วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

แครอท กลม (Round Carrot)



สลัด เรดพาช่า (Red Pasha)



จากการทดลองปลูก สลัดเรดพาช่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ ปรากฎว่าเรดพาช่าสามารถต้านทานต่ออากาศร้อนได้ดีมาก เมื่อเทียบกับสลัดสายพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มโอ้คลีฟเดียวกัน  ใบที่เป็นริ้วละเอียดและปลายใบที่มีสีแดงเข้มสวยมากเวลาโดนแสงแดด ทางเซนฯ จึงแนะนำสลัดตัวนี้สำหรับปลูกเป็นสลัดในช่วงฤดูร้อนนี้





ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัด เรดพาช่า  (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm


2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm


3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

เมล่อน อกัสติโน่ (Agustino RZ F1 Melon)



ทางเซนฯ ทำการทดสอบการปลูกเมล่อน อกัสติโน่ อาร์เซด ในระบบ DRFT แบบหมุนเวียนสารละลายกับมาใช้ใหม่ อายุปลูก 45 วัน (หลังผสม) ชั่งน้ำหนักผลได้ 1,600 กรัม ตัดผลเก็บไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ทดสอบความหวานได้ที่ 15 %  มีกลิ่นหอมมาก เนื้อสีส้มเข้ม รสหวานละมุน อายุเก็บเกี่ยวเมล่อนสายพันธุ์นี้ สามารถสังเกตุได้ 3 วิธีคือ
1. นับอายุผลหลังผสมเกสรประมาณ 45 - 50 วัน
2. ดูทีขั้วผลว่ามีรอยแตกประมาณ 50% ขึ้นไป
3. ดูที่เส้นสีเขียวที่ลากจากขั้วผล ถึงก้นผลถ้ามีจางลงแสดงว่าเริ่มสุก ถ้ายิ่งจางแสดงว่ายิ่งสุกมาก











วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

แครอทสีม่วง (Purple Carrot)




เบบี้แครอท (Baby Carrot)



          เบบี้แครอท (Baby Carrot)   ลักษณะทั่วไปของ เบบี้แครอท มีรูปทรงยาวรี โคนใหญ่ ปลายเรียวแหลม หัวมีสีส้ม เนื้อกรอบ รสชาดหวาน ใช้ส่วนรากที่เติบโตเป็นหัวในการบริโภค ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กได้ ให้ผลตอบแทนสูง ใช้เวลาในการปลูกสั้น

          เบบี้แครอท เจริญได้ดีในดินละเอียด และร่วนซุย หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง ของดิน 6.5 - 7.5 การปลูกในดินเหนียว หรือโครงสร้างดินแข็งจะทำให้หัวแตก มีรูปทรงผิดปกติ หากแปลงปลูกมีความชื้นสูง หัวจะมีแผลสีดำเน่า

          เบบี้แครอท เป็นพืชที่มีสาร Beta carotene มาก โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนวิตามินเอได้สูง(11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามิน บี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิต่อต้านโรคหวัด ป้องกันโรคมะเร็งป้องกันอาการผิดปกติในกระดูก โรคผิวหนังและรักษาสายตา

          เบบี้แครอท นิยมนำมารับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป แกงจืด ช่วยเพิ่มสีสรรในจานอาหาร


การปลูก และดูแลรักษา เบบี้แครอท (Baby Carrot)

การเตรียมดิน เบบี้แครอทสามารถปลูกลงกระถางปลูกได้ โดยเลือกกระถางสูงประมาณ 1 ฟุตขึ้นไปโดยดินที่ใช้ปลูกให้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ และแกลบดำ เพื่อให้ดินร่วนซุย การปลูกจะเพาะในถาดอนุบาลก่อน หรือหว่านลงวัสดุปลูกก็ได้ แล้วค่อยถอดต้นเกล้าที่ขึ้นเบียดกันเมื่อเกล้าได้อายุประมาณ 15 - 20 วัน  โดยระยะปลูกต่อต้นประมาณ 3 - 5 ซม. โดยแปลงปลูกประมาณ 1 ตารางเมตรสามารถปลูกได้ประมาณ 300 ต้น  

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวันในระยะต้นอ่อน แล้วลดเหลือ 2 - 3 วัน/ครั้ง โดยสังเกตุที่วัสดุปลูกอย่าให้แฉะมากจะทำให้หัวแครอทเน่าได้

การถอนแยกปลูกและให้ปุ๋ย 
 
หลังจากเมล็ดงอก มีใบจริง 2 - 5 ใบ หรือประมาณ 15 - 20 วันหลังจากปลูก ให้ถอนแยกต้น ให้มีระยะห่างระหว่างต้น 3 - 5 เซนติเมตร หลักจากนั้น ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. หรือปุ๋ยอินทรีย์ 100 กรัม/ตร.ม. พร้อมกำจัดวัชพืช หลังจากการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15 - 20 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 50 กรัม/ตร.ม. โรยในร่องลึก 2-3 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว 
 
ทยอยเก็บเมื่ออายุได้ 60 - 70 วัน โดยการขุดต้นที่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ ตัดแต่งให้เหลือก้านใบยาว 3 เซนติเมตร ล้างหัวให้สะอาด และผึ่งให้แห้งก่อนบรรจุส่ง

* ข้อควรระวังในการปลูก
การหยอดเมล็ดอย่าให้เมล็ดติดกัน ระยะห่างประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร
- ควรให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้แฉะเกินไป
- ควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษในการเตรียมแปลงปลูก และตอนถอนแยก
- หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยยูเรียในช่วงฤดูฝน เนื่องจากจะทำให้แครอทสร้างใบมากเกินไปทำให้การเจริญเติบโตทางหัวลดลง
- กลบดินที่โคนต้นให้ดี เนื่องจากถ้าหัวแครอทถูกแสงแดดมากจะทำให้หัวมีสีเขียวไม่สวยงาม


โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตต่างๆ ของ เบบี้แครอท (Baby Carrot)

ระยะหยอดเมล็ด-ถอนแยก 15-20 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม
ระยะตั้งตัว 21-28 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, เสี้ยนดิน
ระยะลงหัว 28-60 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, โรคหัวเน่า, เสี้ยนดิน
ระยะโตเต็มที่ 60-90 วัน โรคใบจุด, โรคราแป้ง, โรครากปม, โรคหัวเน่า, เสี้ยนดิน


http://www.youtube.com/watch?v=d6PnnaAnkgQ     การปลูกแครอท
http://www.youtube.com/watch?v=m_Oldp6HcVU    การปลูกเบบี้แครอทในกล่องพลาสติก
http://www.youtube.com/watch?v=sWOaJZGYulI      การปลูกเบบี้แครอทและการย้ายปลูก
http://www.youtube.com/watch?v=zW08MYhsX80    การปลูกแครอท
http://www.youtube.com/watch?v=17UyCILnwcM     การปลูกแครอทด้วยระบบอะควอโพนิกส์

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

คะน้าใบหยิกสีเขียวเอฟวัน (Green Kale / Kale Rogue F1)



ทางเซนฯ ได้ทำการทดลองปลูกเคล ในวัสดุทดแทน (ขุยมะพร้าว 3 ส่วน / แกลบ 1 ส่วน) ให้ปุ๋ย A,B สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เคลสีเขียว สายพันธุ์ Rogue F1 เจริญเติบโตได้ดีมาก มีความต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดีเยี่ยม