วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

สลัด เบบี้กรีนคอส (Baby Green Cos Lettuce)



          เบบี้กรีนคอส สายพันธุ์ "Dark Green Romaine"  เป็นผักสลัดในกลุ่ม Baby Cos Romaine ที่มีลักษณะกาบใบสั้น ขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ หากปลูกในช่วงฤดูหนาว (อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) กาบใบจะห่อซ้อนกันแน่น ใบด้านนอกจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนกาบใบด้านในจะเป็นสีเขียวอ่อนปนเหลืองที่ก้านใบ  ลักษณะใบด้านนอกจะมีความอ่อนนุ่มเหมือนใบของสลัดบัตเตอร์เฮด ส่วนใบด้านในจะหวานกรอบและฉ่ำน้ำ

          เบบี้กรีนคอส เป็นผักสลัดที่ทนต่ออุณภูมิสูงได้ดี ซึ่งทางเซนฯ ได้ทำการทดลองปลูกสลัดเบบี้กรีนคอส ในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ย 35 - 38 องศาเซลเซียส) ปรากฎว่าเบบี้กรีนคอส ยังคงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 45 - 50 วัน  น้ำหนักเฉลี่ยที่สามารถทำได้อยู่ที่ 190 - 200 กรัม  และเมื่อทดลองรับประทานไม่พบความขมในใบผักเลย ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกมากสำหรับการปลูกผักในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงขนาดนั้น  




















ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดเบบี้กรีนคอส (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm


2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm


3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ


ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผักสลัด รีจิน่า คริฟไอซ์ (Regina Crisp Ice)



ตัวอย่างการกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัด รีจิน่าคริปไอซ์ (ในพื้นที่อากาศร้อน)

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 7 วัน เริ่มให้ปุ๋ยอ่อนๆ โดยให้ค่า EC ประมาณ 1.0 - 1.2 ms/cm


2. เมื่อครบกำหนด 10 - 14 วัน หรือต้นเกล้าเริ่มมีใบจริงประมาณ 2 - 3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้เลย โดยกำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm


3. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 15 - 25 วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.3 - 1.4 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


4. ช่วงผักมีอายุได้ประมาณ 26 - 30  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.2 - 1.3 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tip burn)


6. เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 31 - 35  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.1 - 1.2 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


7.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 36 - 40  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ที่ประมาณ 1.0 - 1.1 ms/cm 

และควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง


8.เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 41 - 50  วัน ให้กำหนดค่า EC สำหรับผักสลัดในช่วงนี้ อยู่ต่ำกว่า 0.5 ms/cm 
หรือจะใช้น้ำเปล่าเลี้ยงประมาณ 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวก็ได้ครับ

ข้อแนะนำในการปลูก

1. หลังเพาะเมล็ดได้ประมาณ 2 - 3 วัน แนะนำให้นำต้นเกล้าได้รับแสงแดดตอนเช้าหรือเย็นประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้ต้นเกล้าไม่ยืดและแข็งแรงมากขึ้น

2. ในพื้นที่อากาศร้อนเมื่อผักสลัดมีอายุปลูกได้ประมาณ 20 วัน มักมีอาการขอบใบไหม้ แนะนำให้ปรับค่า EC ให้ต่ำและให้ลดการคายน้ำทางใบของพืชลง ด้วยการพลางแสง หรือเสปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ และควรมีการฉีดพ่น ธาตุแคลเซียม-โบรอน เสริมทางใบเพื่อป้องกันอาการขอบใบไหม้

3. ศัตรูพืชที่สำคัญของ ผักสลัด คือ เพลี้ยไฟ และหนอนใยผัก แนะนำให้ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อป้องกัน และกำจัด ควรหลีกเลี่ยงสารเคมีจำกัดศัตรูพืช เนื่องจากสลัดเป็นพืชอายุสั้นและต้องบริโภคส่วนที่เป็นใบจึงอาจเป็นอัตรายต่อผู้บริโภคได้

4. การปลูกสลัดแนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมธาตุอาหารใหม่ในช่วงที่ผัก อายุได้ 28 วัน (หรืออายุผัก 4 สัปดาห์) โดยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย A,B ลงทุกๆ ช่วงอายุปลูก ข้อดีของการลดการปลูกสลัดโดยใช้ EC สูง ไปหาต่ำมีข้อดีคือ
4.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหาร
4.2 เพื่อป้องกันการเกิด Tip burn โดยเฉพาะผักที่เกิดอาการดังกล่าวได้ง่ายเช่น ผักในกลุ่มคอส, บัตเตอร์เฮด และผักกาดแก้ว
4.3 ช่วยให้ผักเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
4.4 ทำให้ผักสลัดที่ปลูกไม่มีรสขม หรือมีความขมลดลงในช่วงฤดูร้อน 

5.แนะนำให้เปลี่ยนน้ำผสมปุ๋ยใหม่เมื่อผักมีอายุได้ประมาณ 25 วัน

หมายเหตุ  ผักสลัดเป็นพืชทานใบที่มีอายุปลูกสั้น การใช้ปุ๋ยในระดับสูงเกิน 1.5 ms/cm หลังจากผักอายุได้ 30 วันไม่ได้เกิดประโยชน์ใดกับผักสลัดเลย กลับทำให้ผักมีอาการขาดธาตุแคลเซียม (Tipburn) มากขึ้นเพราะเพื่อความเข้มข้นของธาตุอาหารในระบบมีสูงเกินไป  ช่วงเวลาที่ผักสลัดสะสมอาหารมากที่สุดคือช่วงที่ผักมีอายุได้ประมาณ 10 - 30 วันแรก ซึ่งหลังอายุ 30 วันไปแล้วผักสลัดจะใช้ปุ๋ยน้อยลง ส่วนที่ผักสลัดต้องการมากที่สุดคือ น้ำ

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

การปลูกพืชระบบรากแขวน (Aeroponics Culture)

การปลูกพืชระบบรากแขวน (Aeroponics culture) หมายถึง การปลูกโดยให้รากพืชแขวนอยู่ในอากาศ แล้วจ่ายธาตุอาหารให้แก่พืชโดยวิธีพ่นสารละลายเป็นละอองฝอย (mist หรือ aerosol) ไปยังรากพืชอย่างต่อเนื่อง หรือพ่นเป็นระยะๆ  โดยใช้ระบบตั้งเวลาเป็นตัวควบคุม การปลูกพืชระบบนี้คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย Dr. Massantini แห่งมหาวิทยาลัย Pia ในประเทศอิตาลี ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมปลูกพืชในเชิงการค้าด้วยระบบนี้ ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่องานวิจัยหรือเพื่อเป็นงานอดิเรกเท่านั้น



(ภาพตัวอย่างการแผนผังการปลูกพืชแบบระบบรากแขวนในอากาศ)


การปลูกพืชพืชระบบรากแขวนมีองค์ประกอบพื้นฐานของระบบดังนี้

2.1 ถังเก็บสารละลายธาตุอาหาร โดยถังสารละลายอาจแบ่งเป็น 2 ระดับความเข้มข้น คือถังสารละลายความเข้มข้นเหมาะสมสำหรับการปลูก (culture solution) และสารละลายเข้มข้น (stock solution) เช่นเดียวกับการปลูกระบบอื่น ถังสารละลายควรมีสีเข้ม เพื่อป้องกันแสงแดดส่องถึงสารละลาย ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สาหร่ายเจริญเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

2.2 ปั๊มหรือเครื่องอัดอากาศ ปั๊มใช้สำหรับดูดสารละลายจากถัง และส่งสารละลายไปยังอุปกรณ์กระจายสารละลาย ปั๊มที่ใช้ควรสามารถควบคุมแรงดันได้ ค่อนข้างสม่ำเสมอจนถึงระดับความดันที่หัวพ่นต้องการ ปั๊มอาจต่อกับถังจำกัดความดัน (pressure tank) เพื่อควบคุมให้ความดันของสารละลายอยู่ในช่วงที่กำหนด การจ่ายสารละลายทำได้สม่ำเสมอมากขึ้น ป้องกันแรงดันสูงเกินไป เนื่องแรงดันที่สูงเกินไปจะทำให้ท่อ ข้อต่อ หรือหัวพ่นสารละลายชำรุดเสียหาย นอกจากใช้ปั๊มแล้ว ระบบนี้อาจออกแบบให้ใช้เครื่องอัดอากาศแทน โดยอัดอากาศลงไปยังถังสารละลายที่ปิดสนิท แรงดันอากาศจะเป็นตัวส่งสารละลายไปยังอุปกรณ์กระจายสารละลาย

2.3 อุปกรณ์กำหนดเวลาจ่ายสารละลาย (timer) ระบบนี้มักออกแบบให้การพ่นสารละลายเป็นระยะๆ ปั๊มที่ใช้อาจต้องต่อกับเครื่องตั้งเวลา (timer) เพื่อกำหนดเวลาจ่ายสารละลายและหยุดจ่าย การควบคุมเวลาอาจทำโดยควบคุมที่ท่อประธานที่ออกจากปั๊มหรือถังจำกัดความดันแล้วแต่กรณี โดยท่อประธานจะต้องติดตั้ง solinoil valve จากนั้นใช้ timer ควบคุมการจ่ายสารละลาย โดยควบคุม solinoil valve เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของพืช พืชอายุน้อยพ่นบ่อยครั้งครั้งละสั้นๆ เช่น พ่น 1 นาที หยุด 3 นาที เป็นต้น เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที พ่นครั้งละนานขึ้น แต่ไม่ต้องพ่นบ่อย เช่น พ่น 3 นาที หยุด 10 นาที เป็นต้น

2.4 กล่องปลูกหรือกระโจมปลูกพืช (growth chamber) สามารถออกแบบให้มีรูปร่างต่างๆ ได้หลายแบบตามความเหมาะสม กล่องปลูกหรือกระโจมควรทำด้วยวัสดุทึบแสง และปิดมิดชิดขณะปลูกหรือป้องกันการเจริญเติบโตของสาหร่ายภายใน ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับระบบได้ และช่วยลดอัตราการระเหยของสารละลาย

2.5 ท่อลำเลียงสารละลายและอุปกรณ์กระจายสารละลาย ท่อลำเลียงสารละลายมีลักษณะเหมือนท่อที่ใช้กับระบบชลประทานโดยทั่วไป ท่อลำเลียงสารละลายจากปั๊ม หรือถังบรรจุสารละลายไปยังกล่องปลูกหรือกระโจมจะต้องทนแรงดันที่ออกแบบไว้ได้ดี ส่วนท่อลำเลียงสารละลายส่วนเกินกลับมายังถังสารละลายควรมีขนาดใหญ่กว่า เพื่อป้องกันไม่ให้สารละลายขังอยู่ในกระโจมปลูก หรือไหลล้นออกมา การกระจายสารละลายแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ พ่นหรือทำให้สารละลายแตกเป็นเป็นฝอย (mist) และพ่นเป็นหมอก (aerosol) อุปกรณ์ที่ใช้ในการกระจายสารละลายได้แก่
  • การกระจายสารละลายโดยใช้หัวพ่นสารละลาย อุปกรณ์แบบนี้สามารถหาซื้อได้ง่ายในปัจจุบัน เนื่องจากมีการใช้แพร่หลายในการชลประทาน มีทั้งชนิดพ่นฝอยและพ่นหมอก ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการในการออกแบบ ข้อดีของอุปกรณ์ประเภทนี้คือมีราคาถูก แต่มีข้อเสียที่หัวพ่นอุดตันได้ง่าย ขนาดของหยดสารละลายที่ได้จากการพ่นขึ้นกับแรงดันสารละลาย และการออกแบบหัวพ่น แรงดันที่ใช้โดยทั่วไปอยู่ในช่วง 75 - 95 psi
  • การกระจายสารละลายโดยใช้จานหมุน การกระจายแบบนี้ทำโดยใช้หัวน้ำหยดหยดสารละลายลงบนแผ่นจานหมุน แรงหมุนของจานจะทำให้สารละลายแตกออกเป็นฝอยเล็ก การกระจายสารละลายแบบนี้มีข้อดีที่สามารถลดการอุดตันลงไปได้ระดับหนึ่ง แต่การติดตั้งอุปกรณ์มีความยุ่งยากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น
  • การกระจายสารละลายโดยใช้คลื่นอุลตราโซนิค การกระจายแบบนี้ทำโดยใช้คลื่นอุตราโซนิคส่งไปยังถาดสารละลาย เพื่อตีให้สารละลายแตกเป็นละอองเล็กๆ (หมอก) โดยสามารถทำให้ขนาดละอองสารละลายเล็กลงได้ถึง 1 ไมโครเมตร หมอกที่เกิดขึ้นจะใช้พัดลมเป่าไปตามท่อ ไปยังกล่องปลูก
2.6 เครื่องกรองสารละลาย กรณีที่ออกแบบให้มีการหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้ใหม่ เครื่องกรองสารละลายจึงมีความจำเป็นสำหรับระบบนี้ โดยเฉพาะกรณีที่สารละลายต้องพ่นผ่านหัวพ่นฝอยซึ่งมีรูขนาดเล็ก ดังนั้นสารละลายไม่ควรมีสารแขวนลอยเจือปนอยู่ เพราะจะทำให้หัวพ่นอุดตัน ขนาดของรูไส้กรองที่ใช้ควรประมาณ 100 ไมโครเมตร หากระบบมีขนาดใหญ่ควรใช้เครื่องกรองหลายขนาดประกอบกัน โดยกรองสิ่งเจือปนที่มีขนาดใหญ่ออกไปก่อน สิ่งเจือปนส่วนใหญ่ที่ติดมากับสารละลายมักจะเป็นมากพืชที่ขาด






ข้อดีของการปลูกด้วยระบบรากแขวนในอากาศ
                    พืชจะได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ทำให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตและแตกแขนงได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง รากพืชจะไม่ขาดออกซิเจน แต่จะขาดน้ำและอาหาร ทำให้พืชเหี่ยวภายใน 2-3 ชั่วโมง (ระยะเวลาขึนกับความชื้นภายในกล่องปลูก อุณหภูมิภายนอกกล่องปลูก และอายุของพืช)


ข้อจำกัดของการปลูกด้วยระบบรากแขวนในอากาศ
1. กรณีที่พ่นสารละลายเป็นฝอยด้วยหัวพ่น หัวพ่นมีโอกาสอุดตันได้ง่ายเนื่องจากรูที่สารละลายไหลผ่านมีขนาดเล็ก สร้างความยุ่งยากให้กับการดูแลหากมีการปลูกในปริมาณมาก

2. จะต้องสร้างกล่องปลูกหรือกระโจมให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของพืช เพื่อรองรับปริมาณราก ซึ่งแตกแขนงอย่างรวดเร็ว ต้นทุนในการก่อสร้างจึงสูงขึ้นหากต้องการปลูกพืชขนาดใหญ่

3. พืชไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้เอง เนื่องจากรากไม่มีเครื่องยึดเกาะ ดังนั้นหากต้องการปลูกพืชที่มีลำต้นขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องก่อสร้างเครื่องค้ำจุนลำต้น ระบบนี้จึงเหมาะสำหรับปลูกผักต่างๆ มากกว่าพืชที่มีลำต้นสูง

            ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ของระบบนี้ ทำให้การปลูกพืชระบบนี้ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่องานวิจัย ปลูกเป็นงานอิเรก หรือปลูกพืชเพื่อการขยายต้นพันธุ์ ส่วนการผลิตพืชในเชิงพาณิชย์ไม่นิยมใช้ระบบนี้

บทความต่อไปผมจะกล่าวถึงการปลูกพืชไร้ดินด้วยใช้วัสดุปลูกอื่นๆ ที่นำมาทดแทนการใช้ดินครับ