วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

มะเขือเทศหวาน ซันกรีน (Sun Green Tomato)



มะเขือเทศ ซันเชอรี่  (Suncherry Extra sweet tomato) เป็นมะเขือเทศเชอร์รี่ลูกกลม สีแดงเข้มผิวเป็นมันเงา ผลมีขนาดกลางโดยน้ำหนักเฉลี่ยต่อผลประมาณ 15 กรัม   จำนวนผลต่อพวงประมาณ 20 ลูก  และมีเปอร์เซนต์ของน้ำตาลสูงมาก เฉลี่ยประมาณ 8 - 10 Brix   ซึ่งมะเขือเทศเชอร์รี่ สายพันธุ์อื่น ที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม  อาทิเช่น Sweet Million, Super Sweet 100, Sugar Snack, Sweetie, Napa สามารถทำความหวานสูงสุดได้เพียง  6 - 8 ฺBrix เท่านั้น

มะเขือเทศในกลุ่ม Sun จากบริษัท Tokita Seed.


          มะเขือเทศกลุ่ม Sun เป็นมะเขือเทศเชอรี่สายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับค้นคว้าและพัฒนาสายพันธุ์จากบริษัท TOKITA SEED CO.,LTD.  จากประเทศญี่ปุ่น    มะเขือเทศหวานกลุ่ม Sun  เป็นมะเขือเทศเชอรี่สายพันธุ์ที่มีความหวานและมีกลิ่นหอมที่สุดในโลกตอนนี้     นอกจากเป็นมะเขือเทศที่มีเปอร์เซนต์น้ำตาลสูงกว่ามะเขือเทศสายพันธุ์อื่นๆ แล้วยังมีปริมาณของกรดผลไม้ (ค่า pH) ค่อนข้างต่ำ และมีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เมื่อเทียบจากน้ำหนัก

          มะเขือเทศซันกรีน ได้รับเลือกให้ไปแสดงเปิดตัวที่งาน FRUIT LOGISTICA 2012 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี  ซึ่งเป็นงานแสดง นวัตกรรมพืชผลทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยทางบริษัท Tokita จากญี่ปุ่นได้เลือกสายมะเขือเทศใน กลุ่มซัน เป็นไฮไลท์ไปแสดงในงานนี้ โดยที่มะเขือเทศหวานสายพันธุ์  ซันกรีน ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก รวมถึงมะเขือเทศ โทเมโทเบอรี่ ที่ยังคงได้รับความสนใจมากในงานนี้เช่นกัน



บูธของบริษัท Tokita ในงานแสดงนวกรรมพืชผลทางการเกษตร 
ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ปี 2012









มะเขือเทศหวาน ซันกรีน ที่ทาง Tokita นำไปออกแสดงในงานนี้ 
นอกจากนี้ยังมีมะเขือเทศในกลุ่มซัน สีต่างๆ รวมถึง โทเมโทเบอรี่ บริษัทฯ ก็นำมาแสดงในงานนี้เช่นกัน



          
          ทางเซนฯ ได้ทำการทดลองปลูกมะเขือเทศเชอรี่หวานสายพันธุ์จาก ญี่ปุ่น  "ซัน กรีน" แบบรากแช่ในสารละลาย ระบบ DRFT  ในแปลงปลูกนี้ มีมะเขือเทศทั้งหมด 4 สายพันธุ์  คือ ซันเชอรี่, ซันโกล์ด, ซันกรีน, และ มะเขือเทศ บิ๊กบีฟ  (สายพันธุ์จากญี่ปุ่น)

          ผลการทดสอบสายพันธุ์ในกลุ่มซันกรีน เจริญเติบโตได้ดี  มีความต้านทานต่อไวรัสระดับปานกลาง ไม่ปรากฎภาวะผลเน่า หรือ ผลแตกจากการขาดแคลเซียมให้เห็น  เมื่อสุกมะเขือเทศ ซันกรีน จะมีสีเขียวอ่อนลง ปนสีเหลืองเล็กน้อย  ผลมีรูปร่างกลม ออกรีเล็กน้อย  ก้านผลแข็งแรงมาก 1 ช่อ มีผลประมาณ 16 - 25 ลูก ทางเซนฯ ตัดออกไปเหลือช่อละ 8 - 14 ลูก/ช่อ

          ทดลองชิมผลสุก ซัน กรีน เนื้อด้านนอกและด้านในจะกรอบ มีรสหวาน อมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ทำการทดสอบความหวานมาทดสอบ ผลสุกของมะเขือเทศหวาน ซันกรีน   มีความหวานอยู่ที่ 8.0 องศาบริกซ์

































วิธีการเพาะเมล็ด
1. การเพาะเมล็ดมะเขือเทศ
         นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ


2. การเพาะกล้า
 บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ) 

 นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ

 รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร

 รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ


3. การย้ายกล้า
ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ควรปฏิบัติดังนี้
1. หากมีการเคลื่อนย้ายต้นกล้าจากโรงเรือนไปแปลงเพาะปลูกที่มีระยะห่างกันมาก ควรพักต้นกล้าก่อน  ปลูกอย่างน้อย 1 วัน

2. ก่อนปลูก 2 วัน ควรรดน้ำแปลงให้ชุ่ม และพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช

3.  ควรย้ายกล้าในช่วงเย็น อากาศไม่ร้อนแดดไม่จัด

4.  หลุมปลูกควรมีความลึกและกว้าง เท่ากับขนาดหลุมของถาดเพาะกล้า

5. ควรระวังอย่าให้วัสดุเพาะแตกหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต (ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราร่วมด้วย)

6.  เวลาย้ายต้นกล้าจากถาดเพาะลงแปลง ให้จับบริเวณปลายยอดไม่ควรดึงหรือบีบบริเวณโคนต้นกลบดินครอบคลุมโดนต้นกล้า


การตัดแต่งมะเขือเทศ
สำหรับมะเขือเทศซันกรีน จะมีจำนวนผลต่อกิ่งประมาณ 20 - 24 ลูก แต่เพื่อความสมบูรณ์ของผลเราจึง ควรมีการจำกัดจำนวนผลใน 1 ช่อ โดยการตัดผลส่วนปลายออกบางส่วน    คงเหลือไว้ 10-12 ผลต่อช่อ เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่ มีสม่ำเสมอ และได้ความหวานสูงสุด



ขั้นตอนการตัดแต่งแขนง
มะเขือเทศควรมีการตัดแต่งและเด็ดแขนงด้านข้าง และใบแก่ด้านล่างที่ต่ำกว่าช่อดอกออก (ตามภาพด้านล่าง) เพื่อทำให้ต้นพืชมีการระบายอากาศได้ดี ซึ่งช่วยลดการเข้าทำลายของโรค  และควรเด็ดแขนงด้านข้างก่อนยาวมากกว่า 5 ซม. ควรตัดแต่งในช่วงตอนเช้า เพื่อให้แสงแดดช่วยในการปิดบาดแผล และต้นพืชสามารถรักษาแผลได้เร็ว ป้องกันการเข้าทำลายของโรคผ่านทางบาดแผล  หลังจากต้นมะเขือสูงได้ประมาณ 1.8 ม. ให้ตัดยอดต้นมะเขือออกด้วย เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากด้านบนคุณภาพจะเริ่มลดลง
 

หมายเหตุ  กิ่งแขนงหรือลำต้นส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นมะเขือเทศสามารถนำมาปลูกต่อได้โดยการนำกิ่งนั้นไปแช่น้ำประมาณ 7 - 10 วันจะเริ่มมีรากงอกออกมาจากกิ่งนั้น หลังจากนั้นสามารถนำกิ่งนั้นไปปลูกต่อได้โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดใหม่



ขั้นตอนการผสมดอก
1. ในโรงเรือน การผสมเกสรของมะเขือเทศจะอาศัยผึ้งในการผสมเกสร โดยผึ้งจะถูกนำมาใส่ไว้ตั้งแต่เริ่มเกิดดอกแรก

2. ถ้าไม่ใช้ผึ้ง การผสมเกสรจะสามารถทำได้โดยการเขย่าดอก โดยทำการเขย่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

หมายเหตุ:
เมื่ออุณภูมิกลางคืนต่ำกว่า 10 C และต่ำเป็นช่วงเวลายาวระหว่างกลางวัน จะทำให้มะเขือเทศลดจำนวนและความมีชีวิตของเกสรลง ถ้าไม่มีเกสรก็ไม่มีประโยชน์ในการใช้ผึ้งหรือการเขย่า ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนจึงถูกนำมาใช้  ฮอร์โมนที่ใช้ช่วยให้ติดผลได้ แต่การใช้ฮอร์โมนช่วยในการติดผล จะส่งผลทำให้รูปร่างผลผิดปกติด้วย


อายุการเก็บเกี่ยว

ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
1. Cherry type   40-50 วันหลังย้ายกล้า
2. Seda type     50-60 วันหลังย้ายกล้า
3. Processing , Roma , Table type   60-75 วันหลังย้ายกล้า



โรคและแมลงที่พบในมะเขือเทศ
1. โรคใบจุดวงชื่ออื่น    :    Early blight
สาเหตุของโรค     เกิดจากเชื้อรา Alternaria solani

ลักษณะอาการ
     สังเกตได้จากใบแก่เริ่มจากเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาล แผลค่อนข้างกลมแล้วขยายใหญ่ ออกไป การขยายตัวของจุดจะปรากฏรอยการเจริญของแผลเป็นวงสีน้ำตาลซ้อน ๆ กันออกไป ถ้าเกิดบนกิ่ง ลักษณะแผลรียาวไปตามลำต้น สีน้ำตาลปนดำเป็นวงซ้อน ๆ กัน ผลแก่ที่เป็นโรคแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะวงแหวนเหมือนบนใบ

การแพร่ระบาด
     เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ โรคนี้จะเกิดมากในสภาพที่ความชื้นและ อุณหภูมิสูง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทำให้อาการจุดวงขยายตัวอย่างรวดเร็วจนต่อเนื่องกันเกิดเป็นอาการใบแห้ง

การป้องกันกำจัด
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน
2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล


2. โรคใบจุด
ชื่ออื่น    :    Leaf spot
สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Corynespora  cassiicola

ลักษณะอาการ
      อาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคใบจุดวงมาก แต่แผลบนใบมักมีขนาดเล็ก การขยาย ตัวของโรคใบจุดเกิดเป็นวงไม่ค่อยชัดเจน และแผลมักมีสีเหลืองล้อมรอบ อาการบนผลเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป แผลสีครีม หรือน้ำตาลอ่อน

การแพร่ระบาด
     โรคนี้พบระบาดมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะถ้ามีความชื้นสูง หรือมีฝนตก โรคจะ ระบาดอย่างรวดเร็ว ใบที่เป็นโรคมาก ๆ จะร่วงหลุดไป

การป้องกันกำจัด
1. พยายามรักษาความชื้นในแปลงปลูกอย่าให้สูงมากเกินไป
2. เมื่อพบโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เบนโนมิล   คาร์เบนดาซิม       


3. โรคแห้งดำ
ชื่ออื่น    :    Leaf blight
สาเหตุเกิดจาก       เกิดจากเชื้อรา Stemphylium sp.

ลักษณะอาการ
    เริ่มต้นจากจุดเหลี่ยมเล็กๆสีดำบนใบมะเขือเทศเมื่ออาการรุนแรงแผลขยายขนาดใหญ่และมีจำนวนจุดมากขึ้นเนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแห้งกรอบ และดำในที่สุดแต่ส่วนของลำต้นยังเขียวอยู่  ไม่พบอาการบนลำต้นและผล

การแพร่ระบาด
     เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ส่วนการระบาดในแปลงจะเกิดได้ รุนแรงและรวดเร็วเมื่อมีความชื้นและอุณหภูมิสูง

การป้องกันกำจัด
1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน
2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล


4. โรคใบไหม้
ชื่ออื่น    :    Late blight
สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans

ลักษณะอาการ
     จะพบปรากฏอยู่บนใบส่วนล่าง ๆ ของต้นก่อน โดยเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือน ใบถูกน้ำร้อนลวก รอยช้ำนี้จะขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ใบ โดยเฉพาะขอบ ๆ แผล จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ รอยช้ำนั้น เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นแผลสีดำ อาการบนผลมีรอยช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก

การแพร่ระบาด
     โรคนี้พบระบาดมากทางภาคเหนือของประเทศไทยในฤดูหนาว เพราะสภาพแวดล้อม เหมาะต่อการเกิดโรค โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-28 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % ในเขตที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำโรคจะไม่ระบาดนอกจากมีฝนโปรยลงมาโรคจะระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วภายหลังจากที่มีฝน ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะตายภายใน 1 สัปดาห์

การป้องกันกำจัด
1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง
2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คลอโรทาโลนิล เมตาแลกซิล + แมนโคเซบ พ่นให้ทั่วทั้งต้น


5. โรครากำมะหยี่
ชื่ออื่น    :    Leaf mold
สาเหตของโรค    เกิดจากเชื้อรา Cladosporium  fulvum

ลักษณะอาการ
     ผิวด้านบนของใบแก่เป็นจุดสีขาว ซึ่งขยายออกอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใต้ใบบริเวณที่เห็นเป็นสีเหลืองมีขุยสีกำมะหยี่ เมื่อโรคระบาดรุนแรงมากขึ้นใบจะแห้ง

การแพร่ระบาด
      โรคนี้จะพบมากในมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูฝน หรือมีฝนตกระหว่างฤดูปลูกปกติ เชื้อรา จะสร้างสปอร์จำนวนมากทางด้านใต้ใบ สปอร์นี้สามารถทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม และมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือน เชื้อราเข้าทำลายใบแก่ที่อยู่ทางตอนล่าง ๆ ของต้น และอยู่ทางด้านใต้ใบ

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งกิ่งมะเขือเทศเพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศในแปลงดีขึ้น
2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม


6. โรคราเขม่า
ชื่ออื่น    :    Grey leaf mold
สาเหตุของโรค    เกิดจาก เชื้อรา Cercospora fuligena.

ลักษณะอาการ
     คล้ายกับอาการของโรครากำมะหยี่มาก โดยอาการมักเริ่มที่ใบแก่ตอนล่างของ ลำต้นก่อน แล้วจึงลามขึ้นไปยังใบที่อยู่ตอนบน ใบที่เป็นโรค แสดงอาการจุดสีเหลืองแล้วขยายใหญ่ออก ด้านใต้ใบตรงจุดสีเหลืองมีเชื้อราขึ้นอยู่ เส้นใยของเชื้อราที่เกิดขึ้นเป็นขุยสีเทาเข้มจนถึงดำ ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากโรครากำมะหยี่ อาการบนกิ่งเป็นขุยสีเทาดำ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตาย

การแพร่ระบาด
     เป็นโรคที่พบทั่วไป แต่มักจะพบระบาดและทำความเสียหายในภาคตะวันออก เฉียงเหนือมากกว่าแหล่งอื่น

การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งใบล่าง ๆ ของมะเขือเทศออกบ้าง เพื่อให้มีการระบายอากาศดีขึ้น
2. เมื่อเริ่มพบโรคในแปลง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม


7. โรคราแป้ง
ชื่ออื่น    :    Powdery mildew
สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp.

ลักษณะอาการ
     อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้

การแพร่ระบาด
     โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ

การป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง
2. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง
3. เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น กำมะถันผง ไดโนแคป


8.โรคใบด่างเรียวเล็ก
ชื่ออื่น    :    Cucumber Mosaic Virus
สาเหตุของโรค    เกิดจากเชื้อไวรัส

ลักษณะอาการ
     ต้นมะเขือเทศแคระแกรน ใบมะเขือเทศม้วนงอ ถ้าอาการรุนแรงมากขึ้น ใบมะเขือเทศจะ เรียวเล็กกว่าปกติ

การแพร่ระบาด
     โรคนี้สามารถถ่ายทอดโดยเพลี้ยอ่อน และวิธีการสัมผัสต้นมะเขือเทศที่แสดงอาการใบเรียวเล็กนี้ตั้งแต่ระยะเล็ก ๆ จะไม่ติดผล หรือถ้าติดผลจะเล็ก

การป้องกันกำจัด
- พ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้



9. โรคใบหงิกเหลือง
ชื่ออื่น     :    Tomato Yellow Leaf Curl
สาเหตุของโรค     เกิดจากเชื้อไวรัส

ลักษณะอาการ
     ใบยอดหงิกเหลือง ม้วนงอ ใบมีขนาดเล็กลง ยอดเป็นพุ่ม และต้นแคระแกรน

การแพร่ระบาด
     โรคนี้สามารถถ่ายทอดได้โดยวิธีทาบกิ่ง และมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ วิธีทาบกิ่งสามารถ ถ่ายทอดโรคได้ 22% แมลงหวี่ขาวสามารถถ่ายทอดโรคได้ 88% จะต้องป้องกันมะเขือเทศมิให้เป็นโรคก่อนอายุ 60 วัน เพราะการเป็นโรคนี้ในระยะต้นโตและเริ่มติดผลแล้ว ไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลิตมากนัก

การป้องกันกำจัด
1. รักษาความสะอาดแปลงปลูก ควรเก็บเศษซากพืชที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ปลูก ออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะฟางข้าว
2. ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอกและปูนขาว
3. ถ้าปรากฏต้นมะเขือเทศที่เป็นโรคนี้ ควรรีบถอนทำลายด้วยการเผา
4. แปลงที่มีโรคนี้ระบาดควรงดปลูกมะเขือเทศไม่น้อยกว่า 4 ปี
5. สารป้องกันกำจัดโรคพืช พีซีเอ็นบี เอทริไดอาโซล พีซีเอ็นบี + เอทริไดอาโซล สามารถลดอัตราการเป็นโรคลงได้ แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง