1. โรคเน่าคอดิน (Damping off) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp.
เป็นโรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่พืชอยู่แปลงอนุบาลกล้า หรือแปลงเพาะเกล้า เนื่องจากการปลูกในที่อับทึบ, ไม่มีการระบายอากาศที่ดี, มีอุณภูมิสูง และมีต้นอ่อนเบียดกันมากเกินไป โดยต้นกล้าจะมีอาการเป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน (โคนต้น) เนื้อเยื่อตรงบริเวณแผลจะเน่าและแห้ง ทำให้ต้นกล้าหักพับ และเหี่ยวตายไปในที่สุด การแพร่ระบาดส่วนมากจะเกิดจากสปอร์ของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค ติดมากับเมล็ด, ในดิน, ในวัสดุปลูก, น้ำ โดยจะพบโรคนี้ได้ทุกฤดู และพบมากที่สุดคือช่วงปลายฤดูฝน
วิธีป้องกันและควบคุม
1. เลือกใช้เมล็ดจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค
2. ไม่เพาะเมล็ดเบียดติดกันมากเกินไป
3. ก่อนเพาะเมล็ดให้คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เช่น แมนโคเซบ, โปรปิโอเนบ อัตรา 7 - 10 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม (สำหรับผู้ที่ไม่ใช้สารเคมีให้รดวัสดุปลูก และเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา)
4. ระหว่างอนุบาลกล้าหากพบโรคให้รีบนำต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงอนุบาล
************************************************************************************************
2. โรคราน้ำค้าง (Owny Mildew) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Peronospora parasitica
เป็นโรคที่ทำให้เกิดเป็นจุดละเอียดสีดำ อยู่รวมเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบตรงจุดเหล่านี้ โดยจะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายไปทั่วใบ เมื่อเชื้อรากระจายเต็มใบจะทำให้ใบมีสีเหลืองและหลุดร่วงหรือแห้งไป ในช่วงที่อากาศร้อน (ความชื้นในอากาศต่ำ) จะไม่ค่อยพบการระบาด
โรคราน้ำค้างจะพบได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงต้นที่โตเต็มที่ โดยโรคนี้จะไม่ทำให้พืชตาย แต่จะทำน้ำหนักในการปลูกลดลง เนื่องจากจะเกิดใบเสียจำนวนมากต้องตัดใบทิ้งไป
วิธีป้องกันและควบคุม
1. ตัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก
2. ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ, เบนเลท ฯลฯ
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช้สารเคมีให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา)
************************************************************************************************
ต้นกล้าถ้าเป็นโรคนี้จะทำให้เกิดเป็นจุดสีน้ำตาลบริเวณใบ, โคนต้น ส่วนต้นที่โตแล้วจะมีแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆแผลเป็นสีเหลือง บนแผลจะมองเห็นผงสีดำติดอยู่
การแพร่ระบาด เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวมากับลม, แมลง, สัตว์ หรือน้ำ ช่วงอุณหภูมิ 25 - 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นในอากาศสูงโดยเฉพาะฤดูฝนจะทำให้เกิดโรคนี้แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว พบในพืชทุกชนิด เช่น มะนาว, ผักชี, มะเขือเทศ, ข้าว ฯลฯ
วิธีป้องกันและควบคุม
1. นำต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก
2. ระมัดระวังเกี่ยวกับการพ่นสเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิ อย่าให้มีหยดน้ำเกาะที่ใบมากเกินไป หรือควรงดพ่นน้ำในช่วงที่ีมีความชื้นในอากาศสูง
3. ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันและกำจัดเชื้อรา ยกเว้น เบนโนมิล ซึ่งจะไม่ได้ผล
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช้สารเคมีให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา)
************************************************************************************************
4. โรคเหี่ยว (Wilt) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
พืชที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเหี่ยวเฉา โดยใบบริเวณโคนต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหี่ยวเฉาและหลุดร่วงไป ต่อมาจะเริ่มเหี่ยวเฉาทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นพืชจะพบว่าท่อลำเลียงน้ำและอาหารของต้นไม้เป็นสีน้ำตาล โรคนี้พบมากในพืชตระกูลพริก มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด และดินมีความชื้นสูง
วิธีป้องกันและควบคุม
1. ถอนต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก
2. ใช้สารกำจัดเชื้อรา ผสมน้ำรดที่โคนต้น (สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้สารเคมีให้ใช้น้ำผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา รดลงบนบริเวณโคนต้นทุกๆ 5 - 7 วัน)
3. อย่ารดน้ำต้นไม้ในขณะที่มีอากาศร้อน หรือแสงแดดจัดเพราะน้ำที่ร้อนจะทำให้รากพืชอ่อนแอและเชื้อโรคเข้าทำลายระบบรากได้ง่ายขึ้น
************************************************************************************************
5. โรคราสนิมขาว (White Rust) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada
โรคนี้มักเกิดบริเวณใบพืช โดยจะพบจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ส่วนด้านใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็กๆขนาดประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร โรคนี้จะพบในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง พบมากกับผักบุ้ง
วิธีป้องกันและควบคุม
1. ฉีดพ่นใต้ใบด้วย เมตาแล็กซิล สลับกับ แมนโคเซ็บ หากมีฝนตกมากให้ใช้สารจับใบร่วมด้วย
(สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วใบทุกๆ 5 - 7)
2. คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วย เมตาแล็กซิล
(สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่ววัสดุเพาะเมล็ด)
3. สำหรับผู้ที่ปลูกบนดินให้ควบคุมการให้น้ำในแปลงปลูกอย่าให้น้ำมากจนดินแฉะเกินไป
************************************************************************************************
6. โรคผลเน่า (Fruit rot) มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Phytophthora palmivora (Butler)
พืชที่เป็นโรคนี้จะพบจุดสีน้ำตาลปนเทาบนผิวของไม้ผล ในช่วงที่อากาศมีความเชื้อสูงจะพบเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อราบริเวณแผลที่เน่านั้นด้วย เชื้อราชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไม่ยังไม้ผลชนิดอื่นๆ ได้ด้วยวิธีการกระจายสปอร์ไปตามลม, น้ำ, ดิน พบระบาดมากที่สุดในช่วงเริ่มต้นฤดูฝน
วิธีป้องกันและควบคุม
1. ตัดผลที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูก
2. ฉีดพ่น และรดบริเวณโคนต้นด้วยสารกำจัดเชื้อรา
(สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม)
************************************************************************************************
สำหรับผู้ปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับฤดูฝนคือ
1. ตรวจสอบสภาพแปลงปลูกให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงเนืองจากถ้าเกิดลมพายุอาจทำให้ผักที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหายได้ และตรวจดูปลั๊กไฟสำหรับปั๊มน้ำว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากระแสไฟฟ้า
2. คลุมหลังคาแปลงปลูกด้วยพลาสติกคลุมโรงเรือนและยืดด้วยคลิปล๊อคโรงเรือนให้แน่นหนาเพื่อป้องกันฝนที่จะทำให้ผักที่ปลูกไว้ช้ำ หรือใบผักฉีกขาดได้
3. ปิดฝาถังเก็บสารละลายธาตุอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันสปอร์ของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคปลิวมาตกลงในถังเก็บธาตุอาหารได้ และยังเป็นการป้องกันน้ำฝนที่จะทำให้ค่า EC ผิดเพี้ยนไป
4. เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้รีบเก็บออกไปทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไปยังต้นอื่นๆ
5. สำหรับผู้ที่คลุมแปลงปลูกด้วยมุ้ง ระมัดระวังความชื้นภายในแปลงปลูกถ้าแปลงปลูกระบายอากาศได้ไม่ดีมักจะทำให้เกิดโรคเชื้อราที่ใบผักได้
6. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการเพาะเมล็ด จะช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดถูกทำลายโดยเชื้อราที่ทำให้เกิดโรค อีกทั้งยังช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงและเปอร์เซ็นต์การงอกสูงขึ้นอีกด้วย
7. ใส่่เชื้อราไตรโครเดอร์มาในถังเก็บธาตุอาหาร ทุกๆ 7 - 10 วัน และปรับค่า pH ให้อยู่ที่ระดับ 6 - 6.5 เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับระบบราก
8. ฉีดพ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มา ทุกๆ 7 - 10 วัน เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับใบผัก (แนะนำให้ใช้สารจับใบร่วมด้วยเพราะจะทำให้เชื้อราไตรโครเดอร์มามีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น) กล่าวคือเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะไม่ถูกชะล้างจากน้ำฝนได้โดยง่าย ทำให้ประหยัดเชื้อราไตรโครเดอร์มา และเวลาโดยไม่ต้องฉีดพ่นบ่อยครั้งขึ้นเวลาที่มีฝนตกชุก
*******************************************************