กระจายตัวเขาสูทอนํ้าและอาหารของแตงโม เราอาจปองกันกันและรักษาไดโดยฉีด สารเคมีเซวิน 85 ปองกันแมลงเตาแตงและใชยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน เชน อะกริมัยซิน ฉีดพนทุก สัปดาห ใชอัตราสวนผสมตามที่แจงไวในซองบรรจุสารเคมีที่จําหนาย เมื่อพบวาตนแตงโมบางสวนเริ่ม เปนโรคนี้ สารเคมีนี้ชวยรักษาและปองกันไดแตมีขอเสียคือ เสื่อมคุณภาพเร็วจึงตองซื้อแตสารเคมีใหม ใชเทานั้น ถาสารเคมีอะกริมัยซินเกาเกิน 1 ปขึ้นไป จะฉีดไมไดผล 


3. โรครานํ้าคาง 
          ลักษณะที่มองเห็นได คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญขึ้น จํานวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใตใบตรงตําแหนงเดียวกัน จะมีกลุมของเชื้อราสีมวงอมเทา เกาะกลุมอยู เชื้อโรคนี้เจริญไดอยางรวดเร็วเมื่ออากาศอุนและชุมชื้น เมื่อใบแกตายเชื้อก็จะไปทําลาย ใบออนตอไป เมื่อใบแหงไปหมดแลว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลนอยคุณภาพผลแกก็ตํ่าดวย สปอร ของเชื้อรานี้แพรระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเตาแตง สารเคมีที่ใชฉีดพนไดผลดีคือ แคปแทน ไซ เน็บ มาเน็บ ชนิดใดชนิดหนึ่งอัตราผสมใช1 กรัม ผสมนํ้า 500 ซีซี. (หรือครึ่งลิตร) หรือ 35-40 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร (1 ปบ)


แมลงศัตรูที่สําคัญ 
1. เพลี้ยไฟ เปนแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมากตัวออนจะมีสีแสด ตัวแกจะเปนสีดํามีขนาด เทาปลายเข็ม จะดูดนํ้าเลี้ยงที่ยอดออนของแตงโม และใตใบออนของแตงโม มีผลทําใหใบแตงโมไมขยาย ยอดหดสั้นลง ปลองถี่ ยอดชูตั้งขึ้น ชาวบานเรียก โรคนี้วา โรคยอดตั้ง บางแหงก็เรียก โรคไอโตง เพลี้ยไฟ จะบินไปเปนฝูง มีลักษณะเล็กละเอียด คลายฝุน สภาพฤดูแลงความชื้นในอากาศตํ่าลมจะ ชวยพัดพาเพลี้ยใหเคลื่อนที่เขาทําลายพืชผลในไร ไดรวดเร็วขึ้นในพืชผักที่ปลูกดวยกันเชน ฟกทอง แตงโม แฟง ฟก ในไรของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟ ทําลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถ ตานทานเพลี้ยไฟได และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีด พนยา เพลี้ยไฟจะหนีเขามายังสวนขางเคียงที่ไมไดฉีดสารเคมี การปองกันและกําจัดใชสารเคมีหลาย ชนิด เชน แลนเนท ไรเนต เมซูโรล หรือ อาจปลูกพืชเปนกันชน เชน ปลูกมะระจีนลอมที่ไวสัก 2 ชั้น แลวภายในจึงปลูกแตงโม เพราะมะระขึ้นคางจะชวยปะทะการแพรระบาดของเพลี้ยไฟใหลดลงได และ มะระที่โดนเพลี้ยไฟเขาทําลายจะตานทานไดและเสียหายเพียงเล็กนอยเทานั้น 

2. เตาแตง เปนแมลงปกแข็งชนิดหนึ่ง ที่ชอบกัดกินใบแตงขณะยังออนอยู ลักษณะตัวยาว ประมาณ 1 เซนติเมตร ปกสีเหลืองปนสม จะกัดกินใบแตงขาดเปนวงๆ ตามปกติเตาแตงลงกินใบออน ตนแตงโมหรือพืชพวกฟก แฟง แตงกวาอื่นๆ มักจะไมทําความเสียหายใหกับพืชมากนัก แตจะเปนพาหะ นําเชื้อโรคเถาเหี่ยวของแตงโมซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียมาสูแตงโมของเราจึงตองปองกันกําจัดโดยฉีดพนดวยสารเคมีเซวิน 85 ในอัตรา 20-30 กรัม ผสมนํ้า 20 ลิตร ฉีดในระยะทอดยอด ฉีดคลุมไวกอน สัปดาหละครั้งโดยไมตองรอใหแมลงเตาแตงลงมากินเสียกอนแลวคอยฉีดในภายหลัง ซึ่งจะทําใหปอง กันโรคเถาเหี่ยวของแตงโมไมทัน 

3. แมลงวันแตง เขาทําลายตั้งแตระยะติดดอกถึงเก็บเกี่ยว ใชพอสซหรือ อโซดริน ฉีดพน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น